• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ลูกอัณฑะไม่ลงถุง ทำอย่างไรดี เป็นอันตรายหรือไม่ ควรขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศในเด็กหรือไม่

ลูกอัณฑะไม่ลงถุง ทำอย่างไรดี เป็นอันตรายหรือไม่ ควรขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศในเด็กหรือไม่

 วรรณพร/กรุงเทพฯ : ผู้ถาม
ดิฉันมีลูกชายอายุ ๙ ปี (จะอายุครบ ๙ ปีเต็มอีก ๔ เดือนข้างหน้านี้ค่ะ) สังเกตดูอวัยวะเพศของลูกไม่ค่อยโตขึ้นค่ะ ลองจับดูรู้สึกว่าลูกอัณฑะจะไม่ลงถุงอยู่ ๑ ลูก มีเพียงข้างเดียวเท่านั้น ไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างคะ ในอนาคตจะเกิดผลอย่างไรบ้าง ต้องผ่าตัดหรือไม่ ถ้า ต้องผ่าตัดควรทำตอนไหน อย่างไรที่ไหนคะ ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร
ไม่ทราบว่าตอนนี้เรื่องการขริบ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กมีข้อสรุปหรือยังคะว่าควรทำหรือไม่ควรทำอย่างไร
รบกวนคุณหมอช่วยแนะนำด้วยค่ะว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ถ้าคุณหมอคิดว่าขริบแล้วดีกว่า ตอนส่งลูกเข้ารับการรักษาเรื่องลูกอัณฑะ ดิฉันจะได้ให้คุณหมอช่วยทำการขริบ ไปพร้อมกันเลยค่ะ (ถ้าทำได้)

นพ.สมเกียรติ ธาตรีธร : ผู้ตอบ
ลูกอัณฑะเดิมเป็นอวัยวะในช่องท้อง แต่ภายใต้อุณหภูมิร่างกาย (๓๗ องศาเซลเซียส) นั้น ไม่สามารถผลิต ตัวอสุจิได้ จึงต้องเคลื่อนตัวลงมายังถุงอัณฑะผ่านมาตามขาหนีบทั้ง ๒ ข้าง หากการเคลื่อนตัวนั้นหยุดลง จะเกิด ภาวะที่คลำลูกอัณฑะไม่ได้ อาจเกิดข้าง เดียว หรือ ๒ ข้างก็ได้ มักเป็นข้างขวา ข้างเดียว ส่วนใหญ่จะค้างอยู่บริเวณ ขาหนีบ หลังคลอดแล้วลูกอัณฑะยัง อาจเคลื่อนตัวลงถุงได้เองภายใน ๒ ปี แต่ต้องไปพบแพทย์เป็นระยะตามที่นัด

แพทย์มักทำการผ่าตัดเพื่อดึง ลูกอัณฑะลงมาเมื่อเด็กอายุ ๒-๔ ปี ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดภายในอายุ ๕ ปี ลูกอัณฑะที่ค้างมักไม่สามารถสร้างอสุจิได้ เนื่องจากอยู่ในที่อุณหภูมิ สูงนานเกินไป แต่ถ้าตรวจพบว่าหลัง ๕ ปี แต่ไม่เกิน ๑๐ ปี แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดดึงลงถุงอัณฑะ ให้ หรืออาจแนะนำให้ตัดทิ้งไปก็ได้

ในกรณีตรวจพบเมื่ออายุเกิน๑๐ ปี มักต้องตัดทิ้งทุกราย เพราะเก็บไว้จะมีโทษมากกว่า เช่น มีอาการเจ็บปวดจากแรงกดของผนังหน้าท้อง โดยเฉพาะเมื่อมีแรงกดหรือกระแทก บริเวณขาหนีบจะเจ็บปวดมาก โดย เฉพาะอาจเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้ แม้ จะพบไม่มาก

ลูกของคุณขณะนี้อายุ ๙ ปี ไม่ ทราบว่าทราบมาก่อนแล้วไม่ได้รักษา หรือเพิ่งตรวจพบ ควรพาไปพบกุมารศัลยแพทย์ (หมอผ่าตัดเด็ก) โดยทันที เพื่อให้ตรวจโดยละเอียดและรับคำแนะนำ ที่แน่นอนคือต้องรับการ ผ่าตัดแน่ๆ ถ้าแพทย์เห็นควรให้ตัดทิ้ง ก็ไม่ต้องเสียดาย เนื่องจากมีลูกอัณฑะ ข้างเดียวในอนาคตก็ยังสามารถมีลูก ได้ ถ้ารักษาสุขภาพให้แข็งแรง

ในเรื่องค่าใช้จ่าย ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการรักษา ๓๐ บาท คุณสามารถใช้บริการตามโครงการนี้ได้โดยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่กำหนดไว้ หากโรงพยาบาลดังกล่าว ไม่มีกุมารศัลยแพทย์ จะได้รับการส่งต่อจนได้รับการผ่าตัดรักษา
การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศนั้น มีข้อสรุปแล้วว่าไม่จำเป็นต้อง ทำทุกราย โดยเฉพาะในเด็กที่สามารถ รูดหนังให้เปิดทำความสะอาดได้ ไม่มี ภาวะปัสสาวะลำบากจากหนังหุ้มปลาย ที่ยาวเกินไปหรือตีบแคบ และไม่มีการอักเสบติดเชื้อ แต่ถ้าลูกคุณรู้สึก เจ็บเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือเคยมีภาวะ บวมแดงปัสสาวะไม่ค่อยออก อาจถึง มีหนอง หรือเมื่อโตพอสมควรแล้วดัง ที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่ไม่สามารถรูดทำ ความสะอาดได้ บางครั้งคลำพบสิ่งหมักหมมใต้หนังหุ้มปลายได้เป็นก้อน (Smegma = ขี้เปียก) แต่รูดล้างออก ไม่ได้ จึงสมควรขริบหนังหุ้มปลาย การผ่าตัดใดๆ นั้น จะพิจารณาจาก ผู้ป่วยเป็นรายๆ ไปว่า มีข้อบ่งชี้ว่าควรผ่าตัดไม่มีข้อห้าม และผ่าตัดแล้วได้ประโยชน์มากกว่าแพทย์จึงจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด

ข้อควรระวังอย่างยิ่งในการรูด หนังเพื่อทำความสะอาดคือ ต้องรูดกลับไปปิดเหมือนเดิมเสมอ มิฉะนั้น หนังส่วนปลายซึ่งแคบกว่าอาจจะรัด ส่วนคอดจนปลายอวัยวะเพศบวมและขาดเลือดจนถึงเนื้อตายได้