Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ปริศนาคลินิก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปริศนาคลินิก

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มีนาคม 2551 00:00

"ภาพหนึ่งภาพอาจมีความหมายมากกว่าอักษรนับร้อยนับพันคำ การเรียนรู้จากภาพจริงเกี่ยวกับผู้ป่วย คือที่มาของ "ปริศนาคลินิก" ซึ่งบรรจุเนื้อหาอันเป็นปริศนาที่เลือกสรรอย่างบรรจงจากวิทยากรเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน"

จิโรจ สินธวานนท์ พ.บ.
ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

รายที่ 1
ชายไทยคู่ อายุ 65 ปี ภูมิลำเนาจังหวัดนนทบุรี สังเกตพบผื่นแดงคันหนาๆ 2 ตำแหน่ง ที่ฝ่ามือขวา (ภาพที่ 1) มา 1 ปี ทายาดีขึ้นบ้าง บางครั้งมีหนองซึมร่วมกับอาการเจ็บซึ่งตอบสนองต่อการรักษาบ้าง แต่เป็นผื่นตลอดไม่หาย. ในอดีตผู้ป่วยกินยาหม้อในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นเพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน. ผู้ป่วย เคยมารักษาที่สถาบันโรคผิวหนังด้วยโรคมะเร็งผิวหนังชนิด Squamous cell carcinoma ที่ไหล่ซ้าย เมื่อ 4 ปีก่อนจนหายดี. ปัจจุบันผู้ป่วยไม่ได้ทำงานประจำใดๆ ชอบอ่านหนังสือและอยู่ในร่มเป็นส่วนใหญ่

                                                      
                           ภาพที่ 1. ผื่นแดงคันหนาๆ 2 ตำแหน่งที่ฝ่ามือขวาของผู้ป่วยรายที่ 1

คำถาม
1. จงให้การวินิจฉัยโรค.
2. จงให้การวินิจฉัยแยกโรค.
3. ควรตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมอะไรบ้าง.
4. จงให้การรักษา.

วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์ พ.บ.
กลุ่มงานไบโอเอ็นจิเนียริ่ง สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

รายที่ 2
ชายอายุ 23 ปี มีเม็ดตุ่มเล็กๆ กลม สีขาว อมเหลือง ขนาดประมาณ 1 มม. ที่เยื่อบุกระพุงแก้ม (ภาพที่ 2) เป็นมา 10 กว่าปี เริ่มสังเกตเห็นเมื่อ ย่างเข้าสู่วัยรุ่น ไม่มีอาการผิดปกติอื่น.
 

                                                       
                                  ภาพที่ 2. เม็ดตุ่มเล็กๆ ที่เยื่อบุกระพุ้งแก้มของผู้ป่วยรายที่ 2.

คำถาม
1. จงให้การวินิจฉัยโรค.
2. จงให้การรักษา.

เจริญพิน เจนจิตรานันท์ พ.บ.
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรังสีวิทยา

รายที่ 3
หญิงไทยคู่อายุ 45 ปี ขาดประจำเดือนประมาณ 1 เดือนครึ่ง. ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องและมีเลือดออกทางช่องคลอด. การตรวจปัสสาวะพบหลักฐานบ่งชี้การตั้งครรภ์. การตรวจภาพถ่ายทางรังสีปรากฏดังภาพที่ 3.

               
                                                ภาพที่ 3. ภาพถ่ายทางรังสีของผู้ป่วยรายที่ 3.

คำถาม

1. วิธีการตรวจคืออะไร.
2. จงบอกความผิดปกติที่เห็น.
3. จงให้การวินิจฉัยโรค.

เฉลยปริศนาคลินิก

รายที่ 1
1. การวินิจฉัยคือ Bowen's disease (BD) ซึ่งเป็น Squamous cell carcinoma (SCC) in situ อาจพบได้ทั้งที่ผิวหนังและผิวเยื่อบุต่างๆ และสามารถกลายเป็น invasive SCC ได้ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 5 และในกลุ่มที่เป็น invasive SCC จะพบการกระจายตัวได้ 1 ใน 3. โรคนี้พบได้ในผู้หญิง มากกว่าผู้ชายเล็กน้อย พบได้ทุกส่วนของร่างกายทั้งบริเวณที่ถูกแสงแดดและในร่มผ้า. ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคคือ 1. การถูกแสงแดด 2. การได้รับสารหนู (arsenic) 3. Ionizing radiation 4. Immunosuppression 5. การติดเชื้อ HPV บางสายพันธุ์ เช่น HPV16. นอกจากนั้นยังอาจมีปัจจัยจากการรักษา เช่น การรักษาด้วย PUVA, การได้รับยากดภูมิต้านทานร่างกาย จากการปลูกถ่ายอวัยวะ. ลักษณะรอยโรคจะเป็น discrete, slowly enlarging, pink to erythematous, thin plaque with well demarcated, irregular borders and overlying scale or crust ผื่นอาจมีลักษณะหนาหรือเป็นผื่นสีคล้ำได้ อาจพบหลายตำแหน่งพร้อมๆ กันได้.

2. การวินิจฉัยแยกโรค เนื่องจาก BD มีลักษณะคล้ายรอยโรคหลายโรคจึงต้องแยกจาก superficial BCC, patch of dermatitis, psoriasis or lichen planus, actinic keratosis, benign lichenoid keratosis, irritated seborrheic keratosis, amelanotic melanoma, melanoma, viral wart, SCC, Paget's disease.

3. การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาจะสามารถช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคได้.

4. การรักษา สามารถทำได้หลายวิธี คือ excision, Mohs micrographic surgery, electrodesiccation and curettage, cryosurgery, topical chemotherapy with 5-FU, topical immune response modifier เช่น imiquimod , laser therapy, radiotherapy, photodynamic therapy (PDT).

การรักษาแต่ละชนิดมีอัตราการหายแตกต่างกันและมีข้อดีข้อด้อยในการพิจารณาใช้ที่แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย หรือรอยโรคแต่ละตำแหน่ง จึงต้องพิจารณาใช้การรักษาเป็นแต่ละกรณีไป แม้เมื่อรักษาแล้วก็อาจเกิดเป็นซ้ำอีกได้จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการภายหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง.

รายที่ 2
1. ผู้ป่วยเป็น Fordyce's disease หรือ Fordyce's disease หรือ ectopic sebaceous glands เป็นต่อมไขมันใต้เยื่อบุ พบบริเวณเยื่อบุช่องปาก ริมฝีปาก หรือที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของสตรี อาจพบเป็นเม็ดเดี่ยวๆ หรืออยู่รวมกัน ถือว่าเป็น normal variation ที่พบบ่อยในประชากรทั่วไป (พบประมาณร้อยละ 70-80 ของผู้ใหญ่) จะพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามอายุ ไม่จำเป็นต้องรักษา.
2. การรักษาเป็นเรื่องของความสวยงาม ใช้ CO2 laser ให้ผลการรักษาดีไม่มีแผลเป็น.

เอกสารอ้างอิง
1. Luker J. Diseases of the oral mucosa and tongue. In : Harper J, Oranje A, Prose N, eds. Textbook of pediatric dermatology. Vol II. 2nd ed. Massachusetts : Blackwell Publishing, 2006:1734.

รายที่ 3
1. Ultrasonogram ของมดลูกผ่านทางช่องคลอด.
2. ปรากฏเงาคล้ายถุงน้ำในโพรงมดลูกขนาด 1 ซม. คำนวณเข้าได้กับการตั้งครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์ 4 วัน ไม่ปรากฏเงาคล้ายตัวเด็กหรือจุดการตั้งครรภ์ ที่จะเจริญไปเป็นตัวเด็ก.
3. Blighted ovum ส่อการตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวเด็ก. วินิจฉัยแยกโรคคือ ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีตัวเด็ก อาจตรวจ ultrasonogram ซ้ำอีก 7-14 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย.

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ปริศนาคลินิก
  • นพ.จิโรจ สินธวานนท์
  • พญ.วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์
  • พญ.เจริญพิน เจนจิตรานันท์
  • อ่าน 6,241 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa