(Kimford J et al. Cognitive function at 3 years od age after fetal exposure to antiepileptic drugs. N Eng L Med 2009;360:1597-1605)
การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าลูกในครรภ์แม่ ที่กินยากันชักคณะตั้งครรภ์ (ด้วยขนาดยาต่ำ ที่ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางกายแต่กำเนิดต่อเด็ก) ซึ่งการวิจัยนั้นพบว่ายามีผลเสียต่อสติปัญญาและพฤติกรรมของลูกที่เกิดมา สำหรับข้อมูลในมนุษย์เกี่ยวกับผลเสียของยากันชักที่แม่กินขณะตั้งครรภ์มีต่อสติปัญญาเด็กในครรภ์อย่างไรยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่ายากันชักตัวใดมีผลเสียแตกต่างกันหรือไม่ จึงเป็นคำถามวิจัยของการศึกษา cohort นี้ ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ กลุ่มศึกษาเป็นแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคลมชัก 303 คน และได้รับการรักษาด้วยยากันชักขนาดเดียว (carbamazepine, lamotrigine, phenytoin, หรือ valproate) เมื่อเด็กที่เกิดมาอายุได้ 3 ปี นักวิจัยได้ทดสอบสติปัญญาของเด็ก โดยใช้เครื่องมือวัดพัฒนาการที่เรียกว่า mental development index of Bayley scale of mental development.
ผลการศึกษา จากการเปรียบเทียบ IQ เด็กที่แม่ได้ยากันชัก โดยควบคุมตัวแปรที่สำคัญได้แก่ IQ ของแม่เด็ก อายุแม่ ขนาดยากันชักที่ได้ อายุครรภ์ ฯลฯ พบว่าในเด็กที่ได้รับยา valproate ขณะที่ยังอยู่ในครรภ์แม่ มีคะแนนสติปัญญากว่าเด็กที่ได้ยาตัวอื่น โดยต่ำกว่ากลุ่มได้ยา lamotrigen 9 คะแนน ต่ำกว่ากลุ่มได้ยา phenyltoin 7 คะแนน, ต่ำกว่าได้ carbamazepine 6 คะแนน ความสัมพันธ์ระดับ IQ สัมพันธ์กับขนาดยา valproate ที่แปรผกผันกับขนาดยาที่ได้รับด้วย.
สรุป เด็กในครรภ์ที่ได้แม่ได้ยา valproate มีผลเสียต่อระดับสติปัญญาเดกเมื่ออายุ 3 ปี ในหญิงตั้งการศึกษานี้สนับสนุนข้อแนะนำว่าไม่ควรใช้ยาvalproate เป็นยาลำดับแรกในหญิงที่เป็นโรคลมชัก ที่มีโอกาสตั้งครรภ์.
วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ่าน 3,120 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้