Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ถาม-ตอบผ่าน website
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ถาม-ตอบผ่าน website

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 พฤษภาคม 2551 00:00

เว็บไซต์วารสารคลินิกเปิดให้บริการแก่ทุกท่านที่สนใจในการส่งคำถามที่ท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเวชปฏิบัติการใช้ยา และเรื่องราวที่น่าสนใจทางการแพทย์และเวชปฏิบัติทุกสาขาทางอินเตอร์เน็ต

การแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติ
Q อยากเรียนถามถึงการแก้สายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้นหรือสายตาเอียง ที่ไม่จำเป็นต้องใส่แว่น และไม่สามารถตรวจทราบได้ว่ามีวิธีใดบ้าง

สุทธิไกร ว่องวุฒิกำจร

A วิธีการแก้ปัญหาสายตาผิดปกติ เช่นสายตาสั้นหรือสายตาเอียง ที่ได้รับการยอมรับกันในปัจจุบัน ที่สำคัญได้แก่
1. การใช้แว่นตา ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด ใช้กันมาเป็นเวลายาวนาน มีความปลอดภัยสูง แต่อาจไม่เหมาะสำหรับการเล่นกีฬา หรือการประกอบอาชีพบางอย่าง.

2. การใช้คอนแทกเลนส์
มีทั้งชนิดแข็ง และนิ่ม มีทั้งแบบใช้ถาวร หรือใช้แล้วทิ้ง ทำให้ดูสวยงามกว่าการใส่แว่นตา แต่ต้องการการดูแลรักษามากเพื่อความปลอดภัยของดวงตา.

3. การผ่าตัดโดยใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์
เป็นวิธีการหนึ่งในกลุ่มการทำให้ความหนาของกระจกตาบางลงเพื่อแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยมีหลักการในการใช้แสงเลเซอร์ ชนิดเอ็กไซเมอร์ ยิงบริเวณกระจกตาในตำแหน่งที่ต้องการให้บางลง เพื่อลดการหักเหของแสงที่กระจก ตา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
3.1. วิธี Photo-refractive keratectomy (PRK) ทำโดยการยิงเลเซอร์ไปบนกระจกตาในบริเวณที่ต้องการโดยไม่มีการใช้มีดฝานกระจกตาก่อนยิงเลเซอร์ สามารถทำได้ในผู้ที่มีสายตาสั้นไม่มาก แต่มีข้อเสียคือ ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตาหลังทำ.
3.2. การทำเลสิก (Lasik = Laser in situ keratomileusis) จะมีการใช้มีดขนาดเล็กฝานกระจกตาบริเวณที่จะยิงเลเซอร์เปิดออกก่อน และยิงเลเซอร์เอ็กไซเมอร์ ไปบริเวณที่ต้องการ แล้วจึงปิดฝากระจกตาที่ฝานไว้กลับที่เดิม ทำให้ไม่มีการสูญเสียผิวของกระจกตา ผู้ป่วยจึงไม่เคืองตา.

หากพิจารณาในประเด็นการแก้ไขสายตาผิดปกติ ที่ต้องการให้หายขาด หรือไม่สามารถตรวจพบได้ในกรณีการประกอบอาชีพบางอย่าง ในปัจจุบันมีวิธีที่สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การใช้คอนแทกเลนส์กดความโค้งกระจกตา เรียกว่าวิธี orthokeratology โดยการใส่คอนแทกเลนส์ชนิดแข็งกดปรับความโค้งกระจกตา ให้มีการหักเหแสงที่เป็นปกติมากขึ้น แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ เป็นวิธีการแก้ไขได้เพียงชั่วคราว และไม่สามารถทำได้ในกรณีที่มีสายตาสั้นหรือสายตาเอียงขนาดมากๆ.
2. การใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์แก้ไขสายตาด้วยวิธี Photo-refractive keratectomy ซึ่งหลังการทำแล้ว 2-4 สัปดาห์ เมื่อแผลบนกระจกตาหายสนิท อาจตรวจไม่พบร่องรอยได้ แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องให้จักษุแพทย์ประเมินความพร้อมของกระจกตาก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่.

                                                          

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ.
จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ติ่งเนื้อในลำไส้

Q มีคุณลุงอายุ 62 ปี เคยส่องกล้องกับแพทย์ทางเดินอาหารบอกว่าเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ และตัดไปแล้ว 2 จุด ก่อนหน้านี้ไม่มีประวัติมะเร็ง แต่ก็ไม่เคยส่องกล้องตรวจมาก่อน ไม่ทราบว่าต้องมาตรวจซ้ำอีกหรือไม่คะ

ปิยะดา พูลสวัสดิ์

A โดยทั่วไปแล้ว ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (polyp) สามารถแบ่งตามลักษณะทางพยาธิวิทยาได้เป็น 2 แบบ คือ ติ่งเนื้อที่ไม่กลายเป็นมะเร็ง (hyperplastic polyp) และติ่งเนื้อที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ (adenomatous polyp). ความสำคัญของการตรวจพบ ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ จะอยู่ที่การวินิจฉัยให้ได้ว่ามีที่บริเวณใดบ้าง ขนาดเท่าไร และผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเป็นอย่างไร ซึ่งหมายความว่าแพทย์ผู้ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่จะต้องทำการตัดชิ้นเนื้อบางส่วน (biopsy) หรือตัดติ่งเนื้อออกมา (polypectomy) ตรวจด้วย.

ปัจจัยที่มีผลต่อการกลายเป็นมะเร็ง จะขึ้นกับขนาด ลักษณะ และผลการตรวจทางพยาธิวิทยา โดยพบว่า ถ้าติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่กว่า 1 ซม. ขึ้นไปและเป็นกลุ่มของ adenomatous polyp จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมาก.

จากคำถามข้างต้น ถ้าทำการตัดติ่งเนื้อไปแล้ว จำเป็นต้องทำการตรวจเพื่อดูว่ามีติ่งเนื้อกลับเป็นซ้ำขึ้นมาใหม่ หรือมีติ่งเนื้อใหม่ขึ้นที่บริเวณอื่นๆ ด้วยที่เราเรียกว่า surveillance โดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่. (colonoscopy) เป็นระยะ โดยแนะนำให้ทำครั้งแรกที่ 1 ปี ต่อมาที่ 3 ปี และ 5 ปีตามลำดับ ในกรณีที่ผลการตรวจไม่พบติ่งเนื้อเพิ่มเติมอีก โดยถ้าพบติ่งเนื้อใหม่ให้ทำการตัด และเริ่มตรวจใหม่ที่ 1 ปีหลังจากนั้น.

วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ.
ศัลยแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • ติ่งเนื้อ
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 3,881 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa