Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ » การใช้ขมิ้นชันในคนท้อง
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การใช้ขมิ้นชันในคนท้อง

โพสโดย l3aipat เมื่อ 18 พฤษภาคม 2553 13:39

 

คำถาม: อยากทราบว่าขมิ้นชันสามารถใช้ในคนท้องได้หรือไม่ ?  
หัวข้อในการสืบค้น: Curcuma Longa , ขมิ้นชัน     ประเภทคำถาม : Pregnancy / Lactation
การสืบค้น
วิธีสืบค้น : ใช้เอกสารและคอมพิวเตอร์         แหล่งข้อมูล : ใช้เอกสารตติยภูมิ (Tietiary Source)
                                                                   และเอกสารปฐมภูมิ (Primary Source) 
 
การเริ่มค้นหาคำตอบและคำตอบที่ได้ :
เริ่มจากการเปิดหนังสือ สมุนไพรไม้พื้นบ้านเล่มที่ 1 ก่อน โดยเปิดคำว่า ขมิ้นชัน จากในส่วนของสารบัญ มีคำตอบในข้อนี้ว่า1 สามารถใช้ขมิ้นชันในหญิงตั้งครรภ์ได้แต่ต้องระวังการใช้ แต่คิดว่าน่าจะมีข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มจึงได้ค้นหาใน Search engine ของ Google โดยพบว่ามีข้อมูลว่า2 ให้ระวังการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ในขนาดสูงๆ อาจเป็นอันตราย โดยทำให้เกิดการแท้งได้ โดยเฉพาะในระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูก โดย3 ขมิ้นชันมีคุณสมบัติในการขับลม แก้โรคกระเพาะ หากใช้รับประทานเป็นเครื่องเทศคงไม่มีผลข้างเคียง ประการใด แต่หากรับประทานในรูปของยาแคปซูลที่มีสารสกัดขมิ้นชันในปริมาณสูงถึง 250 - 500 มก./แคปซูน ซึ่งยังไม่มีรายงานการศึกษาขมิ้นชันในหญิงตั้งครรภ์ แต่โดยทั่วไปแล้วสมุนไพรส่วนมากจะมีข้อห้ามใช้ในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรเลือกที่จะไม่ใช้ในรูปแบบขมิ้นชันแคปซูล แต่ถ้าจะใช้ขมิ้นชันแคปซูนควรระวังการใช้ โดยให้ยาแคปซูลที่มีสารสกัดขมิ้นชันในขนาด 450 mg แบ่งให้ 2-3 ครั้ง/วันโดยถ้ามีขมิ้นชันผสมอยู่ในอาหารก็คงจะไม่เป็นอันตราย ดังนั้นอาจเลือกใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการขับลมตัวอื่นๆแทนได้ เช่น ขิง และตะไคร้ โดยดื่มเป็นน้ำต้มขิง หรือตะไคร้ หลังอาหารจะช่วยบรรเทาการแน่นท้องได้    
เอกสารอ้างอิง :
1.             นันทวัน บุณยะรประภัศร และคณะ: สมุนไพรไม้พื้นบ้านเล่มที่ 1:ขมิ้นชัน: สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: 378-379
2.             Available at: URL: http://www.pharm.chula.ac.th/ osotsala/otcproject/pu.html. Accessed January 5, 2008
1.             Available at: URL: http://drug.pharmacy.psu.ac.th/. Accessed January 5, 2008

 

  • อ่าน 25,479 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa