Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » แพทยสภากับผลงานในรอบ 2 ปีนี้
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

แพทยสภากับผลงานในรอบ 2 ปีนี้

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มกราคม 2552 00:00

ผลงานที่เกิดจากการดำเนินการในเชิงรุกของทีมงานแพทยสภาชุดปัจจุบันที่สำคัญมีดังนี้
1. ได้ดำเนินการลดคดีจริยธรรมร้องเรียนแพทย์ที่ได้เคยค้างสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆมาโดยตลอด จากเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 มีอยู่ถึง 616 คดี ในปีนี้ได้ลดลงอย่างรวดเร็วภายในปีเดียวลดลงเหลือ 288 คดีเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2551 เพราะมีการพิจารณาที่รวดเร็วขึ้น และได้ลดคดีที่มาใหม่ที่เคยสูงปีละเกือบ 300 คดีเหลือเพียง 93 คดี รวมเหลือค้างเพียง 381 คดี ทั้งนี้ เพราะเราได้ตั้งคณะอนุกรรมการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน แห่งแพทยสภาขึ้น ซึ่งมีทีมเลขาธิการแพทยสภาอยู่เวรรับเรื่องตลอดเวลา ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและแพทย์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการร้องเรียนจริยธรรมแพทย์ให้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

2. ได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และได้เข้าพบและเพื่อชี้แจงถึงความสลับซับซ้อนทางวิชาการทางการแพทย์ในการตรวจรักษาผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดภาวะอันไม่พึงประสงค์ได้ทุกขั้นตอน ดังนั้น เมื่อตำรวจได้รับแจ้งความขอให้ถามความเห็นทางวิชาการมายังแพทยสภาก่อน ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เห็นด้วยและได้ทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังพนักงานสอบสวนทั่วประเทศให้ถือปฏิบัติเหมือนกันหมดแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าพนักงานสอบสวนจะได้ข้อมูลอย่างเพียงพอในการพิจารณาคดีอาญา ทำให้สามารถพิจารณาได้อย่างเป็นธรรม.

3. ในชั้นอัยการ ก็ได้ดำเนินการเข้าพบอัยการสูงสุดและท่านก็เข้าใจและได้ทำหนังสือเวียนแจ้งอัยการทั่วประเทศแล้วโดยใช้หลักเดียวกันทำให้เรามีหลักประกันว่าอัยการจะได้ข้อมูลทางวิชาการอย่างเพียงพอในการพิจารณาคดีอาญาของแพทย์.

4. ในชั้นผู้พิพากษา ทีมแพทยสภาสัญจร ได้เข้าพบท่านผู้พิพากษาตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้วิชาชีพของเรา และขอปรึกษาหารือ รวมทั้งชี้แจงต่อท่านในลักษณะเช่นเดียวกัน และขอให้ท่านร่วมแก้ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ทีมเลขาธิการแพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุขได้เข้าพบเลขาธิการศาลยุติธรรม และผู้พิพากษาท่านที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ปัญหานี้ให้ได้ ซึ่งได้มีแนวทางต่างเกิดขึ้นหลายอย่างเพื่อแก้ไข ปัญหานี้ และได้ตั้งคณะทำงานชุดเล็กขึ้นเพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยด่วนต่อไปแล้ว.

5. การเข้าร่วมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการด้านสาธารณสุข โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณา ของคณะกรรมการกฤษฎีกา ล่าสุดที่ผมได้ไปประชุมมามีความคืบหน้าไปมากแล้วโดยกองทุนนี้จะจ่ายค่าเงินช่วยเหลือให้กับผู้ได้รับผล อันไม่พึงประสงค์จากการรับบริการทางการแพทย์โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด และเมื่อผู้เสียหายรับเงินแล้วต้องยุติการฟ้องร้อง.

6. การเสนอร่างพระราชบัญญัติความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ทำให้แพทย์รับผิดทางอาญาจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเฉพาะกรณีประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น มิใช่ประมาทธรรมดาก็ต้องรับผิดแล้วอย่างในปัจจุบัน และในการพิจารณาคดีได้กำหนดให้ศาลรับฟังพยานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและเป็นกลางจริงๆ เท่านั้น.

7. การเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 (ที่มีอายุความในการฟ้องร้อง ยาวมากและมีวิธีการฟ้องร้องที่สะดวกง่ายดาย และเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ฟ้องมากที่สุด) ให้การประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้. 

8. ดำเนินการเสนอการเพิ่มค่าตอบแพทย์ใน ภาคราชการให้มีแท่งเงินเดือนแยกต่างหาก โดยแพทย์จบใหม่จะเริ่มต้นที่ 30,000 บาท ผู้จบ board เริ่มที่ 40,000 บาท และ sub board เริ่มที่ 50,000 บาท โดยจะปรับรายปีขึ้นไปเรื่อย ตันที่ 80,000 บาทเหมือนกันหมด ส่วนค่าเวรเสนอให้ปรับเท่ากับแพทย์สังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งเริ่มต้นที่คืนละประมาณ 5,000 บาท รวมทั้งการเพิ่มค่าตอบแทนและเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่แพทย์.

9. จัดให้มีการทำ Smart card สมาชิกแพทยสภาในรูปแบบที่สวยงาม เป็นสากล มีข้อมูลครบ และมีเอกลักษณ์ของตนเอง ปลอมแปลงยาก.

10. จัดตั้งองค์กรแพทย์จังหวัดขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือและความสามัคคีของแพทย์ทั่วประเทศ.

11. เสนอปรับปรุงหลักสูตรแพทย์เพื่อให้มีความรู้ด้านกฎหมายและจริยธรรมเพิ่มขึ้น โดยมีคณบดี คณะแพทย์ต่างๆ หรือผู้แทนเป็นอนุกรรมการ.

12. ออกข้อบังคับแพทยสภาในเรื่องใหม่ๆ เช่น Stem cell การทำศัลยกรรมเสริมสวย และการทำศัลยกรรมแปลงเพศ รวมทั้งแก้ไขบางข้อบังคับให้ทันเหตุการณ์ เช่น เรื่องสมองตาย เป็นต้น.

13. การเสนอจัดระยะเวลาเพิ่มพูนทักษะให้เหมาะสมเพื่อให้แพทย์จบใหม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และลดความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้อง จัดเกณฑ์การฝึกอบรมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญให้เหมาะสมขึ้น การรับสมัครแพทย์ประจำบ้านผ่านเว็บไซต์ได้

14. คัดค้านร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมฉบับใหม่ (ที่แก้ไขให้มีบุคคลภายนอกสายมวลชนจำนวนมากเข้ามาเป็นกรรมการแพทยสภา) จนประสบความสำเร็จ

15. เป็นแกนนำในการจัดทำโครงการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety Program) ร่วมกับวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นๆ.

16. จัดทำสื่อสาธารณะให้ความรู้ทางการแพทย์แก่ประชาชน โดยนำตัวอย่างผู้ป่วยจริงมาทำเป็นสารคดีกึ่งละครชื่อรายการ เพชฌฆาตเงียบ ออกอากาศ ทุกวันเสาร์เวลา 18.00 น. ทางทีวีไทยทีวีสาธารณะ.

นอกจากนี้ยังมีการเรื่องเร่งด่วนเฉพาะหน้าอีกจำนวนมากที่ได้ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีเจตคติที่ดีต่อแพทย์และเพื่อปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของแพทย์เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของแพทยสภาชุดนี้คือ

แพทยสภายุคใหม่ ยกคุณภาพชีวิตแพทย์ไทย โปร่งใส ใส่ใจประชาชน
 

อำนาจ  กุสลานันท์ พ.บ.  น.บ., น.บ.ท., ว.ว. (นิติเวชศาสตร์)
ศาสตราจารย์คลินิก เลขาธิการแพทยสภา

ป้ายคำ:
  • อื่น ๆ
  • ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
  • ศ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์
  • อ่าน 1 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

289-014
วารสารคลินิก 289
มกราคม 2552
ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
ศ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa