Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Theophylline : บทบาทใหม่ที่น่าติดตาม
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Theophylline : บทบาทใหม่ที่น่าติดตาม

โพสโดย somsak เมื่อ 1 เมษายน 2552 00:00

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยได้รับสารพิษเรื้อรัง เช่น ควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ฯลฯ ผ่านระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนหลั่ง proinflammatory mediator จึงเกิดการอักเสบขึ้นในหลอดลมและลามไปถึงเนื้อปอด. สำหรับหลักการรักษาผู้ป่วย COPD คือการใช้ยาที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจำเพาะต่อกระบวนการอักเสบร่วมกับให้ยาขนานหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการและแนะนำให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ.

ในอดีตยา theophylline มีคุณสมบัติเป็นยาขยายหลอดลม (bronchodilator medication) แต่ระยะหลังมีการใช้ยาชนิดนี้น้อยลงเนื่องจากมียากลุ่มใหม่ที่มีประสิทธิผลในการรักษาสูงและเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต่ำกว่า เช่น Long-acting B2 agonists (LABA) เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม Barnes PJ ได้ค้นพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาซึ่งอาจเป็นกลไกใหม่ของ theophylline ในการยับยั้งการอักเสบของหลอดเลือด.

ในระบบสมดุลของร่างกายจะมีทั้งกระบวนการยับยั้งและส่งเสริมการอักเสบสำหรับผู้ป่วยโรค COPD จะมีกระบวนการส่งเสริมการอักเสบมากกว่าคนปกติ ซึ่งก่อให้เกิด oxidative stress กระตุ้น alveolar macrophages ให้หลั่ง nuclear factor-B (NF-B) และเร่งกระบวนการ histone acetylation ซึ่งต่อมาจะกระตุ้น inflammatory genes ให้สร้างโปรตีน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ tumor necrosis factor alpha (TNF-a), granulocyte-macrophage colony-stimulating factor (GM-CSF) และ interleukin (IL)-8 ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ปอด (ภาพที่ 1 และ 2).

Theophylline ออกฤทธิ์โดยการสร้าง histone acetylases (HDACs) ไปกระตุ้นกระบวนการ histone deacetylation ส่งผลให้ให้เกิดการยับยั้งการแสดงออกของ inflammatory genes ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังกล่าวเริ่มพบได้ตั้งแต่ระดับยาในเลือดที่ 5 มก./ล. จนถึงใน therapeutic level (10-20 มก./ล.) อย่างไรก็ตาม เมื่อระดับยาในเลือดสูงกว่า therapeutic level (> 20 มก./ล.) จะไม่พบฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ แต่จะพบอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องปั่นป่วน กระวนกระวาย ชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นมาแทน.

การใช้ยากลุ่ม corticosteroids จะยับยั้งการอักเสบได้โดยไปจับกับ glucocorticoid receptors (GRs) แล้วกระตุ้นให้สร้าง HDACs เพิ่มขึ้น ในผู้ป่วย ที่มีภาวะ oxidative stress สูง อาจก่อให้เกิดภาวะดื้อยาสตีรอยด์จากสาร peroxynitrite ไปกระตุ้นให้ proteosome มาย่อยสลาย HDACs ทำให้ HDACs ลดลงก่อให้เกิดการอักเสบที่ปอดได้ ซึ่ง theophylline สามารถแก้ไขภาวะดื้อยาสตีรอยด์ได้โดยกดการทำงาน ของ inflammatory genes. การใช้ยา theophylline เดี่ยวๆ มักไม่ให้ผลยับยั้งการอักเสบ แต่เมื่อใช้ควบคู่ กับสตีรอยด์พบว่าฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบเพิ่มมากขึ้น อนุมานได้ว่ายา theophylline และ corticosteroid ชนิดพ่น เมื่อใช้ควบคู่กันจะมีฤทธิ์เสริมกันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้.

การค้นพบบทบาทใหม่ของยา theophylline โดยอาศัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในด้านของการยับยั้งการอักเสบ จากการใช้ยาในขนาดต่ำ (ระดับยาในเลือด 5-10 มก./ล.) สามารถลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (dose dependent) และลดความจำเป็นในการเจาะวัดระดับยาในเลือดในผู้ป่วยบางรายลง สามารถลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง. นอกจากนี้ยังถือได้ว่าเป็นการ "ปลดล็อก" ปัญหาดื้อยาสตีรอยด์ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดรุนแรง โดยอาศัยฤทธิ์เสริมกันของยาทั้งสองตัว.
 

เอกสารอ้างอิง
 1. Barnes PJ. Reduced Histone Deacetylase in COPD. CHEST 2006; 129:151-5.

 2. Barnes PJ.  Theophylline in Chronic Obstructive Pulmonary Disease : New Horizons. Proc Am Thorac Soc 2005; 2:334-9.

3. Barnes PJ, Stockley RA. COPD : current therapeutic interventions and future approaches.Eur Respir J 2005; 25:1084-106.

 4. Hogg JC. Pathophysiology of airflow limitation in chronic obstructive pulmonary disease. Lancet 2004; 364:709-21.

 5. Barnes PJ.  Theophylline New Perspectives for an Old Drug. Am J Respir Crit Care Med 2003; 167:813-8.
 

สุธาร จันทะวงศ์ ภ.บ., ประกาศนียบัตรบัณฑิต (เภสัชบำบัด)
เภสัชกรประจำบ้าน
สุภัสร์ สุบงกช ภ.บ., ผู้ช่วยศาสตรจารย์, M.Sc (Clinical Research),
Pharm.D. สาขาวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ป้ายคำ:
  • ยาและวิธีใช้
  • ดูแลสุขภาพ
  • มุมมองเภสัช
  • ปอดเรื้อรัง
  • ภก.สุธาร จันทะวงศ์
  • ผศ.ภก.สุภัสร์ สุบงกช
  • อ่าน 9,243 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

292-015
วารสารคลินิก 292
เมษายน 2552
มุมมองเภสัช
ผศ.ภก.สุภัสร์ สุบงกช
ภก.สุธาร จันทะวงศ์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa