• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปวดบริเวณขากรรไกร

- ปวีณา/นครราชสีมา : ผู้ถาม
ดิฉันอายุ 24 ปี ส่วนสูง 155เซนติเมตร น้ำหนัก 48 กิโลกรัม ดิฉันมีอาการปวดที่บริเวณขากรรไกร ข้างขวามาประมาณ 3 ปีแล้ว ปวดมากโดยเฉพาะเวลาเคี้ยวอาหารและเวลาพูด บางครั้งหากกดที่ขากรรไกรล่างด้านขวาจะเจ็บและเริ่มมีอาการปวดมาก ซึ่งจะลามไปถึงปวดหัว ต้นคอ และไหล่ด้านขวาทั้งหมด
ดิฉันเคยไปตรวจรับการรักษาอยู่เป็นประจำ และคุณหมอก็เอกซเรย์ ที่บริเวณขากรรไกร ผลก็ปกติดี คุณหมอจัดยาให้กินอยู่ 2 เดือน อาการก็ไม่ดีขึ้น ดิฉันจึงไปพบทันตแพทย์หมอแนะนำให้จัดฟัน เพราะฟันซี่หน้าซี่หนึ่งเก

ตอนนี้จัดฟันมาเป็นเวลา 3 ปี แล้ว แต่อาการก็ยังไม่หายดี ดิฉันมีปัญหาและมีความกังวลใจ
รบกวนถามคุณหมอว่า
1. โรคนี้เกิดจากสาเหตุอะไรคะ
2. การรักษาด้วยวิธีการจัดฟัน จะสามารถทำให้หายจากอาการปวด ขากรรไกรหรือไม่
3. ดิฉันเป็นคนที่ไม่ค่อยแข็งแรง เคยกินยาแก้อักเสบมาก ทำให้ฟันไม่ค่อยขาว ไม่ทราบว่ายาแก้อักเสบจะมีผลต่อกระดูกขากรรไกรหรือไม่
4. ดิฉันอยากขอคำแนะนำว่า ควรกินอาหารประเภทใดเพื่อบำรุงฟันให้แข็งแรงมากขึ้น
5. การที่ดิฉันเป็นคนเครียดง่าย คิดมาก นอนไม่ค่อยหลับ ไม่ทราบว่าจะมีผลต่อโรคนี้หรือไม่คะ

- ทพ.ไพทูรย์ สุริยะวงศ์ไพศาล : ผู้ตอบ
1. สาเหตุของอาการปวดขากรรไกร ซึ่งมีการปวดลามไปถึงศีรษะ คอ และไหล่ด้วยนั้น เป็นผลมาจาก แรงกดบนข้อต่อกระดูกขากรรไกร ทำนองเดียวกับการกดทับของกระดูก ข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลังที่สามารถมีอาการลุกลามไปที่แขน ขา ไหล่ และศีรษะได้ เนื่องจากเส้นประสาทนั้นเชื่อมต่อถึงกัน

สำหรับปัญหาของคุณนี้มีสาเหตุมาจากการสบฟันที่ผิดปกติ ร่วมกับตำแหน่งของปลายกระดูกขากรรไกรล่างที่อยู่ชิดกับกระดูกขากรรไกรบนนั้นอยู่ไม่ถูกที่ คือมีการเลื่อนขึ้นไปกดหมอนรองกระดูกบริเวณข้อต่อเช่นดังภาพ
 
                                                      

ดังนั้นเมื่อคุณบดเคี้ยวอาหารหรือกัดฟันก็จะทำให้เกิดแรงกดไปที่หมอนรองกระดูกทำให้ปวด
2. การจัดฟันสามารถแก้ปัญหาได้ หากสามารถปรับตำแหน่งของปลายกระดูกขากรรไกรใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน หลากหลายวิธี ไม่สามารถอธิบาย ณ ที่นี้ได้
3. ยาแก้อักเสบ ไม่มีผลต่อกระดูกขากรรไกรมากตามที่คุณคิดแต่การไม่กินยาแก้อักเสบบ่อยๆ ก็ย่อมจะดีกว่า
4. อาหารบำรุงฟันโดยตรงนั้นไม่มี เพราะเมื่อฟันงอกขึ้นมาแล้ว ก็หยุดการสร้างเสริมอะไรอีก ไม่เหมือน ตอนเด็กๆ ที่ฟันยังไม่โตเต็มที่ สามารถดื่มนมหรือกินฟลูออไรด์ไปบำรุงได้คุณควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีก เลี่ยงอาหารหวานและแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้ออีกต่างหากก็พอ
5. การเป็นคนเครียดง่ายย่อม มีผลต่อทุกๆโรค หรือแม้แต่คนปกติ ถ้าเครียดนานๆ ก็อาจเป็นโรคได้ เช่น โรคกระเพาะ ความดันเลือดสูง ท้องเสีย เป็นต้น จึงควรฝึกปล่อยวางใจอยู่เสมอ ไม่จริงจังกับปัญหาหรือความขัดแย้งต่างๆ มากเกินไป
 
หมอเองก็เคยเครียดง่ายเหมือนคุณ แต่ได้หาทางออกสำเร็จแล้ว จึงพบว่า การหลุดจากความเครียดนั้น เบาสบายมาก ทำให้มีพลังไปทำประโยชน์แก่สังคมได้ไม่น้อย ถ้าคุณสามารถเล่นอินเตอร์เน็ต หมออยากแนะนำให้เข้าไปค้นหาวิธีหลุดจากความเครียดที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตมากมาย หรือในหมอชาวบ้านฉบับนี้ก็มีหน้า 24 หรือหน้า 60 คุณจะได้ข้อมูลที่เพียงพอและไม่เสียสตางค์อะไรเพิ่มเติม