• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปวดหลังมากรักษาอย่างไรดี

ปวดหลังมากรักษาอย่างไรดี

 พัฒนะ/สมุทรปราการ : ผู้ถาม
ขณะนี้ผมอายุ ๓๘ ปี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมเปลี่ยนน้ำตู้ปลาโดยใช้สายยางถ่ายน้ำลงถังใบใหญ่ แล้วนำไปทิ้ง ตอนทิ้งผมใช้วิธีสาด น้ำออกไปในสวนหลังบ้าน อาจจะสาดแรงไป ผมรู้สึกปวดหลังร้าวไปตลอด จนต้องนอนลงกับพื้น ผมไปหาหมอได้ยาคลายกล้ามเนื้อมากิน และทาบริเวณกล้ามเนื้อด้วยอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ตอนนี้ผ่านมา๕ วันแล้วครับ ยังมีอาการปวดหลังอยู่ ยืดตัวตรงยังไม่ค่อยได้ ผมควรจะรักษาด้วยวิธีไหนต่อไปดีครับ ทำกายภาพบำบัด กดจุด ฝังเข็ม หรือ รักษาทางยาต่อไปดีครับ
 

นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ : ผู้ตอบ
อาการที่คุณเล่ามา อาจเกิด จากกล้ามเนื้อยอก (muscle strain) บางรายอาจมีหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วย

อาการกล้ามเนื้อยอก กล้าม เนื้อส่วนที่ยอกมักมีอาการเกร็งตัว เวลาคลำตามกล้ามเนื้อจะรู้สึกตึงตัวหรือเกร็งมากกว่าปกติ เวลา เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะไม่สะดวก
ส่วนอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน จะมีอาการคล้ายกัน แต่อาจมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่น มีอาการปวดร้าวจากสะโพกลงไป ที่ขา เวลานั่งหรือยืนก้มหลังจะรู้สึก ปวดมากขึ้น
การรักษาอาการทั้ง ๒ อย่าง ที่ดีคือ นอนพัก ควรนอนพัก ๑-๒ วัน ถ้าอาการดีขึ้นก็ค่อยๆ ปรับ สภาพร่างกายมาปฏิบัติกิจวัตรตาม ปกติ ในระหว่างนี้อาจกินยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย หากยังไม่หาย ถ้ามีโอกาสถามแพทย์อาจได้รับการวินิจฉัยที่ชัดเจน รวม ทั้งวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษาทางกายภาพบำบัด ในช่วงแรกที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว ควร บริหารกล้ามเนื้อเพื่อยืดกล้ามเนื้อ ที่เกร็งเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว นักกายภาพบำบัดอาจใช้วิธีการนวด หรือใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น เครื่อง คลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมด้วย การกดจุด ฝังเข็ม การใช้ยา ก็มีวัตถุประสงค์ เดียวกัน

สิ่งที่สำคัญคือ การป้องกันไม่ให้เกิดอาการขึ้นอีก คือ การรักษา ร่างกายให้แข็งแรง การบริหารเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้าท้อง รวมทั้งการระมัดระวังในการทำงาน เช่น การยกของหนักในท่าที่ต้องก้มหลัง  ควรใช้วิธีการย่อเข่าแทน การเอี้ยว หลังอย่างแรงและเร็ว ควรเคลื่อนตัวโดยใช้กำลังเท้ามากกว่าการเอี้ยวหลัง เป็นต้น (ดูรูปประกอบ)ไม่ควรใช้วิธีเอี้ยวหลังแต่ควรให้หลังอยู่กับที่ คือส่วนหน้าอกและสะโพกเคลื่อนไปพร้อมกัน โดยการก้าวเท้า