Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » คนปกติจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมหรือไม่
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

คนปกติจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมหรือไม่

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤษภาคม 2552 00:00

Q   :   น้ำตาเทียมมีประโยชน์สำหรับคนปกติหรือไม่
A   :    
น้ำตาเทียมที่มีวางขายอยู่มากมายหลายยี่ห้อในร้านขายยา เป็นยาหยอดตาประเภทหนึ่งซึ่งช่วย เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตาของเรา ถ้าเปรียบเทียบ คงคล้ายน้ำมันหล่อลื่นซึ่งมีความสำคัญสำหรับเครื่องยนต์ ทุกชนิด รวมถึงดวงตาของมนุษย์ที่ต้องมีการกระพริบถึงนาทีละ 10-15 ครั้ง เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตามาฉาบดวงตา. ดังนั้น ในคนปกติทั่วไปที่มีความรู้สึกเคืองตา ฝืดตา รู้สึกมีน้ำตาเหนียวๆเกาะหางตา หรือรู้สึกเหมือนมีฝุ่นระคายเคืองตาน่าจะมาจากภาวะที่เรียกว่า "ภาวะตาแห้ง" หรือ dry eye การใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะทำให้รู้สึกสบายตา และลดอาการดังกล่าวได้.


Q   :  ใครสมควรต้องใช้น้ำตาเทียม
A   :  
กลุ่มคนที่มีปัญหาน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาแห้ง โดยทั่วไปมักพบในผู้สูงอายุที่ต่อมน้ำตาทำงานลดลงตามอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเพศหญิงที่หมดประจำเดือนจะทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาลดลงกว่าคนทั่วไป. 

คนอีกกลุ่มที่มักมีปัญหาตาแห้ง คือ คนที่ทำงานกลางแดด ถูกลมพัด หรือทำงานในอากาศร้อน แห้ง เพราะจะทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาระเหยออกไปมากกว่าปกติ.

คนอีกกลุ่มที่พบได้บ่อยในปัจจุบันคือ คนที่ต้องทำงานเกี่ยวกับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาจเกิดจากการใช้สมาธิในการทำงาน ทำให้มีการกระพริบตาน้อยกว่าภาวะปกติ ซึ่งควรมีการกระพริบตาประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาทีเพื่อป้องกันภาวะตาแห้ง หรือเมื่อรู้สึกเคืองตา แสบตา ให้หลับตาพัก 3-5 วินาที เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาจากเปลือกตาบนด้านในมาฉาบให้ความชุ่มชื้นต่อลูกตา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาชนิดน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเทียมเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว.


Q   : น้ำตาเทียมที่มีขายอยู่มากมายตอนนี้คืออะไร
A   :
 น้ำตาเทียมที่มีขายอยู่ในปัจจุบัน แบ่งตามชนิดของยาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
  กลุ่มที่ 1. Cellulose ethers เช่น Methyl cellulose, hydroxypropyl methylcellulose.

  กลุ่มที่ 2. Polyvinyl alcohol.

  กลุ่มที่ 3  Formulations หรือ multiple component อื่นๆ เช่น viscoelastic substances.
ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มแม้จะเป็นสารต่างๆ แต่โดยทั่วไปมักไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองกับดวงตา จึงปลอดภัยกับตามากกว่าการใช้น้ำยาล้างตา ซึ่งมักประกอบด้วยสารต่างๆซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายต่อดวงตาได้มากกว่า.


Q   :    คนทั่วไปสามารถหาซื้อน้ำตาเทียมมาใช้เองได้หรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่
A   :  
โดยทั่วไป หากเป็นน้ำตาเทียมที่มีขายทั่วไปตามร้านขายยาจะถือว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง ไม่ได้เป็นกลุ่มยาควบคุม ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อใช้เองได้.


Q   :   เรามีวิธีเลือกซื้อน้ำตาเทียมอย่างไร
A   :    
ปัจจุบันน้ำตาเทียมมีวางขายประมาณ 30  ยี่ห้อ การเลือกซื้อนอกจากพิจารณาถึงราคาของยาแล้ว น้ำตาเทียมยังแบ่งออกตามลักษณะการใช้เป็นชนิดขวดที่สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นเดือน ซึ่งมัก มีสารกันเชื้อแบคทีเรีย (preservative) รวมอยู่ด้วยจะสะดวกสำหรับผู้ที่ใช้ยาเป็นประจำมักมีราคาถูกกว่ากลุ่มที่สอง มีลักษณะเป็นหลอดขนาดเล็กๆใช้หยอดในแต่ละวันแล้วทิ้งไปเลย มักให้ความรู้สึกสบายตากว่า เนื่องจากไม่มีสารกันเชื้อแบคทีเรียผสมอยู่จึงต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่มักมีราคาสูงกว่าน้ำตาเทียมชนิดขวด.


Q   :  หยอดน้ำตาเทียมไปนานๆจะมีผลเสียหรือไม่
A
   :  การใช้น้ำตาเทียม นอกจากข้อจำกัดด้านราคา (ชนิดขวดราคาประมาณ 100-300 บาท/ขวด/เดือน ชนิดหลอดประมาณ 800-1500 บาท/กล่อง/เดือน) แล้วผลข้างเคียงต่อดวงตาต่ำมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา ยกเว้นในผู้ใช้ยาบางรายอาจมีอาการแสบตาเมื่อน้ำตาเทียมบางยี่ห้อและการใช้น้ำตาเทียมชนิดขวด มักไม่ใช้เกินวันละ 4 ครั้ง เพราะสารกันเชื้อแบคทีเรียที่ผสมอยู่ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระจกตาดำได้.


Q   :   น้ำตาเทียมจะใช้หยอดในคนปกติได้หรือไม่
A   :  
คนปกติน้ำตาเทียมสามารถเลือกหยอดน้ำตาเทียม เพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น และรู้สึกสบายตาได้.




ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์ พ.บ., ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ภาควิชาจักษุวิทยา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ. ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • น้ำตาเทียม
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 52,876 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

293-005
วารสารคลินิก 293
พฤษภาคม 2552
คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา, นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa