Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » สิ่งแปลกปลอมในหลอดลม
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

สิ่งแปลกปลอมในหลอดลม

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มีนาคม 2550 00:00

เว็บไซต์วารสารคลินิกเปิดให้บริการแก่ทุกท่านที่สนใจในการส่งคำถามที่ท่านมีข้อสงสัย เกี่ยวกับเวชปฏิบัติ การใช้ยา และเรื่องราวที่น่าสนใจทางการแพทย์และเวชปฏิบัติทุกสาขาทางอินเตอร์เน็ต

สิ่งแปลกปลอมในหลอดลม
Q
อยากเรียนถามแนวทางการวินิจฉัยและดูแลเด็กที่สงสัยว่ามีการสำลักสิ่งแปลกปลอมครับ.

หมอใหม่

A สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก เป็นปัญหาที่พบได้ตลอดเวลาและในบางครั้งอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้. สาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสสำลักสิ่งแปลกปลอมได้ง่าย เพราะ

1. ขาดฟันกราม (molar teech) ซึ่งจำเป็นในการบดเคี้ยวอาหาร.
2. ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะต่างๆ ในการกลืนอาหารยังไม่สมบูรณ์ เช่น การยกของกล่องเสียง หรือการปิดของสายเสียงในขณะกลืนอาหาร.
3. ความอยากรู้อยากเห็นในเด็กเล็กต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยการหยิบสิ่งของต่างๆ เข้าปาก.
4. เด็กมักจะวิ่งหรือเล่นขณะกินอาหาร.

อาการแสดงของผู้ป่วยอาจมีความแตกต่างกันได้มาก ขึ้นกับตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกั้นทางเดินหายใจ.

สิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นบริเวณกล่องเสียง (laryngeal FB) อาจทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางการหายใจ ซึ่งต้องทำการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตก่อนที่จะส่งผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะไม่มีเสียง หรือเสียงแหบ, หายใจเสียง stridor, หายใจลำบาก, เขียวและเสียชีวิตได้.

สิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นบริเวณ trachea จะมีอาการคล้ายสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นบริเวณกล่องเสียง แต่จะไม่มีอาการเสียงแหบ จะมีลักษณะเฉพาะ 3 ประการคือ

1. Audible slap เป็นเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของสิ่งแปลกปลอมไปถูกกับผนังของ trachea ขณะหายใจเข้าหรือไอ ซึ่งจะได้ยินชัดขึ้นขณะอ้าปาก.

2. Palpable thud อธิบายการเกิดเสียงเหมือน audible slap โดยสามารถรู้สึกได้โดยการวางนิ้วมือบน trachea.

3. Asthmatoid wheeze เป็นเสียง wheezing ที่เสียงสูงและดังกว่า bronchial asthma สามารถ ฟังชัดขึ้นขณะอ้าปากและวาง stethoscope บริเวณ trachea เสียงจะเบาลงเมื่อฟังที่ทรวงอก.

สิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นบริเวณหลอดลม (bronchial FB) อาการและอาการแสดงเริ่มแรกคือ สำลัก, ไอ, wheezing. การตรวจร่างกายอาจพบมี respiratory wheezing และเสียง breath sound ลดลงในปอดข้างที่มีสิ่งแปลกปลอม ในบางครั้งผู้ป่วยอาจอยู่ในระยะที่ไม่แสดงอาการ อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัย.

การรักษา
เมื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย ถ่ายภาพรังสี สงสัยว่าผู้ป่วยสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
ควรปฏิบัติดังนี้

1. ดูแลทางเดินหายใจตามสภาวะของผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยมีการหายใจผิดปกติ พิจารณาทำ Heimlich maneuver, endobronchial intubation, cricothyrotomy หรือ tracheostomy ตามความเหมาะสม.

2. ให้ออกซิเจน.

3. สังเกตอาการทางระบบหายใจ และสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด อาจใช้ pulse oxymeter หรือ arterial blood gas.

4. งดอาหารและน้ำทางปาก.

5. ให้สารน้ำทางหลอดเลือด.

6. ไม่ควรพ่นยาหรือเคาะปอด เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมขยับ ทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตันได้.

7. ปรึกษาโสตศอนาสิกแพทย์, กุมารศัลยแพทย์ หรือศัลยแพทย์โรคทรวงอก.

8. รายงานกุมารแพทย์/กุมารแพทย์โรคทางเดินหายใจ.

9. รายงานวิสัญญี.

พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ พ.บ.
โสต ศอ นาสิกแพทย์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี


เป็นโรคตากุ้งยิงบ่อย
Q
อยากทราบถึงการรักษาและป้องกัน การเป็นตากุ้งยิงบ่อยๆ.

สมาชิก

A ตากุ้งยิงเกิดจากอุดตันและอักเสบของ ต่อมไขมันที่หนังตา เนื่องจากในเปลือกตาแต่ละข้างมีต่อมที่อาจอักเสบเป็นตากุ้งยิงได้มากกว่าข้างละ 40-50 ต่อม ดังนั้นในบางคนที่ถูกลม ฝุ่น หรือเชื้อโรคเข้าตาแล้วใช้มือที่ไม่สะอาดขยี้ตาก็อาจทำให้เป็นตากุ้งยิงและสามารถเป็นซ้ำได้บ่อยๆ.

                                  

ตากุ้งยิงเกิดจากการอุดตันและอักเสบติดเชื้อของต่อมน้ำตาหรือต่อมไขมันที่บริเวณหนังตา เช่นเดียวกับการเกิดสิวตามบริเวณใบหน้า โดยมักเริ่มจากการมีฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าตา แล้วมีการใช้มือที่ไม่สะอาดขยี้ตาจึงเกิดการอักเสบตามมา ไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องการแอบดูทำให้เป็นตากุ้งยิงแต่อย่างใด ตากุ้งยิงมีทั้งชนิดติดเชื้อและชนิดไม่ติดเชื้อ โดยแบ่งเป็นแบบตากุ้งยิงด้านนอก จะทำให้เห็นการอักเสบบริเวณเปลือกตาคือมีลักษณะบวม แดง ปวดที่บริเวณผิวเปลือกตา และตากุ้งยิงแบบด้านใน จะเห็นการอักเสบได้ชัดเมื่อปลิ้นเปลือกตาด้านในดู ตากุ้งยิงถ้าเป็นมากจะมีหนองนิ่มๆที่บริเวณตากุ้งยิงด้วย.

การรักษาตากุ้งยิง ขึ้นกับระยะที่เป็นตากุ้งยิง คือ
1. ตากุ้งยิงระยะแรก อาจมีเพียงอาการเจ็บ แดงเล็กน้อยบริเวณเปลือกตา การรักษาให้ประคบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละ 4 ครั้ง, นวดเบาๆที่เปลือกตาบ่อยๆ ห้ามขยี้ตา และใช้ยาปฏิชีวนะ โดยถ้ามีอาการเจ็บแดงบริเวณด้านในของเปลือกตา ใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา เช่น Poly-Oph®, Neosporin® หรือ tobramycin หยอดตาวันละ 4 ครั้ง และถ้ามีการอักเสบติดเชื้อ (บวม แดง) ของเปลือกตาบริเวณรอบๆ ร่วมด้วยให้ใช้ยาปฏิชีวนะเช่น amoxy cillin ชนิดกินร่วมด้วย.

2. ตากุ้งยิงระยะที่เป็นหนอง เมื่อคลำบริเวณตากุ้งยิง ตุ่มกุ้งยิงมีลักษณะนิ่มเป็นหนองข้างใน แพทย์จะให้การรักษาด้วยการเจาะหนองเพื่อรักษา โดยการใช้ยาชาชนิดฉีด อาจมีความรู้สำเจ็บบ้างขณะฉีดยาชา และมีการขูดผนังต่อมที่อักเสบออก เพื่อไม่ให้เป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิมอีก และใช้ผ้าปิดตาไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เลือดหยุด ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะหยอดตาต่อประมาณ 3-5 วัน.

การป้องกันไม่ให้เป็นตากุ้งยิงซ้ำอีก
สิ่งสำคัญนอกจากการรักษาคือการป้องกันการเป็นซ้ำของตากุ้งยิง เนื่องจากในเปลือกตาแต่ละข้างมีต่อมน้ำตาที่อาจอักเสบเป็นตากุ้งยิงได้มากกว่าข้างละ 40-50 ต่อม. ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าตาและห้ามใช้มือขยี้ตา เพราะอาจทำให้เป็นตากุ้งยิงซ้ำได้บ่อยๆ และควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบนวดบริเวณเปลือกตาที่เป็นกุ้งยิงตั้งแต่เพิ่งเริ่มเป็นใหม่ๆจะช่วยให้หายได้ดีขึ้น รวมทั้งควรพักผ่อนให้พอเพียงด้วยเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงจะได้หายเร็วและไม่เป็นโรคต่างๆ ง่าย.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ.
จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


กระเปาะลำไส้ใหญ่อักเสบ
Q
คุณลุงอายุ 60 ปี เป็นกระเปาะลำไส้อักเสบ คุณหมอแนะนำว่าต้องผ่าตัด ไม่ทราบว่าอันตรายขนาดไหนครับ.

ศุภชัย กิจศิริไพบูลย์
 
A
จากคำถาม เข้าใจว่าคงหมายถึงกระเปาะลำไส้ใหญ่อักเสบ (colonic diverticulitis) ซึ่งเป็นภาวะที่มักเกิดในผู้ป่วยอายุมาก ประมาณ 60-70 ปี โดยปกติลำไส้ใหญ่จะมีกระเปาะลำไส้ (diverticulum) ได้ และมักพบบ่อยบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วน sigmoid ซึ่งเป็นส่วนที่จะพบการอักเสบดังกล่าวได้บ่อยด้วยเช่นกัน เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะท้องน้อยด้านซ้าย อาจมีอาการคลื่นไส้ และอาจมีไข้ได้. การตรวจทางรังสีที่ช่วยวินิจฉัย ได้แก่ การทำเอกซเรย์ช่องท้องที่เรียกว่าการทำ CT scan ซึ่งจะช่วยบอกถึงตำแหน่งและลักษณะการอักเสบ ร่วมกับการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบร่วมด้วยได้. สำหรับภาวะนี้ ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือ เกิดการอักเสบซ้ำตั้งแต่ครั้งที่สองขึ้นไป หรือมีภาวะแทรกซ้อนของการอักเสบ เช่น มีการแตกทะลุของลำไส้ หรือการเกิดฝ•หรือโพรงหนองในช่องท้อง.

อันตรายของโรคนี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา คือการอักเสบติดเชื้อในช่องท้อง ซึ่งอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้. ในรายที่เป็นไม่มาก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และเป็นการอักเสบครั้งแรก จะให้การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ จนอาการดีขึ้น และยังไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งจะมีโอกาสอักเสบซ้ำได้ประมาณร้อยละ 30 แต่ถ้ามีการอักเสบครั้งที่สองแล้ว โอกาสการอักเสบซ้ำจะสูงขึ้นกว่านี้.

การผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการตัดลำไส้ส่วนที่มีปัญหาออก และทำการต่อลำไส้ หรือเปิดลำไส้ใหญ่ไว้หน้าท้อง ตามความเหมาะสม. ความเสี่ยงในการผ่าตัดขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ว่ามีการติดเชื้อรุนแรงมากหรือยัง และขึ้นกับว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคระบบอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่.

วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ.
ศัลยแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • แม่และเด็ก
  • โรคตามระบบ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • กระเปาะลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • โรคตากุ้งยิง
  • นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 7,173 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa