Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Sciatica จาก disc herniation ผ่าตัดเร็วดีกว่าไม่ผ่า หรือไม่
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Sciatica จาก disc herniation ผ่าตัดเร็วดีกว่าไม่ผ่า หรือไม่

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2551 00:00

Disclaimer : รายงานการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มีมากมายมหาศาล ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง คอลัมน์นี้ได้สรุปรายงานการศึกษาที่น่าสนใจที่ลงในวารสารทางการแพทย์ที่ผ่าน peer review มาให้สมาชิกทราบ แต่ข้อพึงระวังคือ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่มีการรายงานการศึกษาจะมีความถูกต้องเป็น สัจจะ เพราะไม่มีอะไรถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ในทางการแพทย์ ความรู้ ความเชื่อ ณ วันนี้อาจได้การยอมรับ แต่ความรู้ใหม่ๆ ในวันหน้าก็สามารถลบล้างความรู้ ความเชื่อในวันนี้ได้เช่นกัน.

Sciatica จาก disc herniation ผ่าตัดเร็วดีกว่าไม่ผ่า หรือไม่
Peul WC, et al. Prolonged conservative care versus early lumbar disc herniation : two year results of a surgery in patients with sciatica caused by randomised controlled trial. BMJ 2008;336:1355-8.

ผู้ป่วยที่มีอาการ sciatica จากหมอนรองกระดูกทรุดโดยมาก (ร้อยละ 70) ภายหลังมีอาการ 6 สัปดาห์ มักมีอาการดีขึ้น ส่วนที่ยังไม่ดีขึ้นจึงแนะให้รักษาด้วยการผ่าตัดเอาส่วนหมอนที่กดทับออก. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดค่อนข้างรุนแรงมักเลือกวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดยัง ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน. การวิจัยนี้ต้องการประเมินคุณค่าของการผ่าตัดรักษาภาวะหมอนรองกระดูกทรุด (lumbar disc herniation) แต่เนิ่นๆ (ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ที่มีอาการ) เปรียบเทียบกับการรักษาแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยที่มีอาการเส้นประสาทกดทับ และติดตามเป็นเวลา 2 ปี โดย ทำในโรงพยาบาล 9 แห่งของประเทศเนเธอร์แลนด์ ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามี lumbosacral radicular syndrome (มี sciatica ร่วมกับอาการทาง กล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือ reflex ผิดปกติ) และถ่ายภาพรังสียืนยันว่ามี disc herniation ที่มีอาการมา 6-12 สัปดาห์ จำนวน 283 คน อายุ 18-65 ปี แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม แบบ random เป็นกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดใน 2 สัปดาห์ และกลุ่มรักษาแบบประคับประคอง (ยาแก้ปวด หรือทำกายภาพ) ซึ่งหากมีอาการปวดแย่ลงใน 6 เดือนแพทย์จะพิจารณาผ่าตัด.

การวัดผลการรักษา ประเมินด้วยคะแนนความปวด ด้วยแบบสอบถาม Roland disability for sciatica.

ผลการศึกษา ในจำนวนผู้ป่วย 141 คนในกลุ่มผ่าตัด ได้รับการผ่าแบบ microdiscectomy 125 คน ส่วนกลุ่มรักษาประคับประคอง 142 คน สุดท้ายแล้ว ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด 62 คน ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องทุพพลภาพ หลังการรักษาพบว่า กลุ่มที่ผ่าตัดมีอาการปวดหายเร็วกว่ากลุ่ม ประคับประคองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ว่าภายหลัง 6 เดือน อาการปวดร้าวไปที่ขาของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ.

ด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยพบว่าภายหลัง การรักษาทั้งสองแบบ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจลดลง และโดยรวม ณ ปีที่สอง ผู้ป่วยไม่พึงพอใจต่อผลการรักษาร้อยละ 20.

สรุป การผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกทรุดโดยเร็ว ช่วยลดอาการได้ดีกว่าการรักษาแบบประคับประคอง แต่หลังการผ่าตัดรักษา 6 เดือนไปแล้วไปจน ถึง 2 ปี ผลลัพธ์ในทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน.

                                 

อาหารลดความเสี่ยงต่อเบาหวาน

Mar t nez-Gonz alez MA , et l. Adherence to Mediter-ranean diet and risk of developing diabetes : prospective cohort study. BMJ 2008;336:1348-51.

เบาหวานกำลังระบาดไปทั่วโลก พฤติกรรมสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อเบาหวานคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการกินอาหารที่เหมาะสม มีรายงานว่า อาหารประเภท mediterranean ช่วยป้องกันเบาหวานได้ เนื่องจากมีกากใยสูง มีน้ำมันจากพืช โดยเฉพาะไขมันจากโอลีฟ ไขมันทรานซ์ต่ำ โดยไขมันในอาหารประเภทนี้มีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวแบบ monounsaturated สูงกว่าไขมันอิ่มตัว ซึ่งทำให้ร่างกายมีระดับไขมันค่อนดี และการควบคุมน้ำตาลในเลือดดีขึ้น.

การวิจัยนี้ทำขึ้นในประเทศสเปน นักวิจัยต้องการศึกษาว่าการกินอาหารประเภทนี้ลดความเสี่ยงต่อเบาหวานได้จริงหรือไม่ โดยใช้การศึกษาแบบ cohort study ในบัณฑิตที่จบใหม่จากมหาวิทยาลัย ที่เริ่มต้นไม่ได้เป็นเบาหวาน จำนวน 13,380 คน และติดตามเป็นเวลาเฉลี่ย 4.4 ปี มีการเก็บข้อมูลการบริโภคอาหารตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาด้วยแบบสอบถามที่ มีอาหาร 136 รายการ ให้ตอบเป็นคะแนน ตั้งแต่กินน้อย จนกินมาก (1-9 คะแนน) ข้อมูลการเป็นเบาหวานได้จากประวัติทางการแพทย์ ประวัติการวินิจฉัยโดยแพทย์.

อาหาร Mediterranean ในการศึกษานี้ประกอบด้วยอาหารที่มีลักษณะ 9 อย่างดังนี้คือ มีอัตรส่วนของ monounsaturated : saturated สูง, ดื่มแอลกอฮล์ปานกลาง, ถั่ว, ธัญพืช, ผลไม้และนัท, ผัก, เนื้อสัตว์และอาหารจากเนื้อสัตว์น้อย และกินนมและผลิตภัณฑ์จากนมสดปานกลาง และปลา โดยถ้ากินอาหารสุขภาพต่อไปนี้ (ไขมันไม่อิ่มตัว, ถั่ว, ธัญพืช, ผลไม้, ผัก หรือปลา) เป็นประจำทุกวันมากกว่าค่าเฉลี่ยของตัวอย่างทั้งหมด จะได้อาหารชนิดละ 1 คะแนน และได้อีกอย่างละ 1 คะแนน สำหรับคนที่กินนม และเนื้อสัตว์ น้อยกว่าค่าเฉลี่ย สำหรับการดื่มสุราจะได้ 1 คะแนนถ้าดื่ม ระหว่าง 10-50 กรัม/วัน ในชายและ 5-25 กรัม/วัน ในหญิง.

ผลการศึกษา พบว่าคนที่กินอาหารแบบ mediterranean เป็นประจำมีโอกาสเป็นเบาหวาน น้อยกว่า เมื่อเทียบกับคนที่กินน้อย (คะแนน < 3) คนที่กินเป็นประจำ (คะแนน 7-9) มีความเสี่ยงเป็น 0.17 เท่า ส่วนคนที่กินปานกลาง (คะแนน 3-6) มีความเสี่ยงเป็น 0.41 เท่า นอกจากนี้ ทุกๆ 2 คะแนนที่เพิ่มขึ้น จะลดโอกาสเสี่ยงต่อเบาหวานลงถึง ร้อยละ 35 (relative risk reduction).

สรุป การกินอาหารจากพืช (ผัก ถั่ว ผลไม้) น้ำมันพืช (โอลีฟ) และกินเนื้อน้อย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน.

วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

ป้ายคำ:
  • พฤติกรรมอันตราย
  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
  • อาหาร
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • ออกกำลังกาย
  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ.​ และป้องกันโรค
  • เบาหวาน
  • คุยสุขภาพ
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • เบาหวาน
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 5,057 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa