Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » แนวทางแนะนำการดูแลสุขภาพตาในเด็ก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

แนวทางแนะนำการดูแลสุขภาพตาในเด็ก

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 ธันวาคม 2551 00:00


Q อยากทราบแนวทางในการแนะนำ พ่อแม่ในการดูแลสุขภาพตาของเด็กต้องทำอย่างไรบ้างคะ

จิตรลดา ตาธรรมา

A
ปัจจุบันพบว่าปัญหาสุขภาพตาของเด็กไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนไปจากในอดีต คือ จากเดิมมักจะเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เปลี่ยนเป็นโรคที่เกี่ยวกับสายตาผิดปกติ หรือความผิดปกติทางด้านการมองเห็นมากขึ้น เช่น โรคเกี่ยวกับจอประสาทตา และโรคตาขี้เกียจ โดยอาการของโรคจอประสาทตา นั้น จะทำให้เด็กมองเห็นภาพไม่ปกติ มองเห็นภาพเลือนราง. พ่อแม่ต้องสังเกตจากพฤติกรรมการมองเห็นของเด็ก เช่น เด็กไม่จ้องหน้า ตาแกว่ง ไม่มีพัฒนาการทางสายตาและการมองเห็นตามวัย หรือการวิ่งเข้าไปดูสิ่งของใกล้ๆ ก็สามารถบ่งบอกได้ว่าเด็กอาจมีปัญหาเรื่องการมองเห็น.

สาเหตุการเกิดโรคจอประสาทตาในเด็ก อาจมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม การขาดสารอาหารบางชนิด แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ เด็กคลอดก่อนกำหนด โดยมีผลการศึกษาพบว่าในเด็กคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,250 กรัม จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตากว่าร้อยละ 60 และในกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 750 กรัม มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวถึงร้อยละ 90 ซึ่งโรคจอประสาทตาในเด็กนี้ ถือเป็นสาเหตุหลักอันดับหนึ่งที่ทำให้เด็กตาบอดในที่สุด.

จอประสาทตา เป็นส่วนสำคัญที่สุดต่อการรับภาพและมองเห็นภาพชัดเจน โดยทำหน้าที่เป็นสัญญาณรับภาพ ดังนั้น เมื่อจอประสาทตาผิดปกติ หรือถูกทำลายจะทำให้สูญเสียการมองเห็นเป็นภาพเลือนราง ซึ่งจอประสาทตานี้อาจถูกทำลายจากมลภาวะทางแสงที่อยู่รอบๆ ตัวเรา โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม การให้เด็กได้กินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนช่วยบำรุงสายตาอาจช่วยได้ เช่น อาหารที่มีวิตามินเอ จำพวกผักบุ้ง ผักตำลึง และสารอาหารลูทีน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับมลภาวะทางแสงที่จะไปทำลายจอประสาทตา มีมากในน้ำนมแม่.

พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสายตาของลูกตั้งแต่ยังเด็ก เพราะโดยปกติพัฒนาการทางด้านสายตาของเด็กจะมีการพัฒนาการสูงสุดในช่วง 4 ปีแรก โดยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกคลอด เริ่มมองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่ออายุ 2 ปีและพัฒนาต่อเนื่องจนสามารถมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์เมื่ออายุ 8-10 ปี ดังนั้น การดูแลและป้องกันลูกน้อยจากอาการผิดปกติทางสายตา และส่งเสริมให้เด็กมองเห็นภาพชัดเจนในช่วงอายุดังกล่าวจึงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก.

พ่อแม่สามารถส่งเสริมความฉลาดของลูกผ่านพัฒนาการทางสายตาด้วยการปกป้องดวงตา อวัยวะสำคัญในการเรียนรู้ของลูกควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการด้วยของเล่นสีสด เช่น ของเด็กเล่นสำหรับเด็กอายุ 1-2 เดือน สามารถใช้ของเล่นสีสดขนาดใหญ่พอสมควร ให้เด็กฝึกใช้สายตาจ้องมองและค่อยๆ ลดขนาดลงเมื่อลูกโตขึ้น และสำหรับเด็ก 1-2 ปี อาจใช้สมุดภาพที่มีสีสัน เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการสายตา และการเรียนรู้ของเด็กได้อีกด้วย.นอกจากนี้ พ่อแม่ควรดูแลพฤติกรรมการใช้สายตาของลูกให้เหมาะสมตั้งแต่ยังเล็ก เช่น การดูโทรทัศน์ หรือเล่นคอมพิวเตอร์ สามารถให้ลูกดูหรือเล่นได้ตั้งแต่เล็ก เพราะถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการที่ดีแก่เด็กได้หากเป็นรายการที่เหมาะสม แต่พ่อแม่ต้องแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ลูกใช้สายตายาวนานเกินไป ควรหมั่นให้ลูกพักสายตาทุกๆครึ่งชั่วโมง พักสายตา 4-5 นาที และหมั่นสังเกตการใช้สายตาของลูก หากมีข้อสงสัยว่าลูกจะมีสายตาผิดปกติ เช่น เด็กชอบดูโทรทัศน์ใกล้ เอียงคอมอง หรี่ตามอง การมองเห็นผิดปกติ ไม่มองตาม ตาเข ตาแกว่ง ตาสั่น หรือขนาดตา 2 ข้างไม่เท่ากัน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กอาจมีความผิดปกติของดวงตาและการมองเห็น ควรพาลูกไปปรึกษาจักษุแพทย์. นอกจากนี้ การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาเด็ก จากสัตว์เลี้ยงหรือของมีคมก็มีความสำคัญมากเช่นกัน.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ.
จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


การรักษารูบริเวณหน้าหู
Q
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการมีรูบริเวณหน้าหู จำเป็นต้องทำการผ่าตัดหรือไม่

กิตติศักดิ์ วงศ์อมร

A
รูบริเวณหน้าหู (preauricular sinus) เป็นความผิดปกติบริเวณใบหูซึ่งเป็นตั้งแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติในการปิดของ hillock of His ซึ่งอาจเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ จะมีลักษณะเป็นรูบุ๋มลงไปบริเวณใบหู ซึ่งมักจะเป็นบริเวณด้านหน้าของ helix หรือเหนือต่อ tragus. บางครั้งรูที่บุ๋มลงไป อาจทำให้เกิดเป็นซิสต์หรือ fistula tract ได้ ทำให้เกิดมี discharge ไหลออกมาจากรูบริเวณหน้าหู มีกลิ่นเหม็น บางครั้งเกิดการอักเสบติดเชื้อ เกิดเป็นฝีหนองได้ จึงควรให้การรักษาเมื่อมีอาการ หรือดูไม่สวยงาม. ในกรณีที่มีการอักเสบติดเชื้อ ควรรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ ถ้ามีอาการเป็นฝีหนอง รักษาโดยการผ่าฝีบริเวณหน้าหู หลังจากการอักเสบฝีหนองหายแล้ว ควรรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเอารูหรือถุงน้ำ รวมทั้ง fistula tract ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการอักเสบติดเชื้อซ้ำอีก.

พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ พ.บ.
โสต ศอ นาสิกแพทย์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 

ป้ายคำ:
  • การดูแลบุตร
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • แม่และเด็ก
  • โรคตามระบบ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • การรักษารูบริเวณหน้าหู
  • โรคจอประสาทตา
  • นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 5,704 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa