Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » กินเร็ว กินอิ่ม ทำให้อ้วนได้ไหม
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

กินเร็ว กินอิ่ม ทำให้อ้วนได้ไหม

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 ธันวาคม 2551 00:00

Disclaimer : รายงานการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มีมากมายมหาศาล ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง คอลัมน์นี้ได้สรุปรายงานการศึกษาที่น่าสนใจที่ลงในวารสารทางการแพทย์ที่ผ่าน peer review มาให้สมาชิกทราบ แต่ข้อพึงระวังคือ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่มีการรายงานการศึกษาจะมีความถูกต้องเป็น สัจจะ เพราะไม่มีอะไรถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ในทางการแพทย์ ความรู้ ความเชื่อ ณ วันนี้อาจได้การยอมรับ แต่ความรู้ใหม่ๆ ในวันหน้าก็สามารถลบล้างความรู้ ความเชื่อในวันนี้ได้เช่นกัน.

กินเร็ว กินอิ่ม ทำให้อ้วนได้ไหม

Maruyama K, et al. The joint impact on being overweight of self reported nbehaviours of eating quickly and eating until full : cross sectional survey. BMJ 2008; 337;a2002.

การกินจนอิ่มกับกินเร็ว หรือกินทั้งเร็วทั้งอิ่มแบบไหนจะสัมพันธ์กับความอ้วนมากกว่ากัน อันนี้เป็นโจทย์วิจัย ได้เหมือนกัน. งานวิจัยนี้ทำในประเทศญี่ปุ่น นักวิจัยสำรวจชาวญี่ปุ่นจำนวน 3,287 คน ในชุมชน 2 แห่ง ( ชาย 1,122 คน หญิง 2,165 คน อายุ 30-69 ปี เก็บข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีมวลกาย (>=25 กก./ม.2 ถือว่าน้ำหนักเกิน + อ้วน ต่อไปจะเรียกว่าอ้วน) ให้ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามเองว่านิสัยการกินเป็นแบบกินจนอิ่มหรือเปล่า (ถามว่า โดยปกติการกินอาหารจะกินจนอิ่มหรือเปล่า ตอบ ใช่ หรือไม่ใช่) และความเร็วในการกินของท่านเป็นแบบใด (มี 5 ระดับให้เลือกคือ เร็วมาก เร็ว ปานกลาง ช้า ช้ามาก). ในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบดัชนีมวลกายระหว่างกลุ่มกินไม่อิ่มและไม่เร็ว เทียบกับกลุ่มที่กินจนอิ่ม และกลุ่มกินเร็ว จากนั้นเปรียบเทียบระหว่าง 4 กลุ่มย่อยคือ 1) กลุ่มไม่ได้กินจนอิ่ม และไม่เร็ว 2) กลุ่มกินจนอิ่มแต่ไม่เร็ว 3)กลุ่มไม่ได้กินจนอิ่มแต่เร็ว และ 4) กลุ่มกินจนอิ่มและเร็ว.

ผลการศึกษา ชาย 571 คน (50.9%) และหญิง 1,265 คน (58.4%) บอกว่าตนเองเป็นคนกินจนอิ่ม และผู้ชาย 523 คน (45.6%) และหญิง 785 คน (36.3%) คน ตอบว่าตนเองเป็นคนกินเร็ว.

เมื่อเปรียบเทียบกับคนกินไม่เร็วและไม่ได้กินจนอิ่ม พบว่ากลุ่มกินจนอิ่มผู้ชายมีโอกาสอ้วนเป็น 2 เท่า ผู้หญิงมีโอกาสอ้วนเป็น 1.9 เท่า ส่วนกลุ่มกินเร็ว ผู้ชายที่กินเร็วก็มีโอกาสอ้วนเป็น 1.84 เท่า ส่วนผู้หญิงมีโอกาสอ้วนเป็น 2.09 เท่า ในผู้ชายที่ทั้งกินจนอิ่มและเร็ว มีโอกาสอ้วนเป็น 3.13 เท่า ของกลุ่มไม่อิ่มไม่เร็ว ส่วนผู้หญิงมีโอกาสอ้วนเป็น 3.2 เท่า การวิเคราะห์ข้างต้นนี้ได้มีการควบคุมเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่กินแล้ว ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้กินจนอิ่มแต่เร็ว และกลุ่มที่กินอิ่มแต่ไม่เร็ว ก็มีโอกาสเสี่ยงอ้วนเช่นเดียวกัน ทั้งในชายและหญิง.

สรุป ในคนญี่ปุ่นการศึกษานี้พบว่า พฤติกรรมการกินจนอิ่ม และกินเร็ว สัมพันธ์กับความอ้วน.
การกินเร็วและการกินอิ่ม อาจเกี่ยวข้องกับกับปริมาณอาหารที่กินมากขึ้น แต่การวิเคราะห์ข้อมูลนี้ได้ควบคุมตัวแปรปริมาณอาหารด้วย ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้อ้วนอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น มีสมติฐานว่า คนกินเร็ว อาจมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความอ้วน.


ป้ายคำ:
  • การดูแลบุตร
  • พฤติกรรมอันตราย
  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
  • อาหาร
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • แม่และเด็ก
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ.​ และป้องกันโรค
  • คุยสุขภาพ
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • Phototherapy
  • บิลิรูบิน
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 5,921 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa