-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
304
สิงหาคม 2547
สองวันก่อนได้คุยกับเพื่อนครูโยคะ ซึ่งได้เล่าถึงเพื่อนคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกาให้ฟัง เพื่อนคนนั้นทำงานออฟฟิศ แกบอกว่าคนอเมริกันเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี วันจันทร์ถึงศุกร์จึงทำงานด้วยความสบายใจ แต่คนอเมริกันไม่ใช่เพื่อนที่สนิท ทำให้เสาร์-อาทิตย์เป็นวันที่ไม่มีความสุขเลย แต่พอบอกว่างั้นก็กลับเมืองไทยสิ แกก็ไม่อยากกลับเมืองไทย เพราะแม้คนไทยจะรู้ใจกัน มีความสุขในวันเสาร์-อาทิตย์ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
303
กรกฎาคม 2547
โยคะ กับการพัฒนาจิตไปสู่สภาวะสูงสุดมนุษย์ประกอบด้วยมิติต่างๆ ทางกาย ทางใจ และทางจริยธรรม ในแต่ละมิติก็ยังประกอบด้วยรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย มิติทางใจอาจแบ่งออกเป็นเรื่องของอารมณ์ ความเฉลียวฉลาด เป็นต้น นอกจากนั้น มิติที่สำคัญทางใจอีกประการของมนุษย์คือ สภาวะจิตสูงสุด อันเป็นสภาวะทางอุดมคติ ที่มนุษย์ค่อยๆ พัฒนาไปสู่คำว่าสภาวะจิตสูงสุด โดยแค่ชื่อฟังดูเป็นของสูง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
299
มีนาคม 2547
ความจำเป็นของการวิจัยโยคะ และการนำโยคะให้เป็นแบบแผนของการศึกษาโยคะเป็นศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณอันเปี่ยมไปด้วยคุณค่า เกิดจากความพิถีพิถันในการเฝ้าสังเกต ศึกษาเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเอง สืบทอดอย่างเป็นระบบจากโยคีรุ่นหนึ่งตกทอดไปยังโยคีรุ่นถัดไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โยคะคือศาสตร์แห่งชีวิตที่นำพามนุษย์ไปสู่ศักยภาพสูงสุด โยคะ คือ ศาสตร์แห่งการยกระดับความเป็นมนุษย์ ในทุกๆ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
298
กุมภาพันธ์ 2547
โยคะ วิชาการและการประชุมเวลาที่พวกเราวิเคราะห์ วิจารณ์เมืองไทย เรามักจะเห็นพ้องกันว่าประเทศไทยนี้โชคดี เราอยู่ในภูมิประเทศที่อุดม ปราศจากภัยธรรมชาติ ซึ่งคงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมสบายๆ แต่คำถามก็คือ เราจะโชคดีอย่างนี้ไปได้ตลอดหรือ? โลกวิวัฒน์ไปเร็วเหลือเกิน โดยเฉพาะถ้าในยุคนี้ ก็คือ การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการสื่อสาร ผลของการพัฒนาทางด้านนี้ก็คือ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
297
มกราคม 2547
ปราณยามะ (9) ตอนสุดท้ายของปราณยามะในบทสรุปนี้ ขอย้ำว่าแก่นของปราณยามะ คือ "ช่องว่างระหว่างลมหายใจเข้าและลมหายใจออก หรือก็คือ การหยุดลมหายใจ" ถ้าจะฟันธงลงไป เราก็กล่าวได้ว่า การฝึกควบคุมลมหายใจต่างๆ ของโยคะ ท้ายที่สุดก็เพื่อสร้างสภาวะของการไม่หายใจเป็นเวลานานๆ นั่นเอง เพราะโยคะถือว่า การที่ร่างกายนั่งได้สงบลมหายใจหยุด จิตก็จะสงบนิ่งลงเป็นสมาธิ อันเป็นเป้าหมายของโยคะ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
296
ธันวาคม 2546
ปราณยามะ (8)เมื่ออ่าน เมื่อฝึกมาถึงฉบับนี้ เราคงเห็นความแตกต่างระหว่างเทคนิคโยคะ ๒ ชนิด อาสนะกับปราณยามะ การฝึกอาสนะนั้น เป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจน ให้ประโยชน์กับผู้ฝึกในระดับหนึ่ง ส่วนการฝึกปราณยามะเป็นนามธรรม เรียนรู้ และฝึกได้ยากกว่า ปราณยามะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการพาผู้ฝึกไปสู่สมาธิ อันเป็นเป้าหมายแห่งโยคะ เมื่อเข้าใจดังนี้ ผู้ฝึกก็จะมีความพิถีพิถันในการฝึกเทคนิคโยคะทั้ง ๒ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
292
สิงหาคม 2546
ปราณยามะ (4) ในโลกนี้ ไม่มีใครหายใจผิดช่วงหลังนี้ ผมเริ่มสอนเรื่องลมหายใจ คำถามที่เจอทุกครั้งก็คือ "ดิฉัน/ผมหายใจผิด ทำอย่างไรดี" ก่อนที่บทความเรื่องปราณยามะนี้จะว่ายาวต่อไป ฉบับนี้ขออนุญาตทำความเข้าใจประเด็น "การหายใจผิด" เสียก่อน ในโยคะเบื้องต้นเวลาสอนการหายใจ ครูมักแนะนำให้นักเรียนรู้จักลมหายใจโดยอัตโนมัติของตนเอง การหายใจโดยอัตโนมัตินี้ ถ้าพูดตามทฤษฎี ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
291
กรกฎาคม 2546
ปราณยามะ (3) การควบคุมหายใจการหายใจด้วยทรวงอก คือ รูปแบบของการควบคุมลมหายใจ โดยมุ่งเน้นไปที่กล้ามเนื้อซี่โครง มุ่งเน้นไปที่การหายใจเข้าวิธีฝึก1.จัดเวลาสำหรับฝึกเป็นการเฉพาะ เช่น ช่วงเช้า หลังจากฝึกเทคนิคอาสนะ ช่วงบ่ายหลังอาหาร หรือช่วงเวลาก่อนนอน เป็นต้น2.นั่งในท่าอาสนะเพื่อสมาธิ ท่าไหนก็ได้ที่เราถนัด นั่งให้นิ่ง นั่งให้สงบ เฝ้าดูลมหายใจของเราไป ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
290
มิถุนายน 2546
ปราณยามะ (๒) สรีรวิทยาของการหายใจผู้ที่ได้ทำการบ้านมา ๑ เดือนแล้วก็จะเริ่ม "รู้จัก" ลมหายใจของตนเอง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ (ใครยังไม่ได้ทำ ให้ลองทำ ณ ขณะนี้เลย) ระบบหายใจของมนุษย์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ หมายความว่า ในหลายๆ ห้วงขณะที่เราไม่ได้ใส่ใจอยู่กับการหายใจ เช่น ตอนหลับ ตอนที่เราทำอะไรเพลินๆ จนไม่ได้คิดถึงลมหายใจก็สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเองในทำนองเดียวกัน ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
289
พฤษภาคม 2546
ปราณยามะ (๑)หมอชาวบ้านได้ลงบทความโยคะต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๔ ปีแล้ว และที่ผ่านมาเนื้อหาส่วนใหญ่จะเน้นที่เทคนิคอาสนะ ซึ่งเป็นเทคนิคเด่นมากของโยคะ (ขอย้ำว่าเทคนิคที่เด่น ไม่ได้แปลว่าเป็นเทคนิคที่สำคัญสูงสุด) หากแต่ฉบับนี้ไป ขอนำผู้อ่านไปพบเทคนิคใหม่ปราณยามะ หรือเทคนิคการควบคุมลมหายใจตำราแม่บทโยคะสูตร ระบุถึงปราณยามะ ว่าเป็นมรรคขั้นที่ ๔ ของวิถีโยคะโดยอาสนะ เป็นมรรคขั้นที่ ๓ ...