Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » จะเลิกบุหรี่ไหม ถ้ารู้อายุปอด
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

จะเลิกบุหรี่ไหม ถ้ารู้อายุปอด

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มกราคม 2552 00:00

Parkes G, Greenhalgh T, Griffin M, et al. Effect on smoking quit rate of telling patients their lung age : the Step2 quit randomised controlled trial. BMJ 2008; 336:598-600.

 

หนึ่งในสี่ของคนสูบบุหรี่ลงเอยด้วยโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายมากที่สุดลำดับสี่ของประชากรโลก วิธีการรณรงค์ให้นักสูบทั้งหลายเลิกสูบจึงน่าสนใจ. นักวิจัยในประเทศอังกฤษ ศึกษา randomisation controlled trial ในคนที่สูบบุหรี่จำนวน 561 คนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54 เป็นผู้หญิง สูบบุหรี่เฉลี่ยวันละ 17 มวน เฉลี่ย 33 pack-years ผู้ป่วยที่ไม่ได้รวมอยู่ในการศึกษานี้ ได้แก่ เป็นมะเร็งปอด วัณโรค แอสเบสโตสิส ซิลิโคสิส bronchiectasis หรือเคยผ่าตัดปอด.


ผู้ป่วย 561 คน ถูกแบ่งแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม ทุกคนได้รับการตรวจสมรรถภาพปอด วัด FEV1 กลุ่มที่อยู่ในกลุ่มศึกษา (n = 280 คน) ได้รับการแจ้งผลทันทีด้วยวาจาและแสดงภาพที่บอก "อายุปอด" (บอกว่าค่า FEV1 ของผู้ป่วยเทียบเท่ากับอายุปอดของคนปกติวัยใด) ส่วนกลุ่มควบคุม (n = 281 คน) ไม่ได้บอกผลตรวจทันที แต่ภายใน 4 สัปดาห์หลังจากนั้นผู้ป่วยทุกคนจะได้รับจดหมายรายงานผลการตรวจ โดยในกลุ่มควบคุมมีการแจ้งผลแต่ไม่ได้มีการอธิบายเรื่องอายุปอดเหมือนในกลุ่มศึกษา แต่ทั้ง 2 กลุ่มได้รับข้อความที่เน้นถึงความสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่และให้ติดต่อหน่วยบริการช่วยเลิกบุหรี่. ตัวชี้วัดผลการศึกษาคืออัตราการเลิกสูบบุหรี่ (ตรวจ cotinine ในน้ำลาย) และจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวันใน 12 เดือนต่อมา.


ผลการศึกษา ผู้วิจัยสามารถติดตามผู้ป่วยได้ร้อยละ 89 เมื่อเริ่มการศึกษา ร้อยละ 27 ของกลุ่มศึกษาและ 23 ของกลุ่มควบคุมมี FEV1 ผิดปกติ กลุ่มศึกษามีอายุปอดแก่กว่าอายุจริงเฉลี่ย 9.3 ปี กลุ่ม ที่ได้รับการบอกและอธิบายเกี่ยวกับอายุปอดมีอัตราการเลิกสูบบุหรี่สูงกว่า ( 13.6% vs. 6.4%, NNT 14) และจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวันน้อยลงกว่ากลุ่มควบคุม(12 vs. 14 มวนต่อวัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.
ผลการตรวจสมรรถภาพปอดและอายุปอดดังภาพที่ 1.
 

                           

 

สรุป การบอกอายุปอดภายหลังการตรวจสมรรถภาพปอดทันทีประสบความสำเร็จในการช่วยให้คนสูบบุรี่จำนวนหนึ่งเลิกสูบได้มากกว่าการแนะนำแบบไม่ได้บอกอายุปอด.

การศึกษานี้ชี้ว่าการแนะนำให้คนสูบบุหรี่เลิกสูบ อาจเพิ่มการตรวจสมรรถภาพปอดเพื่อเป็นเป็นสิ่งกระตุ้นให้เลิกสูบบุหรี่ และรูปแบบและเนื้อหาข้อมูลที่ให้แก่ผู้สูบก็เป็นเรื่องสำคัญ.


วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน,  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • บุหรี่
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 2,921 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

289-016
วารสารคลินิก 289
มกราคม 2552
เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa