Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » เด็กน้ำตาคลอ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เด็กน้ำตาคลอ

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2550 00:00



Q เด็กที่มีปัญหาน้ำตาคลอตลอดเวลาแต่กำเนิด จะมีวิธีวินิจฉัยโรคและแนวทางให้การรักษาอย่างไร

รัชดาภรณ์ ตันติมาลา

A เด็กที่มีน้ำตาคลอข้างเดียวหรือทั้งสองตาอาจเป็นได้จากท่อน้ำตาอุดตันตั้งแต่เกิด ต้อหินตั้งแต่เกิด กระจกตาดำหรือเยื่อบุตาขาวมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ หรือมีการระคายเคืองจากสารเคมี. เด็กปกติมักจะเริ่มมีการสร้างน้ำตาเมื่ออายุประมาณ 3 สัปดาห์ไปแล้ว ดังนั้นแม้เด็กจะมีท่อน้ำตาอุดตัน เด็กมักจะเริ่มมีปัญหาน้ำตาไหลเมื่ออายุประมาณ 3 สัปดาห์ไปแล้วเช่นกัน จะขอกล่าวในรายละเอียดของแต่ละโรคที่ เป็นสาเหตุลูกตาแฉะ ดังต่อไปนี้

1. ท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิด พบได้ประมาณร้อยละ 15 ของเด็กเกิดใหม่ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา (ตำแหน่งอุดตัน อยู่บริเวณใกล้ปลายเปิดในจมูก) มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ > 3 สัปดาห์ เนื่องจากเริ่มมีการสร้างน้ำตา เด็กจะมีอาการตาแฉะหรือน้ำตาไหลหรือเป็นขี้ตาตลอดเวลา หรือเป็นๆหายๆ โดยเด็กจะไม่ร้องงอแงเหมือนมีขี้ตาจากภาวะเยื่อบุตาอักเสบ และไม่มีตาขาวเป็นสีแดงเหมือนกรณีมีขี้ตาจากการเป็นโรคตาแดง. การตรวจทำโดยการกดเบาๆ บริเวณหัวตา ข้างจมูก จะมีของเหลวเหนียวอาจเป็นหนองออกมาทางรูน้ำตาบริเวณใกล้หัวตา ภาวะนี้มักหายเองภายในอายุ 6 เดือน - 1 ปี แต่ยังอาจมีอาการในช่วงที่เด็กเป็นหวัด. ดังนั้นในเด็กที่หายจากปัญหาท่อน้ำตาตันแล้ว ยังควรนวดหัวตาต่อ และหลีกเลี่ยงการเป็นหวัด ซึ่งจะทำให้อาการกลับมาเป็นอีก.

ข้อเสนอแนะในการให้การดูแลรักษา
อายุ < 1 ขวบ
: แนะนำนวดหัวตาโดยการนวดคลึงบริเวณหัวตา แล้วไล่ลงมาถึงด้านข้างจมูก (creigler maneuver) วันละหลายๆครั้ง (เช่นวันละ 4 รอบ รอบละ 20 ครั้ง) และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Tobrex eyedrop หยอดตาวันละ 1-4 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน (ช่วงมีขี้ตามากควรหยอดวันละ 4 ครั้ง ส่วนช่วงไม่มีขี้ตาอาจให้หยอดวันละครั้งก่อนนอน) การนวดมีความสำคัญมาก เพราะยาหยอดเป็นเพียงการป้องกันขี้ตา แต่ต้องนวดให้เด็กอย่างสม่ำเสมอ เวลาที่เด็กมักยอมให้นวดคือขณะ กินนมหรือนอนหลับ จะทำให้การนวดมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น.

อายุ > 1 ขวบ
: แนะนำพบจักษุแพทย์ อายุมากกว่า 1 ปี อาจนวดหัวตาไม่หาย อาจต้องทำการดมยาสลบเพื่อแยงท่อน้ำตา (probing) ให้ท่อน้ำตาหายอุดตัน.

2. เยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง อาจเป็นได้บ่อยในเด็กเล็ก เพราะภูมิต้านทานยังอ่อนแอ ถ้าเด็กหรือคนเลี้ยงใช้มือที่ไม่สะอาดถูกตาเด็ก อาจทำให้มีตาแดง มีน้ำตาและขี้ตาสีเขียวเหลืองได้ แต่เด็กมักร้องงอแง เพราะเคืองตา ต่างจากกรณีเป็นขี้ตาจากท่อน้ำตาอุดตัน ซึ่งเยื่อตาขาวมักไม่แดง และเด็กไม่งอแงมากกว่าปกติ การรักษากรณีเป็นโรคตาแดง ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะมาหยอดตา.

3. โรคต้อหินแต่กำเนิด จะมีลักษณะที่สำคัญคือตาข้างที่เป็นจะมีน้ำตาไหล ตาไม่สู้แสง และเด็กบีบตา นอกจากนี้ในเด็กบางคนที่เป็นมาก จะมีกระจกตาดำข้างที่เป็นใหญ่กว่าปกติและอาจเป็นฝ้าขาวร่วมด้วย ต้องรีบพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาแต่เนิ่นๆ การรักษาประกอบด้วยการผ่าตัดและการใช้ยาหยอดตาลดความดันตา.

4. กระจกตาดำหรือเยื่อบุตาขาวมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ทำให้ระคายเคืองตา ถ้าสงสัยมีสิ่งแปลกปลอมในตาเด็ก ต้องพบแพทย์เพื่อให้การรักษาโดยเอาสิ่งแปลกปลอมออก และให้ยาหยอดตาตามแต่ลักษณะของอาการ.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ.
จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


การผ่าตัดริดสีดวงทวาร
Q
อยากทราบว่าถ้าเป็นริดสีดวงทวาร และจะผ่าตัดด้วยเครื่องมือผ่าตัดริดสีดวงได้หรือไม่ เพราะมีการโฆษณาว่าดี ไม่เจ็บ

ปิยะดา พูลสวัสดิ์

A สำหรับริดสีดวงทวารหนัก ต้องแยกว่าเป็นชนิดภายในหรือภายนอก หรือเป็นร่วมกัน โดยทั่วไปโอกาสต้องรักษาด้วยการผ่าตัดมีค่อนข้างน้อย ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในกรณีที่เป็นริดสีดวงภายในระดับที่ 4 หรือระดับที่ 3 บางรายที่รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล และสำหรับริดสีดวงทวารหนักแบบภายนอกที่มีอาการ เลือดออกหรืออักเสบมากและเป็นซ้ำๆ หลายครั้งจนรบกวนชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีข้อบ่งชี้ในกรณีที่เป็นริดสีดวงทวารร่วมกับโรคทางทวารหนักอื่นๆ ที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดอยู่แล้ว.
สำหรับเครื่องมือผ่าตัดริดสีดวง เป็นเครื่องมือที่เราเรียกว่า Stapler ซึ่งศัลยแพทย์จะใช้เพื่อผ่าตัด ตัดต่อริดสีดวงและแผลจะอยู่ภายในรูทวารหนัก ถ้าทำได้ถูกต้อง จะไม่มีอาการเจ็บมาก และไม่มีบาดแผล ภายนอก อย่างไรก็ดี วิธีนี้นั้นไม่สามารถใช้รักษากรณีที่มีริดสีดวงทวารหนักแบบภายนอกร่วมด้วย หรือรักษากรณีที่เป็นริดสีดวงทวารแบบภายนอกเพียงอย่างเดียว. อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีราคาแพงกว่าวิธีปกติค่อนข้างมาก เพราะเครื่องมือมีราคาประมาณหมื่นบาทเศษ.

ในความเห็นส่วนตัว เห็นว่าวิธีนี้อาจเหมาะสำหรับรายที่เป็นริดสีดวงทวารหนักแบบภายใน โดยเฉพาะรายที่เป็นแบบรอบวง (circumferential) เท่านั้น.

วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ.
ศัลยแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • การดูแลบุตร
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • แม่และเด็ก
  • โรคตามระบบ
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • ริดสีดวงทวาร
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 24,700 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa