Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ปริศนาคลินิก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปริศนาคลินิก

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 พฤษภาคม 2551 00:00

"ภาพหนึ่งภาพอาจมีความหมายมากกว่าอักษรนับร้อยนับพันคำ การเรียนรู้จากภาพจริงเกี่ยวกับผู้ป่วย คือที่มาของ " ปริศนาคลินิก" ซึ่งบรรจุเนื้อหาอันเป็นปริศนาที่เลือกสรรอย่างบรรจงจากวิทยากรเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน"

สมนึก สังฆานุภาพ พ.บ.
รองศาสตราจารย์, หน่วยโรคติดเชื้อ, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


                                        
                                       ภาพที่ 1. การย้อมสีแกรมของหนองของผู้ป่วยรายที่ 1.

รายที่ 1
ชายอายุ 37 ปี อาชีพทำนา ภูมิลำเนาที่นครราชสีมา ไม่มีโรคประจำตัว. ผู้ป่วยรายงานว่าถูกของมีคมในนาบาดที่เท้าซ้ายเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน. ผู้ป่วยรักษาด้วยการทำแผลเอง 2 วันมานี้ ผู้ป่วยมีอาการปวดเท้าซ้ายและมีหนองซึม. การตรวจร่างกายพบอาการบวม แดง นิ่ม และกดเจ็บที่เท้าซ้าย ไม่มีตุ่มน้ำ ผลการย้อมสีแกรมของหนองพบดังภาพที่ 1.

คำถาม
1. การวินิจฉัยคืออะไร.
2. การรักษาที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร.

                                         
           ภาพที่ 2. รอยแผลจากกระดูกปลาทิ่มระหว่างซอกนิ้วชี้และนิ้วกลางของผู้ป่วยรายที่ 2.

วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์ พ.บ.
กลุ่มงานไบโอเอ็นจิเนียริ่ง สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

รายที่ 2
ชายอายุ 56 ปี มีอาการมือซ้ายบวมและปวดมา 3 สัปดาห์ ไม่มีไข้ ได้ประวัติว่าก่อนมีอาการถูกกระดูกปลาทิ่มระหว่างซอกนิ้วชี้และนิ้วกลาง และบริเวณปลายนิ้วกลางในขณะทำครัว ภายหลังรอยแผลจากกระดูกปลาทิ่มเริ่มสมานตัวแล้ว ต่อมาจึงมีอาการบวมแดงและปวดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ (ดังภาพที่ 2) ผู้ป่วยมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี.

คำถาม
1. จงให้การวินิจฉัยโรค.

                    
                                                   ภาพที่ 3. ภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วยรายที่ 3.

เจริญพิน เจนจิตรานันท์ พ.บ.
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรังสีวิทยา

รายที่ 3
หญิงไทยคู่อายุ 58 ปี บุตรสาวพามาตรวจร่างกาย. การตรวจภาพถ่ายทางรังสีปรากฏดังภาพที่ 3.

คำถาม
1. การตรวจภาพถ่ายรังสีดังกล่าวคือวิธีอะไร.
2. จงบอกความผิดปกติที่พบ.
3. จงให้การวินิจฉัยโรค.

เฉลยปริศนาคลินิก

รายที่ 1
1. ในผู้ป่วยที่มาด้วยการติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง จะต้องแยกจากภาวะที่ต้องการการผ่าตัดเสมอ เช่น necrotizing fasciitis ซึ่งรายนี้ลักษณะทางคลินิกยังไม่เข้าข่าย แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด. นอกจากนี้ จะต้องวินิจฉัยแยกโรคที่เกิดจากเชื้อก่อโรคชนิดต่างๆ ซึ่งต้องการการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพที่แตกต่างกัน. จากภาพการย้อมสีแกรมของหนองพบว่าเป็น gram positive cocci ที่เรียงกันเป็นกลุ่ม (cluster) ซึ่งเข้าได้กับเชื้อในกลุ่ม Staphylococcus จึงได้ทำการส่งหนองเพื่อเพาะเชื้อและตรวจความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ. การวินิจฉัยโรคในขั้นต้นของผู้ป่วยรายนี้จึงเป็น staphylococcal subcutaneous abscess ซึ่งน่าจะเกิดจากการถูกของมีคมบาดที่เท้าซ้ายเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนและไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง.

2. ให้การรักษาด้วย cloxacillin 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุก 4 ชั่วโมงเป็นเวลา 2-3 วันจนอาการดีขึ้น และแน่ใจว่าไม่มี fasciitis หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนเป็นยา cloxacillin ชนิดกินจนครบ 10-14 วัน เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้จำไม่ได้ว่าเคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักและมีความเสี่ยงที่จะเกิดบาดแผลจากการทำงานด้วย จึงได้ให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก.

รายที่ 2
1. ผู้ป่วยเป็นโรค erysipeloid เกิดจากเชื้อ Erysipelothrix rhusiopathiae มักพบในผู้ที่มีบาดแผลเล็กน้อยในขณะสัมผัสอาหารสดประเภทกุ้ง ปลา เป็ด ไก่ หรือเนื้อสัตว์ประเภทอื่น. โรคนี้จัดเป็น cellulitis ชนิดตื้นแต่เชื้อชนิดนี้ทำให้มีลักษณะทางคลินิกและการดำเนินโรคต่างกับ cellulitis ทั่วไป คือผื่นจะลามออกด้านข้างช้าๆ ทิ้งร่องรอยตรงกลางเป็นผื่นสีเนื้อคล้ำโดยไม่มีแผลหรือผิวหนังลอกตกสะเก็ด. ผิวหนังบริเวณที่เคยบาดเจ็บซึ่งเป็นทางเข้าของเชื้อในผู้ป่วยหลายรายจะปิดสนิทก่อนผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการติดเชื้อในชั้นหนังแท้. ผู้ป่วยส่วนน้อยอาจมีผื่นเล็กเกิดห่างจากผื่นต้นตอหรือเชื้อลุกลามเข้าอวัยวะภายใน ถ้าไม่รักษา ผื่นจะคงอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านั้นโดยมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลงเป็นระยะๆ นานเป็นเดือน ต้องวินิจฉัยแยกโรคกับโรคติดเชื้ออื่นๆ การรักษาให้ยาปฏิชีวนะ เช่นยากลุ่มเพนิซิลลิน ซึ่งอาการจะดีขึ้นอย่างชัดเจน.

เอกสารอ้างอิง
1. Swartz MN, Weinberg AN. Miscellaneous bacterial infections with cutaneous manifestations. In : Freedberg IM, Eisen AZ, Wolff K, Austen KF, Goldsmith LA, Katz S, Fitzpatrick TB, eds. Fitzpatrickžs Dermatology in General Medicine. 6th ed. V.I, New York : McGraw-Hill, 2003:1918-22.


รายที่ 3
1. Ultrasonogram ของตับ.
2. เห็นก้อนเนื้อขาวๆ ขอบเรียบขนาด 1.5 ซม.ตับซ้าย.
3. Cavernous hemangioma ของตับ (ก้อนเนื้องอกของหลอดเลือดของตับพบบ่อยๆ ในผู้หญิง) ต้องแยกโรคจากเนื้องอกที่ลุกลามจากลำไส้หรือเนื้องอกของตับเอง โดยตรวจผลเลือดว่ามีข้อบ่งชี้เนื้องอกของตับขึ้นอยู่กับประวัติและการตรวจร่างกายอย่างอื่น เช่นในกรณีของผู้ป่วยแข็งแรงดี ultrasonogram บนเงาขาวๆ ขอบเรียบในตับโดยเฉพาะในผู้หญิงมักจะเป็น hemangioma แต่ถ้ามีประวัติมะเร็งที่อื่น เช่น ลำไส้ ก็บ่งชี้มะเร็งแพร่กระจายมาที่ตับ ต้องพิจารณาผลเลือดหรืออาจตรวจ CT scan ลักษณะเฉพาะการติดสีของก้อนเนื้อ ถ้าเป็น hemangioma การติดสี จะเริ่มจากขอบนอกและวิ่งเข้าไปตรงกลางก้อน ในระยะ 10-20 นาที หลังฉีดสีน่าจะเป็น hemangioma ของตับ.

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • โรคติดเชื้อ
  • คุยสุขภาพ
  • ปริศนาคลินิก
  • ผศ.นพ.สมนึก สังฆานุภาพ
  • พญ.วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์
  • พญ.เจริญพิน เจนจิตรานันท์
  • อ่าน 7,105 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa