Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551

โพสโดย somsak เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2552 00:00

ในปัจจุบันแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพสาขาอื่นๆ รวมทั้งสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ต่างก็กำลังมีปัญหาจากการถูกฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ขึ้นจากการรักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งมีวิธีการและรายละเอียดในการดำเนินคดีที่ทำให้มีการฟ้องร้องได้ง่ายมาก เช่น สามารถฟ้องร้องได้ด้วยวาจา โดยไม่จำเป็น ต้องมีทนายความ มีอายุความที่ยาวนานขึ้น ศาลสามารถพิพากษาให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เกินกว่าจำนวนเงินที่ฟ้อง ศาลสามารถแก้ไขคำพิพากษาใหม่ได้แม้ตัดสินคดีไปแล้ว การฟ้องร้องไม่ต้องมีเงินวางศาลเหมือนคดีแพ่งทั่วไป ดังนั้น จึงมีการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มากขึ้นทุกวัน จนแพทย์หลายคนต้องปิดคลินิกตนเองเนื่องจากรับความเสี่ยงไม่ไหว บางคนก็ไปทำอาชีพอื่นแทนโดยบอกกับผมว่าทนต่อความเครียดไม่ได้ เพราะแต่เดิมเครียดจากความกลัวว่าผู้ป่วยในภาวะวิกฤติจะเป็นอันตรายก็แย่แล้ว นี่ยังเจอปัญหาการถูกฟ้องร้องอีกทั้งทางคดีอาญา คดีแพ่งทั่วไป และคดีผู้บริโภคอีก ไม่ไหวแล้วขอลาไปก่อนดีกว่าซึ่งคดีผู้บริโภคนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ยื่นคำขอให้ท่านประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าสถานพยาบาล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งของรัฐ) อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือไม่.


หลังจากวันวาเลนไทน์หนึ่งสัปดาห์ คือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 ก็จะมีของขวัญ ชิ้นใหม่เกิดขึ้นอีกแล้ว นั่นคือ จะเป็นวันที่กฎหมายฉบับใหม่เริ่มใช้บังคับ ซึ่งมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักกฎหมายว่า จะ ใช้บังคับกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและสถานพยาบาลได้หรือไม่ ซึ่งถ้าได้ก็จะมีผลกระทบต่อแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นๆ อย่างแน่นอน ดังนั้น ผมจึงนำข้อความบางส่วนของพระราชบัญญัติฉบับนี้มาเรียนให้ทราบพอได้ไอเดียดังนี้ครับ
 


มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติฉบับนี้
"สินค้า" หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย รวมทั้งผลิตผลเกษตรกรรมและให้หมายความรวมถึงกระแสไฟฟ้า ยกเว้นสินค้าตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

"ความเสียหาย" หมายความว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

"ความเสียหายต่อจิตใจ" หมายความว่า ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน



มาตรา 5 ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้วไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม


มาตรา 9 ข้อตกลงระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหายและประกาศหรือคำแจ้งความของผู้ประกอบการเพื่อยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย จะนำมาอ้างเพื่อเป็นข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้บริโภคมีความหมายเช่นเดียวกับนิยามคำว่า "ผู้บริโภค" ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค

ผมมีความเห็นว่าการประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพไม่น่าจะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ เพราะเราไม่ได้เป็นผู้ขายสินค้า หากแต่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ และสถานพยาบาลก็เป็นผู้ให้บริการทางด้านการแพทย์ซึ่งจะต้องมีจริยธรรมในการดำเนินการ.

 

อำนาจ  กุสลานันท์ พ.บ. ,น.บ., น.บ.ท., ว.ว. (นิติเวชศาสตร์)
ศาสตราจารย์คลินิก เลขาธิการแพทยสภา

ป้ายคำ:
  • อื่น ๆ
  • ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
  • นพ.อำนาจ กุสลานันท์
  • อ่าน 9,756 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

290-015
วารสารคลินิก 290
กุมภาพันธ์ 2552
ข่าวสารจากเลขาธิการแพทยสภา
นพ.อำนาจ กุสลานันท์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa