Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ฉันดีใจที่ได้ลูกชายกลับคืนมา
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ฉันดีใจที่ได้ลูกชายกลับคืนมา

โพสโดย somsak เมื่อ 1 เมษายน 2552 00:00

ฉันดีใจที่ได้ลูกชายกลับคืนมา

กว่าแม่ของเอ็ดจะพูดประโยคนี้ออกมาได้พร้อมรอยยิ้มเปื้อนหน้า แม่คงทนทุกข์ทรมานมามากและจิตใจบอบช้ำอย่างหนัก ที่ต้องเห็นลูกชายคนเดียวของแม่เจ็บป่วยแบบนี้ ทำให้ฉันนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ ที่ทำให้ได้พบกับ...เอ็ด...ครั้งแรก.

ขณะฉันขึ้นปฏิบัติงานเวรเช้า ก็ได้รับโทรศัพท์จากศูนย์กู้ชีพ 1669 ให้ออกรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่ ตำบลหนองรี ฉันและทีมงาน รีบออกปฏิบัติการ EMS ทันที เมื่อไปถึงบ้านผู้ป่วย เพียงแค่เปิดประตูรถฉุกเฉิน ฉันก็ได้ยินเสียงตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ.

"หมอ ๆ ช่วยเอารถพยาบาลมารับคนไข้ที คนไข้ชักใหญ่แล้วไม่มีใครอยู่เลย ฉันไม่รู้จะทำยังไงแล้ว ช่วยลูกฉันด้วย ฮือ... ฮือ ..."     

คำพูดและน้ำเสียงร้อนรน ฟังแล้วรู้ว่าคนพูดคงจะทุกข์ใจมาก แต่ภาพที่ฉันไปเห็นกลับน่าสลดใจยิ่งกว่า ภาพที่แม่กำลังกอดลูกชายที่นอนเกร็งกระตุกอยู่บนเตียงนอนไว้กับอก น้ำตากลบตา ปากพร่ำพูดปลอบประโลมลูก หวังให้ลูกคลายความทุกข์ทรมาน.

ฉันรีบนำผู้ป่วยกลับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที หลังจากรับผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลแล้ว จึงได้มีโอกาสพูดคุยกับญาติ ทำให้ทราบว่าผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุขณะขับรถปิกอัพ ถูกรถพ่วงชนท้าย นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมหาชัย นานกว่า 2 เดือน ก่อนจะกลับมาพักฟื้นต่อที่บ้านเนื่องจากมีปัญหาเรื่องค่ารักษาพยาบาล ในสภาพที่สมองได้รับความกระทบกระเทือน ตาเหม่อลอย ไม่ตอบสนองใดๆ ไม่สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องเจาะคอใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจ ใส่สายให้อาหารทางจมูกคาสายสวนปัสสาวะไว้ตลอดเวลา ขาขวาได้รับบาดเจ็บ จนต้องตัดขาทิ้งและมีอาการชักเกร็งอยู่บ่อยๆ ครอบครัวเองก็ยังไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจและเตรียมความพร้อมที่จะต้องรับผู้ป่วยมาดูแลที่บ้าน ทำให้ทุกคนในครอบครัวเครียดมาก กลัวว่าจะดูแลผู้ป่วยไม่ได้ หรือดูแลได้ไม่ดีพอ จนอาจทำให้อาการทรุดลงมากกว่าเดิม.

สำหรับเอ็ดเอง อายุเพียง 28 ปี ยังหนุ่มแน่นแข็งแรง แต่กลับต้องเปลี่ยนสถานะจากหัวหน้าครอบครัว ที่พยายามทำงานทุกอย่างหาเลี้ยงครอบครัวด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง กลายเป็นคนที่ทำอะไรไม่ได้เลย เป็นภาระให้แม่และภรรยาต้องคอยดูแล แม้สื่อสารกันไม่ได้ แต่ฉันรับรู้ได้ว่าเอ็ดคงทุกข์ใจมาก สมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะแม่และภรรยา ก็ทุกข์ใจไม่แพ้กัน. แม้ทุกข์ใจแค่ไหนก็ไม่กล้าร้องไห้ให้ผู้ป่วยเห็นด้วยกลัวว่าผู้ป่วยจะเสียกำลังใจ แต่ฉันเห็นและภาพที่เห็น ทำให้ฉันอยากช่วยเหลือเพื่อคลายทุกข์นั้นให้เบาบางลง แต่ภารกิจของฉันคงไม่ใช่แค่การดูแลพยาบาลเพียงปัญหาสุขภาพที่ "ตา" มองเห็นเท่านั้น แต่มันเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นมากนัก นั่นก็คือ การพลิกฟื้นหนึ่งชีวิตที่สิ้นหวัง ให้กลับมาสู้ใหม่ได้อีกครั้ง. 

โชคดีที่โรงพยาบาลของเรามีทีมเยี่ยมบ้านหรือทีม HHC ที่เข้มแข็งและทำงานด้วยใจที่มีความละเอียดอ่อนและรู้สึกรู้สมกับความทุกข์ร่วมกันของมนุษย์ ฉันเล่าเรื่องของเอ็ดให้ทีมเยี่ยมบ้านของเราฟังเอ็ดจึงกลายเป็นผู้ป่วยของ HHC โดยมีการวางแผนเข้าไปดูแล เริ่มตั้งแต่ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล มีการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย โดยการสอน สาธิตและเปิดโอกาสให้ญาติได้ทดลองปฏิบัติภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปั่นอาหารเหลว การให้อาหารทางสายยาง การทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ การทำแผล ฯลฯ เพื่อให้ญาติเกิดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมสำหรับการดูแลผู้ป่วย ทีมดูแลผู้พิการ ได้ซ่อมและดัดแปลงเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย มอบให้ผู้ป่วยไปใช้ที่บ้าน เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายและการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย แนะนำญาติซื้อเตียงลมมาใช้เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ.

ถึงวันที่เอ็ดต้องกลับไปพักฟื้นที่บ้าน เรามีรถโรงพยาบาลไปส่งถึงบ้าน โดยมีพยาบาลไปด้วยเพื่อดูแลความเรียบร้อย ให้คำแนะนำ รวมถึงให้กำลังใจครอบครัว ทำให้ครอบครัวเกิดความมั่นใจ.

"ป้าไม่ต้องกังวลนะ ทางโรงพยาบาลจะให้เจ้าหน้าที่มาเยี่ยมบ่อยๆ มีอะไรฉุกเฉิน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับดูแลผู้ป่วยให้โทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลได้เลยตลอดเวลา เรายินดีที่จะช่วย เรามาร่วมมือกันนะคะป้า เอ็ดจะได้หายเร็วๆ".

หลังจากนั้น ทีม HHC ไปเยี่ยมบ้านบ่อยๆ เพื่อประเมินอาการของเอ็ดเป็นระยะๆ และให้ความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาที่พบ ให้คำอธิบายเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรค พร้อมทั้งให้กำลังใจครอบครัว ว่าอาการทางสมองอาจต้องใช้เวลา แต่ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น การดูแลเมื่อเกิดอาการชักเกร็ง การทำแผล การพลิกตะแคงตัว การเคาะปอด การดูดเสมหะ การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพของปอดให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อและป้องกัน  การเกิดข้อยึดติด การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ฯลฯ.

เอ็ด โชคดีที่มีครอบครัวที่น่ารัก เข้มแข็ง พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเอ็ดเสมอ ช่วงที่เอ็ดป่วย ครอบครัวประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจาก แม่ยอมลาออกจากงานที่มีรายได้เดือนละเกือบ 7,000 บาท เพื่อมาอยู่ดูแลลูก ภรรยาเองก็ต้องออกจากงานที่กรุงเทพฯ เพราะต้องออกมาดูแลสามี เหลือพ่อเป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว. นอกจากภาระค่าใช้จ่ายในบ้านแล้ว ครอบครัวของเอ็ดยังประสบกับปัญหาหนี้สิน เนื่องจากกู้เงินมาสำรองจ่ายค่ารักษาเอ็ดที่โรงพยาบาลเอกชน 360,000 บาทซึ่งกองทุนทดแทนผู้บาดเจ็บในงาน จ่ายให้เพียง 160,000 บาทเท่านั้น. ทีม HHC ได้ประสานงานกับทีมหลักประกันสุขภาพของโรงพยาบาลเพื่อหาทางช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว โดยในเบื้องต้นทางโรงพยาบาลให้การรักษาโดยไม่เรียกเก็บเงิน และยังช่วยประสานงานกับกองทุนทดแทนฯให้ด้วย ซึ่งขณะนี้เรื่องกำลังอยู่ในขั้นตอนการฟ้องร้องต่อศาล. สำหรับพี่สาวซึ่งแยกครอบครัวไปแล้ว หลังจากทราบข่าวเรื่องน้องไม่สบาย ก็มาช่วยดูแลน้อง และยังช่วยหารายได้อีกแรงโดยรับปลาเค็มจากมหาชัยมาขายนำเงินที่ได้มาใช้จ่ายในครอบครัว ภาวะวิกฤตที่ครอบครัวต้องเผชิญในครั้งนี้กลับส่งผลดีทำให้สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น.


เอ็ดได้รับการดูแลอย่างดีด้วยความรักของทุกคนในครอบครัว ร่วมกับการดูแลของ HHC และแล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น เอ็ดเริ่มมองอย่างมีจุดหมาย ไม่เหม่อลอย เริ่มเข้าใจคำพูดและพยายามที่จะพูดโต้ตอบ เริ่มกินอาการทางปากได้เอง ไม่มีอาการสำลัก หรืออาเจียน. จนในที่สุด วันหนึ่งที่เราไปเยี่ยมเอ็ดที่บ้านก็สามารถถอดสายให้อาหารได้ เริ่มหายใจได้ดีขึ้น แม้จะยังใส่ท่อเหล็กช่วยหายใจ. สำหรับอาการทางสมอง ครอบครัวช่วยกระตุ้นความจำของเอ็ดโดยการพูดคุยถึงเรื่องราวต่างๆ ในอดีตเปิดโทรทัศน์ให้ดู ชวนพูดคุยเพื่อให้เอ็ดพูดโต้ตอบ จนเอ็ดเริ่มจำเหตุการณ์ต่างๆ ได้ จำสมาชิกในครอบครัวได้ เริ่มพูดได้ และประโยคแรกที่เอ็ดพูดได้คือ "รถผมอยู่ไหน" แม่ของเอ็ด บอกว่ารถปิกอัพคันที่เกิดอุบัติเหตุเป็นรถที่เอ็ดหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเอ็ดเอง ด้วยหวังว่าจะใช้มันเป็นเครื่องมือทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว เอ็ดจึงรักมาก หวงมาก แม่จึงได้แต่ปลอบโยน บอกว่ารถไม่เป็นอะไรมาก กำลังซ่อมอยู่.

สำหรับแผลขาขวาที่ถูกตัดเหนือเข่า หลังออกจากโรงพยาบาลกลับมาพักฟื้นที่บ้านโดยมีแม่และภรรยาทำแผลให้ ภายใต้การติดตามประเมินแผลของทีมเยี่ยมบ้าน วันนี้แผลหายเป็นปกติ และเอ็ดก็ไม่มีแผลกดทับ. ปัจจุบันเอ็ดสามารถถอดสายสวนปัสสาวะได้ เปลี่ยนเป็นใส่ Condom with urine bag ร่างกายเริ่มมีกล้ามเนื้อมากขึ้น จากการช่วยเหลือของทีมกายภาพของโรงพยาบาล ซึ่งรับรู้ปัญหาของผู้ป่วย มาตลอดเพราะเป็นส่วนหนึ่งของทีมเยี่ยมบ้าน ที่ต้องเข้าไปประเมินอาการอาการร่วมกัน ทีมกายภาพช่วย  มาดูแล สอนและให้คำแนะนำถึงที่บ้านในการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ การป้องกันข้อยึดติด เนื่องจากทราบปัญหาว่าผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลได้ทุกวัน จึงได้จัดเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือถึงที่บ้าน และสอนญาติด้วย ทำให้เอ็ดช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น. ปัจจุบันเอ็ดสามารถนั่งรถเข็นได้ ที่สำคัญสีหน้าเอ็ดดูมีความสุข สดใสและแววตามีความหวัง มีกำลังใจดี ครอบครัวมีรอยยิ้ม แม้ยังยิ้มได้ไม่เต็มที่ แต่ก็มีความหวังมากขึ้น.

จากเรื่องราวของเอ็ด ทำให้มุมมองเกี่ยวกับสุขภาพของเราเปลี่ยนไป จากที่เรามองเห็นเพียงปัญหาสุขภาพทางร่างกาย และมุ่งแก้ไขเพียงปัญหาที่ "ตา" มองเห็น เรื่องราวของเอ็ดกลับช่วยเปลี่ยนมุมมองใหม่ ให้เราใช้ "หัวใจ" มองผู้ป่วยในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งย่อมมีสิทธิ์ที่จะใฝ่ฝัน มีสิทธิ์ที่จะมุ่งมั่นสร้างชีวิตของตัวเองให้ได้ตามความฝันและไม่ควรเป็นชีวิตที่พ่ายแพ้หรือต้องล้มเหลวเพียงเพราะความเจ็บป่วยหรือความพิการทางร่างกาย และจากมุมมองของความเป็นมนุษย์นี้ ภารกิจของเราจึงไม่ใช่เพียงการดูแล รักษา พยาบาล เฉพาะทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่มันคือการการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งคงไม่ยากเกินความมุ่งมั่นของเรา.
แม้วันนี้เอ็ดจะยังไปไม่ถึงจุดหมายที่หวัง แต่ฉันรู้ว่าเขาต้องทำได้ ด้วยแรงใจ ทั้งจากทีม HHC และครอบครัวของเขาเอง.
 

ลาวรรณ์ สงวนพรหม,พยาบาลครอบครัว, งาน HHC
โรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
สันติ ลาภเบญจกุล, พ.บ.,
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ
โรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี

 

ป้ายคำ:
  • กรณีศึกษา
  • อนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ.​ และป้องกันโรค
  • จดหมายเหตุเวชกรรมไทย
  • ทีม HCC
  • นพ.สันติ ลาภเบญจกุล
  • พบ.ลาวรรณ์ สงวนพรหม
  • อ่าน 3,848 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

292-007
วารสารคลินิก 292
เมษายน 2552
จดหมายเหตุเวชกรรมไทย
นพ.สันติ ลาภเบญจกุล, พบ.ลาวรรณ์ สงวนพรหม
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <