Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • แอพลิเคชั่น DoctorMe
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การบำบัดโรคจมูกและไซนัสด้วยวิธีสูดไอน้ำร้อน(Steam Inhalation for Sinonasal Diseases)
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การบำบัดโรคจมูกและไซนัสด้วยวิธีสูดไอน้ำร้อน(Steam Inhalation for Sinonasal Diseases)

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มกราคม 2552 00:00

การสูดไอน้ำร้อนเป็นวิธีการที่แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์ทางเลือก แนะนำให้ผู้ป่วยทำเป็นประจำ เพื่อให้จมูกโล่ง หายใจได้สะดวกขึ้น รักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ที่เกิดจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้, โรคหวัด หรือโรคไซนัสอักเสบ รักษาอาการปวดตื้อๆ ที่ศีรษะซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของอากาศในไซนัสที่ไม่ดีจากเยื่อบุจมูกที่บวมไปอุดกั้นรูเปิดของไซนัสในโพรงจมูก และทำให้การพ่นยาชนิดต่างๆ เข้าไปในจมูก มีประสิทธิภาพมากขึ้น. นอกจากนั้น ยังทำให้ทางเดินหายใจส่วนล่างโล่งขึ้น และช่วยลดอาการของโรคหืดด้วย.

การสูดไอน้ำร้อนนั้น อาจใช้น้ำเดือดธรรมดา หรือมีการผสมยาหรือน้ำมันหอมระเหย หรือสมุนไพรบางอย่างลงไปด้วย เชื่อว่าเป็นการทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาดีขึ้น. แพทย์รุ่นเก่าๆ มักจะแนะนำให้หยดทิงเจอร์เบนซอยด์ (tincture benzoin) ลงไปในน้ำร้อนให้ผู้ป่วยโรคจมูกและไซนัสสูดหายใจ โดยให้ผู้ป่วยทำเองที่บ้าน เป็นการรักษาเสริมสำหรับโรคจมูกและไซนัสอักเสบทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง.


กลไกการออกฤทธิ์ของการสูดไอน้ำร้อน
จากการศึกษาผลของอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมต่อเยื่อบุจมูกของคน พบว่าถ้าอุณหภูมิภายในโพรงจมูกสูงขึ้นจากการสูดอากาศที่อุ่นและชื้น จะทำให้โพรงจมูกโล่งขึ้น และอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ลดลง โดยเฉพาะอาการคัดจมูก. ในทาง กลับกัน ถ้าหายใจเอาอากาศเย็นเข้าไปจะทำให้คัดจมูกมากขึ้น.

ตามทฤษฎีการสูดไอน้ำร้อนจะช่วยเพิ่มของ เหลวให้ชั้นผิวของเยื่อบุจมูก ทำให้ผิวของเยื่อบุจมูกคงตัว ลดการหลั่งของน้ำมูก และความร้อนจะขัดขวาง การทำปฏิกิริยาระหว่างสารก่อภูมิแพ้และเซลล์ที่เกี่ยว ข้องกับปฏิกิริยาอักเสบจากภูมิแพ้. มีการศึกษาที่สนับสนุนว่าการสูดไอน้ำร้อนมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการคัดจมูก ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส และกระตุ้นให้มีสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น.

ปกติเยื่อบุจมูกมีหน้าที่ปรับอากาศที่หายใจเข้า ให้มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมสำหรับหลอดลมและปอด ดังนั้น ถ้าหายใจในสิ่งแวดล้อมที่เย็นจัด เยื่อบุจมูกจะทำหน้าที่ปรับอากาศให้อุ่นและชื้นขึ้น โดยอาศัยกลไกของระบบหลอดเลือดที่อยู่ในเยื่อบุจมูก โดยหลอดเลือดจะขยายตัว ทำให้มีเลือดมาคั่งอยู่ในเยื่อบุจมูก และนำเอาความร้อนซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของ ร่างกายและความชื้นมาด้วย ทำให้อากาศที่หายใจเข้าผ่านช่องจมูกได้รับความร้อนและความชื้นทำให้อากาศอุ่นและชื้นขึ้น. ผลที่ตามมาคือ หลอดเลือดที่ขยายตัวทำให้เยื่อบุจมูกพองหรือบวมขึ้น ทำให้เกิดอาการคัดจมูกมากขึ้นในบางคนโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคจมูกอยู่แล้ว. ในทางกลับกัน ถ้าให้ผู้ป่วยสูดหายใจเอาไอน้ำร้อนเข้าไป เยื่อบุจมูกจะทำหน้าที่ปรับอากาศ โดยระบบหลอดเลือดในเยื่อบุจมูกจะหดตัวลง ทำให้เยื่อบุจมูกหดตัวยุบบวม ผู้ป่วยจะรู้สึกหายใจโล่งขึ้น. นอกจากนี้ ไอน้ำที่กลั่นตัวในทางเดินหายใจจะทำให้เยื่อบุจมูก และลำคอชุ่มชื้นและน้ำมูกเสมหะที่เหนียวข้นจะถูกขับออกมาง่ายขึ้นด้วย


ดังนั้น การสูดไอน้ำร้อน จึงใช้รักษาอาการคัด จมูกที่เกิดจากเชื้อไวรัส, ไข้หวัด, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และชนิดไม่แพ้, โรคไซนัสอักเสบ และผู้ป่วยหลังผ่าตัดไซนัส. ส่วนการเติมสมุนไพรในน้ำที่ต้มเดือดเพื่อสูดไอน้ำร้อน เพื่อบำบัดรักษาอาการของโรคจมูกและไซนัสนั้น มักจะเลือกใช้สมุนไพรที่ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินหายใจ หรือมีที่ใช้สำหรับรักษาอาการของทางเดินหายใจ

 

ขั้นตอนของการสูดไอน้ำร้อน
1. ต้มน้ำประปาในหม้อต้มให้เดือด และเตรียมภาชนะปากกว้าง เช่น ชามหรืออ่างที่ทำด้วยวัสดุทนความร้อน สำหรับใส่น้ำเดือดไว้สูดไอน้ำร้อน.

2. เทน้ำเดือดจากหม้อต้มใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ในกรณีที่แพทย์ไม่ได้สั่งยาเพื่อให้เติมลงไปในน้ำเดือด สามารถเริ่มสูดไอน้ำร้อนได้เลย (ดูข้อ 3). ในกรณีที่แพทย์สั่งยาเพื่อให้เติมลงไปในน้ำเดือด ควรเริ่มเติมยาลงไปขนาดน้อยๆ ก่อน เช่น ครึ่งฝาขวดยา หรือครึ่งช้อนชา ถ้ากลิ่นไม่ฉุนเกินไป หรือผู้ป่วยทนได้ อาจ เพิ่มขนาดได้ในครั้งต่อไป หรือจะใช้ในขนาดที่พอใจ ก็ได้ หลังจากนั้นคนให้ยาผสมเข้ากับน้ำเดือดให้ดี.

3. ยื่นหน้าไปอังอยู่เหนือน้ำเดือด ซึ่งอยู่ในภาชนะที่เตรียมไว้ สูดหายใจเข้าออกปกติ โดยอาจนำผ้าเช็ดตัว หรือผ้าสะอาดผืนใหญ่ มาคลุมโปงศีรษะและภาชนะใส่น้ำเดือด หรืออาจพับกระดาษเป็นรูปกรวย หรือรูปทรงกระบอก ช่วยในการสูดไอน้ำร้อนก็ได้.

4. ถ้าไอน้ำเดือดร้อนมากเกินไปขณะอบ อาจ พักชั่วคราว โดยเอาหน้าออกจากภาชนะที่ใส่น้ำเดือด พอรู้สึกดีขึ้น หรือร้อนน้อยลง ค่อยสูดไอน้ำร้อนต่อ. ควรสูดไอน้ำร้อนจนกว่าไอน้ำเดือดจะหมด และควรจะสูดไอน้ำร้อนก่อนการพ่นยาในจมูกเสมอ โดยเฉพาะ ในรายที่มีอาการคัดจมูก เพื่อให้ยาเข้าไปสัมผัสกับเยื่อบุจมูกได้มากขึ้นและออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น.

 

ปารยะ   อาศนะเสน พ.บ., ผู้ช่วยศาสตาจารย์ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • คู่มือดูแลสุขภาพ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • ดูแลสุขภาพ
  • นานาสาระ
  • ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
  • อ่าน 5,487 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

289-006
วารสารคลินิก 289
มกราคม 2552
นานาสาระ
ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa