ถาม ควรให้ยาอะไรในการลด heart rate ผู้ป่วย CAD (coronary artery disease) ที่มีประวัติ COPD หอบเหนื่อยไม่บ่อย แต่กินยา Theodur® 1x2 ทุกวัน และกรณีที่มีหอบนานๆ ครั้ง ใช้ Berodual? MDI prn.
สมาชิก clinic
ตอบ ขอตอบคำถามดังนี้
1. แนะนำว่าควรหาทางหยุด Theodur® และใช้ยาพ่นแทน แล้วดูว่า heart rate ช้าลงหรือไม่.
2. ถ้ามีสาเหตุที่หยุด Theodur® ไม่ได้จริงๆ อาจใช้ยากลุ่ม non-dihydropyridine group calcium channel blocker เช่น verapamil หรือ diltiazem เพื่อลด heart rate โดยไม่มีผลต่อ COPD.
ภาวิทย์ เพียรวิจิตร พ.บ.
หน่วยโรคหัวใจ
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
Colchicine กับการรักษาโรคหืด
ถาม ปัจจุบันมีการใช้ colchicines ในการ รักษาโรคหืดหรือไม่.
สมาชิก
ตอบ Colchicine ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำให้ใช้ในการรักษาโรคหืด (asthma) โดยข้อมูลล่าสุด Global initiative for asthma (GINA)1 ได้จัดทำแนวทางการรักษาโรคหืดสำหรับใช้ทั่วโลก ซึ่งได้ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ก็ไม่ได้กล่าวถึงยา colchicine เลย.
การศึกษาถึงยา colchicine กับการรักษาโรคหืดนั้นมีน้อยมาก ในปี พ.ศ. 2546 Dewey A และคณะ2 ได้ทำการศึกษางานวิจัยที่มีทั้งหมดในโลก เกี่ยวกับการใช้ colchicine ในการรักษาโรคหืด พบว่ายังไม่มี randomized-controlled study ที่เพียงพอที่จะแนะนำเพื่อใช้ยานี้ในการรักษาโรคหืด มีเพียงงานวิจัย 2 ชิ้นที่พอจะเชื่อถือได้3,4 แต่ก็เป็นการให้ยานี้ในช่วงที่ทำการลดขนาดยา inhaled corticosteroid ซึ่งก็พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อเทียบกับการให้ยาหลอก.
เอกสารอ้างอิง
1. Global initiative for asthma. Global strategy for asthma management and prevention. 2006. (available on www.ginasthma.org<)
2. Dewey A, Dean T, Bara A, Lasserson TJ, Walters EH. Colchicine as an oral corticosteroid sparing agent for asthma (review). Co-chrane Database of Systemic Reviews 2003, Issue 3. Art. No. CD003273
3. Fish JE, Peters SP, Chambers CV, et al. An evaluation of colchicine as an alternative to inhaled corticosteroids in moderate asthma. Am J Respir Crit Care Med 1997;156: 1165-71.
4. Lewis J Smith. Colchicine for asthma?. Chest 1995;107:892-3.
อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล พ.บ.
กุมารแพทย์
บรรณาธิการ
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ่าน 4,526 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้