• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โรคน้ำในหู

โรคน้ำในหู

ผู้ถาม อมรรัตน์/กรุงเทพฯ
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาให้หายหรือไม่

ดิฉันอายุ ๒๙ ปี ทำงานบริษัท มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ คือ มีอาการมึนศีรษะ เวลาลุกขึ้นนั่งหรือยืนจะหน้ามืดเหมือนจะเป็นลม มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน เวลายืนเหมือนทรงตัวไม่อยู่ ศีรษะหนักเหมือนจะหงายหลังตลอดเวลา มีอาการไข้ต่ำๆตลอดช่วงเช้า จึงไปหาหมอ ทำให้ทราบว่าเป็นโรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน ดิฉันอยากเรียนถามคุณหมอเกี่ยวกับโรคนี้ให้้้มากขึ้น เพื่อดูแลรักษาตนเองได้ถูกต้้อง


ผู้ตอบ นพ.สาฑิตย์ ชัยประสิทธิกุล
โรคเมเนียส์ (Meniere's  disease) หรือที่ชาวบ้านคุ้นเคยในชื่อ "โรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน" บางทีก็เรียกสั้นๆ ทางพยาธิวิทยาว่า"โรคน้ำในหู" ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการเวียนศีรษะ มีการค้นพบโรคนี้มามากกว่า ๖๐ ปีแล้ว แต่่จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่ทราบกลไกที่่ชัดเจนว่าเหตุใดปริมาณของของเหลวในหูชั้นใน (endolymph) จึงเกิดมีมากกว่าปริมาณปกติขึ้นมาเป็นระยะๆ โดยในคนปกติจะมีปริมาณของเหลวในหูชั้นในเพียง ๐.๓ ลบ.ซล. คงที่ เพราะมีสมดุลของการผลิตของเหลวมากเกินไป หรือมีการขัดขวางการดูดซับของเหลวออกไป ทำให้ปริมาณของเหลวในหูชั้นในมีมากกว่าปกติที่เคยเป็น เกิดการโป่งพองของหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการต่างๆตามมา อาการเวียนศีรษะมักเป็นแบบรุนแรง มีความรู้สึกหมุนร่วมด้วย ถ้ามีการเคลื่อนที่ผู้ป่วยอาจจะทรงตัว ไม่อยู่เซล้มได้ง่าย ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ซึ่งถ้ามีการอาเจียน ก็อาจจะทำให้อ่อนเพลียกว่าเดิม การได้ยินในหูข้างที่เป็นจะลดลง ถ้าเข้าเครื่องตรวจการได้ยินจะ พบว่า เสียการได้ยินที่ระดับความถี่ต่ำ ทำให้หูอื้อ มีเสียงรบกวนในหู และรู้สึกแน่นตื้ออยู่ในหูข้างนั้นๆ ส่วนมากจะเป็นในหูข้างเดียว อาจจะเป็นเพียงไม่กี่นาทีหรือเป็นมากหลายชั่วโมงก็ได้ แต่ร้อยละ ๑๕ ที่พบได้ในหูทั้งสองข้าง อาการทั้งหมดจะเป็นๆ หายๆ แต่เมื่อเป็นบ่่อยขึ้น อาการหูอื้อจะมากขึ้นเช่นเดียวกับอาการเวียนศีรษะ อาการอาจเป็นอยู่ตลอด เมื่ออยู่ในระยะหลังของโรค การได้ยินจะแย่ลงมาก

การวินิจฉัยโรคเมเนียส์ ผู้ป่วยจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจซับซ้อนหลายชนิด เพื่่อแยกแยะโรคหรือภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การรักษาร่วมไปด้วย เช่น โรคซิฟิลิส โรคภูมิแพ้ โรคภูมิคุ้มกัน โรคคางทูม เบาหวาน ความดันเลือดสูง เป็นต้น การให้การรักษาทางยาในผู้ป่วยที่อาการยังไม่มากมักได้ผลดี ผู้ป่วยมักหายเวียนศีรษะและหูอื้อ การได้ยินฟื้นตัวดีขึ้น ในรายที่เกิดเวียนศีรษะกะทันหันต้องระมัดระวังอุบัติเหตุในการขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรกล การรักษาสุขภาพทั่วไปให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เครียด ลดละเลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์จะช่วยในการรักษาเป็นอย่างมาก ผู้ที่อาการมากหากรักษาทางยาเต็มที่แล้ว ยังควบคุมอาการเวียนศีรษะไม่ได้ อาจต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป