Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ไข้หวัดกับอาการหูอื้อ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ไข้หวัดกับอาการหูอื้อ

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 00:00



ไข้หวัดกับอาการหูอื้อ
Q
อยากทราบทำไมบางครั้ง เมื่อเป็นหวัดจะมีอาการหูอื้อร่วมด้วยครับ

วรวิทย์ อึ้งภูริเสถียร

A ในบางคนขณะที่กำลังเป็นหวัด คือ มีน้ำมูก คัดจมูก อาจจะมีอาการหูอื้อร่วมด้วย เนื่องจากท่อยูเตเชียนที่อยู่ระหว่างหูชั้นกลางกับบริเวณลำคอด้านหลังโพรงจมูกซึ่งมีหน้าที่ช่วยปรับความดันภายในหูชั้นกลางกับบรรยากาศภายนอก อาจเกิดทำงานผิดปกติทำให้เกิดอาการหูอื้อได้. อย่างไรก็ตามอาการ หูอื้อก็เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเป็นหูน้ำหนวก หรือมีน้ำขังในหูชั้นกลางร่วมด้วย ดังนั้นถ้ามีอาการหูอื้อร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาต่อไป.

ผู้ปกครองบางคนจะสังเกตเห็นว่า บุตรหลานบางครั้งเวลาเป็นไข้หวัด จะมีหูน้ำหนวก เป็นน้ำหนอง ไหลจากหู หรือมีปวดหู หูอื้อร่วมด้วย สาเหตุก็เนื่องจากคนเราจะมีท่อปรับความดัน ซึ่งจะมีปลายเปิดด้านหนึ่งอยู่ช่องหูชั้นกลาง กับอีกด้านหนึ่งอยู่ที่บริเวณลำคอด้านบนหลังโพรงจมูก เมื่อเป็นไข้หวัดมีการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ก็จะทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบเป็นหนอง เกิดเป็นหูน้ำหนวกได้.

ดังนั้นการรักษาก็จะต้องรักษาโรคหวัดร่วมกับโรคหูน้ำหนวกร่วมกันด้วย.

พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ พ.บ.
โสต ศอ นาสิกแพทย์
สถาบันสุขภาพเด้กแห่งชาติมหาราชินี

มองเห็นหยากไย่ลอยไปมา
Q
มีปัญหามองเห็นเหมือนหยากไย่ลอยไปมา เป็นๆ หายๆ ไม่ทราบว่าต้องไปพบแพทย์หรือไม่

รัชดาภรณ์ ตันติมาลา

A การมองเห็นหยากไย่ เกิดจากการเปลี่ยนสภาพจากน้ำวุ้นภายในลูกตา ในส่วนตรงกลางของน้ำวุ้นลูกตาเกิดการแยกตัวกันของน้ำวุ้นลูกตาและจอประสาทตา ประกอบกับน้ำวุ้นลูกตามีการหดตัวเล็กลงทำให้ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นเกิดมีเส้นใยของคอลลาเจนที่หนาขึ้นมาได้ เส้นใยเหล่านี้ก็จะลอยไปมาในน้ำวุ้นลูกตา ถ้าลอยมาตำแหน่งที่แสงผ่านเข้าตาก็จะทำให้เราเห็นเป็นเงาคล้ายหยากไย่หรือยุงลอยไปมาในตาของเรา ซึ่งมักจะเห็นได้ชัดเจนตอนอยู่ในที่สว่าง มองผนังสีขาวหรือก้มลงดื่มน้ำ บางทีเราเข้าใจ ว่าหยากไย่บังอยู่หน้าตาเรา ลองใช้มือจับก็ไม่พบ.

เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่า ใครที่มีอาการเห็นหยากไย่ในตาหรือแสงฟ้าแลบในตาจะมีปัญหาจอประสาทตาฉีกขาดตามมา จักษุแพทย์จึงใช้วิธีนัดมาตรวจจอประสาทตาหลายครั้งเป็นระยะๆ.

ในผู้ที่มีการเสื่อมและแยกตัวของน้ำวุ้นลูกตาร่วมกับมีอาการเห็นคล้ายหยากไย่หรือฟ้าแลบในตา จะมีจอประสาทตาฉีกขาดร่วมด้วยประมาณร้อยละ 15 ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการยิงเลเซอร์ เหมือนการใช้กาวทาซ่อมรูรั่วของวอลล์เปเปอร์ ไม่ให้วอล์ลเปเปอร์หลุดออกมาทั้งแผ่น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามัวเหมือนมีม่านบังตาบางบริเวณหรือบังภาพทั้งหมดของตา.

โดยทั่วไปจักษุแพทย์จะตรวจจอประสาทตา ผู้ที่มีอาการในครั้งแรกที่มาหา โดยหยอดยาขยายม่านตาซึ่งจะทำให้ตาข้างที่ขยายม่านตามองไม่ชัดชั่วคราวประมาณ 4-6 ชั่วโมง. ดังนั้นถ้าไปหาแพทย์ควรพาใครไปด้วยเพื่อช่วยเหลือตอนกลับบ้าน ถ้าตรวจแล้วปกติ ไม่พบจอประสาทตาฉีกขาด จักษุแพทย์ก็จะนัดตรวจอีกครั้งใน 4-6 สัปดาห์ต่อไป ถ้าตรวจแล้วปกติอีกก็จะนัดอีกเป็นระยะ. แต่ถ้าพบจอประสาทตาฉีกขาดก็จะรักษาโดยการยิงเลเซอร์หรือจี้ความเย็น ทั้งนี้การนัดอาจไม่เหมือนกันทีเดียวแล้วแต่จักษุแพทย์แต่ละท่าน. โดยทั่วไปจักษุแพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจโรค เพื่อให้สบายใจว่าส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นปัญหาอะไร ไม่ต้องรักษาอะไร เพราะตะกอนนี้ไม่สามารถล้างออกได้ อาการนี้จะอยู่ไปตลอดได้แต่ไม่อันตราย และมักจะลดลงได้ อาจเพราะความเคยชิน. แต่จะมีคนส่วนน้อยที่อาจมีปัญหาจอประสาทตาลอกตามมา โดยทั่วไปสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ให้มาตรวจและขยายม่านตาตามแพทย์นัด หรือถ้ามีอาการเห็นหยากไย่หรือแสงฟ้าแลบในตามากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือตามัวลง ให้รีบมาตรวจก่อนนัดเพราะอาจจะมีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ.
จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วัคซีนกับหญิงตั้งครรภ์
Q
อยากทราบว่าในช่วงตั้งครรภ์ สามารถ ฉีดวัคซีนได้หรือไม่คะ

ปิยะดา พูลสวัสดิ์

A
การให้วัคซีนแก่หญิงตั้งครรภ์นั้น ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยทั่วไปแล้วจะหลีกเลี่ยงการให้ ยกเว้นจำเป็นจริงๆ เช่น ต้องเดินทางไปในเขตที่มีการระบาดของโรค ต้องคำนึงถึงอัตราเสี่ยงของแม่และทารกในครรภ์ วัคซีนที่ฉีดในคนท้องค่อนข้างปลอดภัย ได้แก่ วัคซีนไข้เหลือง ไข้หวัดใหญ่ โปลิโอชนิดกิน (ห้ามใช้ชนิดฉีด) โรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี Herpes simplex บีซีจี (วัณโรค) ไอกรน คอตีบ (ชนิดผู้ใหญ่) บาดทะยัก (แนะนำให้ฉีดในหญิงมีครรภ์ไม่เกิน 3 เดือนก่อนคลอด) เป็นต้น. วัคซีนที่ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ ได้แก่ หัด คางทูม หัดเยอรมัน ไทฟอยด์ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนทุกครั้ง.

วิภาจรี นวสิริ ภ.บ.
เภสัชกร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • แม่และเด็ก
  • โรคตามระบบ
  • การตั้งครรภ์
  • โรคติดเชื้อ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • วัคซีนหญิงตังครรภ์
  • นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • ภกญ.วิภาจรี นวสิริ
  • อ่าน 64,840 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa