Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » วัณโรคในไตในผู้ใหญ่กับการแพร่เชื้อ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

วัณโรคในไตในผู้ใหญ่กับการแพร่เชื้อ

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กรกฎาคม 2551 00:00


ถาม วัณโรคในไตในผู้ใหญ่ มีโอกาสติดมาถึงเด็กอายุ 4-7 ปี ได้หรือไม่ และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร.

สมาชิกเก่า

ตอบ เชื้อวัณโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง ที่สำคัญที่สุดคือ ทางระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อ แพร่กระจายในลักษณะฝอยละอองไม่เกิน 5 ไมครอน เชื้อจะมาจากผู้ป่วยวัณโรคปอดหรือวัณโรคในระบบทางเดินหายใจที่ยังไม่ได้รับการรักษา. วิธีที่ 2 คือ การสัมผัสโดยตรง พบน้อย อาจเกิดกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ตรวจสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยแล้วเชื้อเข้าไปสู่บาดแผลของบุคลากรโดยตรง. วิธีที่ 3 ซึ่งไม่น่า จะพบแล้วคือ การกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนในปริมาณมาก.

ในกรณีที่ถามมา เชื้ออยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ จึงไม่น่าจะแพร่ไปสู่เด็กได้ ไม่ต้องมีการปฏิบัติอะไรเป็นพิเศษ หากผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้เป็นวัณโรคปอดร่วมด้วย.

กำธร มาลาธรรม พ.บ.,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


การรักษารอยแผลเป็นสิว
ถาม กินยา isotretinoin รักษาสิวโดยกินสัปดาห์ละ 2 เม็ด มีรอยแผลเป็นจากสิว เป็นหลุมตามใบหน้า ตอนนี้รักษาด้วย ionto เดือนละครั้ง มีวิธีไหนจะทำให้รอยแผลดีขึ้นบ้าง โดยที่ยังกิน isotretinoin อยู่.

สมาชิกวารสาร

ตอบ รอยแผลเป็นของสิว มีได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นหลุม, รอยแดงรอยดำ และแผลเป็นนูนโต การรักษารอยแผลเป็นสิว ได้แก่

การลอกผิวหนังด้วยสารเคมี
เป็นเทคนิคที่ใช้กันมาก สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ กรดอัลฟาไฮดร็อกซี (alpha hydroxy acid, AHA) ช่วยลดรอยด่างดำที่เกิดจากการเป็นสิว, กรดไตรคลอไรอะซิติก (trichloroacetic acid ) ซึมเข้าผิวหนังได้ลึกกว่า AHA ทำให้ผิวลอกมากกว่า และสารละลายเจสเนอร์ (Jessner's solution) ซึ่งมีส่วนผสมของ resorcinol, lactic acid และ salicylic acid (ซึ่งคือ beta hydroxy acid, BHA).

การกรีดใต้ผิว (subcision)
ใช้รักษาแผลเป็นจากสิวชนิดเป็นลูกคลื่น ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อแผลเป็นดึงผิวหนังด้านบนลง ทำให้ผิวแลดูเป็นคลื่น.

การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นสิว (scar revision).

การสร้างผิวใหม่ด้วยเลเซอร์ (laser skin resurfacing) ซึ่งใช้เลเซอร์ carbon dioxide (CO2) และ/หรือ Erbium : YAG แสงเลเซอร์ทำให้ผิวชั้นบนหลุดลอกออกมาจนถึงชั้นบนของเนื้อแผลเป็น ในเวลาเดียวกันความร้อนจากแสงเลเซอร์ทำให้ผิวตึงขึ้นทำให้แผลเป็นดูเรียบลง เหมาะสำหรับรอยแผลเป็นสิวแบบรูปกล่องที่ตื้นๆ และเหมาะสำหรับทำให้แผลเป็นสิวที่เคยรักษามาก่อนเรียบขึ้น.

เทคนิค fractional laser resurfacing เป็นการฉายแสงให้เกิดแผลจากความร้อนที่ผิวหนัง (photothermolysis) ด้วยการยิงแสงเลเซอร์ ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดความเข้มสูงลงไปใต้ผิว แผล เป็นสิวจะนุ่มลงเพราะมีการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนใหม่ใต้แผล.

เทคนิค dermabrasion เป็นเทคนิคการขัดผิวหนังส่วนบนออกด้วยหัวขัด มักใช้รักษารอยด่างดำและแผลเป็น หลังทำผิวจะแดงดูเป็นแผลถลอก ต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าแผลหาย วิธีนี้ไม่ค่อยได้ผลกับแผลเป็นที่เป็นหลุมชนิดเหล็กแทงน้ำแข็ง และไม่ค่อยได้ผลกับแผลเป็นที่หน้าอกและหลัง อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดคีลอยด์มากขึ้นเพราะหน้าอกและหลังช่วงบนเป็นตำแหน่งที่เกิดคีลอยด์ง่าย.

เทคนิคการขัดผิวด้วยผงอะลูมิเนียม (microdermabrasion) ช่วยรักษารอยแผลเป็นสิวที่เป็นไม่ มาก ทำให้ผิวแลดูเรียบเนียนและมีสีสม่ำเสมอขึ้น.

การฉีดสตีรอยด์รักษาแผลเป็นสิว ส่วนใหญ่ใช้ triamcinolone acetonide ใช้กับแผลเป็น สิวที่นูนเหนือผิว เช่น แผลเป็นสิวที่คาง.

การฉีดคอลลาเจน
ใช้กับหลุมแผลเป็นสิวที่ไม่แข็ง นอกจากคอลลาเจนจะไปเสริมในหลุมแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนของตัวเองด้วย.

ส่วน เทคนิคการไถด้วยลูกกลิ้งหนาม เป็นการใช้เครื่องมือที่เป็นลูกกลิ้งหนาม ถูครูดผิวหนังทำให้เกิดรูเล็กมากที่ชั้นนอกสุดของผิวหนัง มีงานวิจัยแสดงว่าการใช้เข็มลูกกลิ้งหนามเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาหลุมแผลเป็นจากสิวที่ได้ผลดีและ มีผลข้างเคียงน้อย มีการศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคลูกกลิ้งหนามในผู้ป่วย 38 ราย โดย 37 รายใช้เพื่อรักษารอยแผลเป็นจากสิว และ 1 รายเพื่อทำให้ผิวอ่อนเยาว์ พบภาวะแทรกซ้อนเพียง 3 ราย คือ รอยคล้ำชั่วคราวและสิวเห่อ เทคนิคนี้ ใช้รักษาแผลเป็นสิวชนิดเป็นรูเหล็กแทงน้ำแข็ง, ชนิดเป็นคลื่น, ชนิดเป็นหลุมรูปกล่อง, ชนิดเป็นตุ่มนูน, ชนิดเป็นอุโมงค์ แต่ไม่เหมาะสำหรับแผลเป็นสิวชนิดคีลอยด์ และต้องไม่ทำในขณะที่ยังมีสิวและผิวหนังอักเสบ. สำหรับในกรณีการใช้ยา isotretinoin รักษาสิวนั้น ต้องได้ยาจนครบขนาดยาสะสมคือ 120 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ผู้ที่ได้รับยาตัวนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติในการหายของบาดแผลและอาจเกิดแผลเป็น. ตจแพทย์หลายท่านเลือกที่จะเลื่อนการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น เช่น dermabrasion หรือ laser resurfacing อาจนานถึง 1 ปีหลังหยุดยา. นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงการสัก, เจาะ, ถอนขนด้วยขี้ผึ้ง และถอนขนด้วยการจี้ไฟฟ้าหรือเลเซอร์.

เอกสารอ้างอิง
1. ประวิตร พิศาลบุตร. วิธีทางกายภาพที่ใช้รักษาโรคสิว. วารสารคลินิก 2551;24:205-15.
2. ประวิตร พิศาลบุตร. ยาชนิดกินรักษาโรคสิว. วารสารคลินิก 2551;24:97-107.
3. นันทิชา คมนามูล, มนตรี อุดมเพทายกุล, ปิติ พลังวชิรา. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาหลุมแผลเป็นจากสิวโดยการกระตุ้นการสร้างคอล-ลาเจนด้วยเข็มร่วมกับการทาและไม่ทาโกรทแฟกเตอร์. วารสารโรคผิวหนัง 2551;24:18-9.
4. อนิตา เครือวิทย์, เพ็ญพรรณ วัฒนไกร, ชนิตต์วัณณ์ ตรีวิทยาภูมิ, สุเทพ จิระสุทัศน์. Dermal needling : ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารโรคผิวหนัง 2551;24:84-5.

ประวิตร พิศาลบุตร พ.บ.
อาจารย์พิเศษ, ภาควิชาเภสัชกรรม,
คณะเภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บรรณาธิการ
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • โรคติดเชื้อ
  • โรคผิวหนัง
  • คุยสุขภาพ
  • ปัญหาวิชาการ
  • การรักษาสิว
  • วัณโรค
  • นพ.กำธร มาลาธรรม
  • นพ.ประวิตร พิศาลบุตร
  • ศ.พญ.สุรางค์ เจียมจรรยา
  • อ่าน 6,030 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa