Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ความผิดปกติหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ความผิดปกติหลังมีเพศสัมพันธ์

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2550 00:00

ถาม ผู้ป่วยมีอาการตกขาวน้ำใสๆ ไหลออกมา ไม่มีกลิ่น ไม่คัน ปวดหน่วงๆ ที่หัวหน่าว เป็นบ่อยๆ หลังมีเพศสัมพันธ์ ขอถามว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติที่อวัยวะใด ควรจ่ายยาหรือไม่ และแนะนำการรักษาอย่างไร

หมอปราณี

ตอบ ตกขาวแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ตกขาวปกติ (physiologic leukorrhea) และตกขาวที่มีพยาธิสภาพ (pathologic leukorrhea) ซึ่งแยกจากกันโดย ลักษณะตกขาว, ช่วงเวลาที่ตกขาว และอาการร่วม ตกขาวปกติเป็นน้ำหล่อลื่นของช่องคลอด และปากมดลูก จะมีสีขาวหรือขาวปนเหลืองอ่อน อาจเป็นมูกได้ มีมากช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน หรือช่วงกึ่งกลางรอบเดือน ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีอาการผิดปกติร่วมด้วย ในแต่ละช่วงของชีวิตจะมีตกขาวชนิดนี้มากน้อยต่างกัน และในผู้หญิงแต่ละคนก็มีตกขาวปกติมากน้อยต่างกัน ส่วนตกขาวที่มีพยาธิสภาพอาจเกิดได้จากเนื้องอก มะเร็ง หรือการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี โดยมีลักษณะตกขาวมีเลือดปน หรือเขียวเป็นหนอง หรือขาวเป็นแผ่น กลิ่นเหม็น มีอาการคันมาก ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย หรือเป็นไข้ร่วมด้วย ตกขาวชนิดหลังนี้จะต้องได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้อง และให้การดูแลรักษาไปตามนั้น

สำหรับกรณีคำถาม ลักษณะทางกายภาพของตกขาวซึ่งใส ไม่มีกลิ่น และไม่มีอาการคัน ไม่บ่งไปในทางมีพยาธิสภาพ อย่างไรก็ตาม ควรถามประวัติเพิ่มเติมอื่น เช่น เป็นมานานเท่าไหร่ เป็นทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ สามีมีอาการผิดปกติหรือเปล่า ใช้ถุงยางอนามัยหรือเปล่า (อาจมีแพ้ condom) แล้วก็ตรวจหน้าท้อง ตรวจภายในอย่างละเอียดว่าพบความผิดปกติใดหรือไม่ ควรทำ wet smear และ pap smear เสมอ เท่านี้คงได้คำตอบที่ชัดเจนแล้วว่า มีความผิดปกติใดหรือไม่ และจะให้การดูแลรักษาอย่างไรต่อไป (ตามการวินิจฉัย) หากพบว่าเป็นตกขาวปกติ ควรให้การ reassure สำหรับตกขาวใสๆ ออกมากกรณีที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยอาจเป็น semen ก็ได้

สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ พ.บ.
รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


อาการคันจากผิวแห้ง
ถาม ผู้หญิงอายุ 58 ปี มีประวัติฉีด triamcinolone 40 มก. เพื่อบรรเทาอาการคันตามตัวโดยไม่รู้สาเหตุ (เข้าใจว่า mainly คงมาจากผิวหนัง) ผู้ป่วย บอกต้องฉีดยาทุกเดือน ถ้าไม่ฉีดจะคันมาก ผู้ป่วยลองใช้ยาครีมทาแก้ผิวแห้งทุกอย่าง แล้วไม่ได้ผล จะมีวิธีรักษาผู้ป่วยรายนี้อย่างไร

สมาชิก

ตอบ อาการคันจากผิวแห้งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเกิดจากสภาพผิวที่มีความชุ่มชื้นลดลงจากปัจจัยทางฮอร์โมน โดยทั่วไปการทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังจะช่วยบรรเทาอาการคันได้
การใช้ triamcinolone ฉีดรักษาอาการคันติดต่อกันเป็นเวลานานต้องระวังผลข้างเคียงจากยา เช่น ทำให้ผิวบางลง เกิด telangiectasia, hypopigmentation, striae, steroid acne และที่อันตรายที่สุดคือ หากฉีดเข้าร่างกายมากกว่า 20 มก./เดือน จะสามารถกด HPA (hypothalamic-pituitary-adrenal) axisได้1-2

ในผู้ป่วยรายนี้มีประวัติทาครีมแก้ผิวแห้งทุกอย่างแล้วไม่ได้ผล จึงควรหาสาเหตุเบื้องต้นของการทายาแล้วไม่ได้ผลก่อน เช่น ปริมาณที่ทาเพียงพอหรือไม่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการทายาคือ หลังอาบน้ำทันที ไม่เกิน 5 นาที หากทำถูกต้องแล้ว อาจเปลี่ยนรูปแบบของครีมมาเป็นสารพวกขี้ผึ้งหรือน้ำมันแทน เพราะมีคุณสมบัติป้องกันการสูญเสียของ น้ำในผิวหนังได้ดีกว่า3 นอกจากนี้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการคันได้ง่าย เช่น การอาบน้ำบ่อย อาบน้ำอุ่น หรืออยู่ในห้องปรับอากาศเป็นเวลานาน และต้องมองหาสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการคันร่วมด้วย เช่น โรคประจำตัวของผู้ป่วย การใช้ยาบางชนิด เป็นต้น ถ้าแก้ไขทุกอย่างแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ผู้ป่วยพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของอาการคันต่อไป4

เอกสารอ้างอิง
1. Baxter JD. Advances in glucocorticoids therapy. Adv Intern Med 2000;45:317.
2. Williams LC, Nesbitt LT Jr. Update on systemic glucocorticosteroids in dermatology. Dermatol Clin 2001;19:63.
3. Leslie Bauman. Moisturizerizing agents. In : Leslie Bauman. Cosmetic dermatology : Principles and practice. United states of America : McGraw-Hill, 2002:93-6.
4. Malcolm W. Greaves. Pathophysiology and clinical aspects of pruritus. In : Freedberg IM, Eisen AZ, Wolff K, Austen KF, Godlsmith LA, Katz SI, eds. Dermatology in general medicine. 6th ed. New York : McGraw-Hill Book Company, 2003:1332.

ณัฏฐา รัชตะนาวิน พ.บ.
หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • โรคผิวหนัง
  • คุยสุขภาพ
  • ปัญหาวิชาการ
  • คันจากผิวแห้ง
  • พญ.ณัฏฐา รัชตะนาวิน
  • รศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์
  • ศ.พญ.สุรางค์ เจียมจรรยา
  • อ่าน 77,249 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa