Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Cardiac bruits กับความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Cardiac bruits กับความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กรกฎาคม 2551 00:00

Disclaimer : รายงานการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มีมากมายมหาศาล ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง คอลัมน์นี้ได้สรุปรายงานการศึกษาที่น่าสนใจที่ลงในวารสารทางการแพทย์ที่ผ่าน peer review มาให้สมาชิกทราบ แต่ข้อพึงระวังคือ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่มีการรายงานการศึกษาจะมีความถูกต้องเป็น สัจจะ เพราะไม่มีอะไรถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ในทางการแพทย์ ความรู้ ความเชื่อ ณ วันนี้อาจได้การยอมรับ แต่ความรู้ใหม่ๆ ในวันหน้าก็สามารถลบล้างความรู้ ความเชื่อในวันนี้ได้เช่นกัน.

Cardiac bruits กับความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
Pickett CA, et al. Carotid bruits as a prognostic indicator of cardiovascular death and myocardial infarction : a meta-analysis. Lancet 2008;371:1587-94.

Cardiac bruits มีความสัมพันธ์กับภาวะอุดตันของหลอดเลือดแคโรติด (carotid) และการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. การผ่าตัดแก้การอุดกั้นหลอดเลือดcarotid (endarterectomy) มีผลดีอย่างยิ่งในราย ที่มีการตีบตันรุนแรง แต่การตรวจพบ carotid bruit ไม่ช่วยพยากรณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันโดยเฉพาะรายที่ยังไม่มีอาการ จึงยังไม่มีการแนะนำให้มีการตรวจ cardiac bruit ในการตรวจสุขภาพทั่วไป.

                                          

การวิเคราะห์ผลงานวิจัย 22 รายงาน ซึ่งในจำนวนนี้เป็น Cohort study 20 รายงาน รวมจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,295 คน พบว่า ผู้ป่วยที่มี cardiac bruit เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายร้อยละ 3.69 ใน 1 ปี ในขณะที่กลุ่มไม่มี bruit มีอัตราร้อยละ 1.86 กลุ่มที่มี bruit ก็มีอัตราตายด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่ากลุ่มไม่มี bruit เช่นกัน (ร้อยละ 2.85 vs. ร้อยละ 1.11) อัตราเสี่ยง (odds ratio) ของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายในกลุ่มที่มี bruit มากกว่า อีกกลุˆม 2.15 เท่า (95%CI 1.67, 2.78) และการตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดก็มากกว่า เป็น 2.27 เท่า (95%CI 1.49, 3.49).

ผู้วิจัยสรุปว่า การตรวจฟัง cardiac bruit ที่คอในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจน่าจะเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคกลุ่มนี้.

การศึกษานี้ เป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของการตรวจร่างกาย แม้ว่าความไวของ cardiac bruit ในการตรวจพบการตีบตันของหลอดเลือดไม่สูง. การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณค่าของการตรวจฟังเสียง bruit ที่หลอดเลือดแดง carotid และหลอดเลือดแดงเส้นอื่น เช่น femoral ต่อไป อาจช่วยให้แพทย์พบผู้ป่วยเสี่ยงสูงโดยพึ่งพาการตรวจด้วยเทคโนโลยีราคาแพงให้น้อยลง.

คัดกรองเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ
Gillies CL, et al. Different strategies for screening and prevention of type 2 diabetes in adults : cost effectiveness analysis. BMJ published online 21 Apr 2008.


                                        

ขณะนี้ผู้ป่วยเบาหวานประมาณครึ่งหนึ่งยังไม่รู้ตัวเองเป็นเบาหวาน ดังนั้นการคัดกรองเบาหวานเพื่อพบแต่เนิ่นๆ จึงสำคัญมาก. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการคัดกรองเบาหวาน 4 รูปแบบ คือ 1) คัดกรองเบาหวานประเภท 2 เพื่อรักษาต่อ 2) คัดกรองภาวะเบาหวานและภาวะ IGT และดำเนินการให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตถ้าพบว่ามี IGT 3) ตรวจแบบที่สอง แต่ให้ยาป้องกันเบาหวานแทนการปรับพฤติกรรม และ 4) ไม่มีการคัดกรอง.

การศึกษานี้คำนวณประสิทธิภาพ โดยสร้างแบบจำลองสถานการณ์ ทางเลือกทั้ง 4 วิธี ด้วยวิธี Markov model โดยอาศัยข้อมูลงานวิจัยทางระบาดวิทยาที่ผ่านมา.

ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 1 ปี สำหรับวิธีคัดกรองทั้ง 4 เป็นดังนี้ วิธีคัดกรองเบาหวาน คิดเป็น 14,150 ปอนด์ วิธีที่ 2 คัดกรองเบาหวานและ IGT ตามด้วยการดำเนินการเปลี่ยนพฤติกรรมใช้เงิน 6,242 ปอนด์. วิธีที่ 3 คัดกรองเบาหวานและ IGT ตามด้วยการให้ยากิน ใช้เงิน 7,023 ปอนด์.

สรุปแล้ว วิธีการคัดกรองเบาหวานและ IGT ในคนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ตามด้วยการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในรายที่มีภาวะ IGT เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับประสิทธิภาพของ การคัดกรองเบาหวานอย่างเดียว โดยไม่สนใจภาวะ IGT นั้น ยังไม่ชัดเจน.

ขณะนี้ในต่างประเทศและบ้านเรามีเครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวานโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยเสี่ยง ซึ่งมีความไวในการพยากรณ์โรคเบาหวานดีพอควร (ความไวร้อยละ 70) ดังนั้นควรมีการวิจัยประเมินประสิทธิภาพของการคัดกรองเบาหวานแบบไม่ต้องเจาะเลือดนี้เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน.

วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • เบาหวาน
  • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • คุยสุขภาพ
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • Cardiac bruits
  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 10,171 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa