• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

108 ปัญหายา


ทุกอย่างย่อมมีทั้งด้านดีและด้านเสีย การทำความเข้าใจทั้งสองด้านย่อมทำให้สามารถแก้ไขและป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ได้ทันท่วงที ยาก็เช่นเดียวกัน หากเรารู้แต่ด้านดี โดยไม่รู้ด้านเสีย (ด้านอันตราย) ย่อมเกิดโทษมากกว่าคุณ

หากท่านผู้อ่านต้องการถามปัญหาเรื่องยาผ่านคอลัมน์นี้ โปรดวงเล็บมุมซอง "108 ปัญหายา" ทางนิตยาสารจะทยอยนำคำตอบข้อสงสัยของท่านลางตีพิมพ์ในหน้านี้

ผมมีปัญหาใคร่จะเรียนถามคุณหมอ
ผมสนใจวงการสาธารณสุข ปัญหาเกี่ยวกับการกินดีมีสุข พ้นจากโรคภัย ขอถามเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ยาที่มีชื่อว่า โซเดียมไบคาร์บอร์เนต มีสรรพคุณและฤทธิ์ข้างเคียงอย่างไรบ้าง เนื่องจากห้าของผมไปให้หมอในเมืองตรวจดู เพราะมีอาการผื่นคัน ใจสั่น แน่นหน้าอก เป็นเพราะฤทธิ์ของยานี้หรือเปล่าครับ
2. ผมเป็นประจำตัว มีอาการแพ้ ผื่นคันมาก ไปฉีดยาที่ชื่อว่า แคลเซียมกลูโคเนต ผมมีอาการร้อนไปทั้งตัว เป็นเพราะอะไร มีอันตรายไหมครับ อยากทราบสรรพคุณของตัวยานี้ด้วยครับ
3. แถบหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของผม มีงูชุมมาก เมื่อถูกงูกัดควรปฏิบัติอย่างไร การฉีดเซรุ่มเขาฉีดกันอย่างไร
4. ยาที่ชื่อ Nicotinic กับ Encephabol ใช้ในกรณีอย่างไร
5. การฉีดยาสุนัขบ้าในตัวสุนัข เขาฉีดกันที่อวัยวะส่วนไหนของสุนัข ในวัคซีนชื่ออะไร ใช้ฉีดครั้งละประมาณกี่ ซี.ซี
ปฏิธาน/สุรินทร์

ตอบ
1. ยาดังกล่าวเป็นยาฉีดเข้าเส้นเพื่อแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งพบในผู้ป่วยหนักเท่านั้น เช่น ผู้ป่วยท้องเดินรุนแรงจนมีภาวะช็อค เหงื่อออกตัวเย็น หน้ามืด กระสับกระส่าย โดยปกติแล้วไม่ได้ใช้กับอาการอย่างอื่นเลย

อันตรายที่สำคัญ คือ
ถ้าใช้ขนาดมากไป อาจทะให้ถึงตายได้ ดังนั้น การใช้ยานี้ จึงต้องสั่งโดยแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เท่านั้น

ส่วนอาการต่างๆ ของคุณป้า คงไม่ได้เกิดจากฤทธิ์ยาตัวนี้
2. ยาตัวนี้ชาวบ้านรู้จักกันดี และเรียกว่า "ยาแคลเซียม" นิยมใช้ฉีดกันอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะเข้าใจว่าเป็นยาแรง คือ ฉีดแล้วทำให้รู้สึกร้อนซู่ซ่าไปทั้งตัว

ความจริงยานี้มีประโยชน์เฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรค โรคขาดแคลเซียมในเลือด (ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ) เท่านั้น ซึ่งจะมีอาการมือจีบเกร็ง หรือเป็นตะคริว ในบ้านเราคนที่มีโอกาสเป็นโรคนนี้มีน้อยมาก

ส่วนอาการอื่นๆ รวมทั้ง อาการแพ้ ผื่นคัน ที่คุณเป็นอยู่นั้น การใช้ยานี้ไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด นอกจากจะเสียเงินเปล่าๆ แล้ว ยังอาจมีอันตรายถึงตายคาเข็มได้
จึงขอฝากให้ช่วยกันแก้ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับยานี้ด้วย

3. ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกงูกัดคือ
- อย่าให้ดื่มสุรา พยายามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้โลหิตหมุนเวียนเร็ว
- อย่าใช้ไฟหรือเหล็กร้อนจี้แผล
- อย่างกรีดแผล การกรีดต้องกระทำโดยผู้เข้าใจวิธีการเท่านั้น
- ใช้เชือกหรือสายยางรัดระหว่างแผลกับหัวใจ รัดแน่นพอควร และคลายออกทุกๆ 15 นาที คลายสิ่งที่รัดสัก 1 นาทีก็พอ รีบนำส่งแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

สำหรับการฉีดเซรุ่ม ขั้นแรกแพทย์จะวินิจฉัยว่าโดยงูอะไรกัด โดยดูจากตัวงู หรือรอยเขี้ยว หรือคำบอกเล่าของผู้นำคนไข้มาส่ง ประกอบกับดูจากอาการของผู้ป่วย ต่อไปแพทย์จะให้การรักษาด้วยยาก่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้น จึงเลือกเซรุ่มให้ตรงกับชนิดของงูที่กัด แล้วฉีดเซรุ่มเข้าเส้นเลือดหรือเข้าหน้าท้องหรือตะโพก ครั้งแรกฉีดประมาณ 10-30 มล. คอยสังเกตอาการ ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ซ้ำทุก 15 นาที ครั้งละ 10 มล. จนการหายใจดีขึ้น ก็ยืดระยะเวลาฉีดเป็นทุก ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงจนเห็นว่าอาการต่างๆ ปกติดี

4. Nicotnic acid เป็นวิตามินบี ตัวหนึ่ง อาจเรียกบี 3 ก็ได้ ใช้เพื่อทำให้ประสาทสงบ
Encephabol เป็นยาที่ใช้หลังจากสมองได้รับความกระทบกระเทือน
ยาทั้งสองชนิดนี้ควรใช้เมื่อแพทย์สั่ง

5. ฉีดที่ขาหลังของสุนัข ฉีดเข้ากล้าม วัคซีนมีหลายยี่ห้อ ซื้อได้ที่ร้านของสัตว์แพทย์ ราคาเข็มละประมาณ 50 บาท (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบางแห่งอาจมีวัคซีนขายให้ในราคา 15 บาท) ฉีดครั้งละ 1 ซี.ซี.

เภสัชกรหญิง แน่งน้อง ศิตลักษณ์