Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ออกกำลังกายไม่อันตรายในผู้ป่วยหัวใจลัมเหลว
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ออกกำลังกายไม่อันตรายในผู้ป่วยหัวใจลัมเหลว

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มิถุนายน 2552 00:00

(Christopher M. O'Connor et al. Efficacy and Safety of Exercise Training in Patients With Chronic Heart  Failure, Efficacy and Safety of Exercise Training in  Patients With Chronic Heart Failure JAMA 2009;301:1439-50. และ Kathryn E. Flynn et al. Effects of Exercise Training on Health Status in Patients With Chronic Heart Failure, HF-ACTION Randomized  Controlled Trial JAMA 2009; 301:1450-59. )

ผู้ป่วยโรคหัวใจวาย มักมีภาวะสุขภาพถดถอยลงทั้งทางกาย ทางสังคม และคุณภาพชีวิต ส่วนหนึ่งอาจเพราะขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม กลัวว่าการออกกำลังอาจเป็นอันตราย แม้ว่ามีข้อแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจควรออกกำลังเพื่อสุขภาพ แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนว่าการออกกำลังกายปลอดภัยจริงหรือไม่.


ล่าสุดการศึกษาแบบ multicenter rando-mization controlled trial ในผู้ป่วยหัวใจวาย 2331 คน อายุเฉลี่ย 59 ปี ร้อยละ 37 มีอาการรุนแรง ระยะ 3 และ 4 (จัดตาม สมาคมหัวใจ นิวยอร์ก) จากการติดตามผู้ป่วยสองกลุ่ม กลุ่มแรกมีการฝึกการออกกำลังกายแบบแอโรบิก โดยรวม 36 ครั้ง และให้ไปทำต่อที่บ้าน เทียบกับกลุ่มควบคุมรักษาตามปกติ จากนั้นมีการติดตามผู้ป่วยนาน 30 เดือน.


ผลการศึกษา การติดตามผู้ป่วยนาน 2.5 ปี ประเมินสุขภาพผู้ป่วยทุก 3 เดือนในปีแรก โดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้มีหัวใจผิดปกติ (Kansas City Cardiomyopathy Questionaire, KCCQ) ซึ่งครอบคลุมด้านสุขภาพทางกาย อาการโรค ทางสังคม และคุณภาพชีวิต คะแนนรวม 0-100 โดยคะแนนยิ่งมากแสดงว่าสุขภาพดี). เมื่อครบ 3 เดือนแรก พบว่ากลุ่มออกกำลังกายมีคะแนนดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ และคะแนนที่ดีนี้คงที่ตลอดระยะเวลาการติดตามผู้ป่วย โดยกลุ่มออกกำลังกายมีคะแนนดีกว่ากลุ่มควบคุมทุกด้าน คือ ทางสุขภาพกาย อาการป่วย การเข้าสังคม และคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ การวัดผลด้านอัตราตายพบว่ากลุ่มออกกำลังกายมีอัตราตายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมแม้ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (65% vs.68%) และมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจหรือเข้านอนโรงพยาบาลจากหัวใจวาย ก็ต่ำกว่า (HR 0.87, 95%CI 0.75, 1.00)กลุ่มควบคุมเช่นกัน


สรุป การให้ผู้ป่วยโรคหัวใจวายฝึกออกกำลังกายมีผลดีต่อสุขภาพมากกว่า และมีอัตราเสี่ยงตายและเข้านอนโรงพยาบาลต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย.

 

วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน,  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
  • ออกกำลังกาย
  • คุยสุขภาพ
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 2,633 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

294-012
วารสารคลินิก 294
มิถุนายน 2552
เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa