Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของยารักษาโรคเบาหวาน
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของยารักษาโรคเบาหวาน

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กันยายน 2550 00:00

Q : ความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของยารักษาโรคเบาหวานแต่ละชนิดแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร?

                    

  ภาพที่ 1. แสดงประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีการต่างๆที่ระยะเวลา 3,6 และ 
                  9 ปี2

A
: การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีเป้าหมายสำคัญคือควบคุมระดับในเลือดให้อยู่ในช่วง 90-130 มก./ดล. และ HbA1C น้อยกว่า 7% เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปลายมือ ปลายเท้าชา ตาบอด ไตเสื่อม และโรคหัวใจและหลอดเลือด.1

เมื่อให้การรักษาด้วยยาลดน้ำตาลในเลือดไประยะหนึ่งจะพบว่าความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เป้าหมายจะลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการที่ต้องใช้ยารักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้ความร่วมมือในการใช้ยาลดลง ภาวะดื้ออินซูลินที่เพิ่มขึ้น และอีกสาเหตุหนึ่งคือ ความล้มเหลวของ ยารักษาโรคเบาหวาน. จากการศึกษาของ UKPDS 49 ซึ่งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การควบคุมอาหาร การใช้อินซูลิน การใช้ยากลุ่ม sulphonyl-urea และ metformin พบว่าประสิทธิภาพของแต่ละวิธีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ใน เป้าหมาย (FBS < 140 มก./ดล. และ HbA1C < 7%) จะลดลงเมื่อติดตามเป็นระยะเวลา 3, 6 และ 9 ปี2 (ดังแสดงในภาพที่ 1).

และจากการศึกษาของ Kahn SE และคณะ ในปี พ.ศ. 2549 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของยา 3 ชนิดคือ Glyburide® (glibenclamide), metformin และ rosiglitazone ในการเริ่มต้นรักษาโรคเบาหวาน พบว่าหลังจากการติดตามเป็นระยะเวลา 5 ปี ผู้ป่วยแต่ละกลุ่มจะเกิดความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 มก./ดล. เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์หลังจากการใช้ยาในขนาดสูงสุด คือ Glyburide® 15 มก./วัน metformin 2 กรัม/วัน rosiglitazone 8 มก./วัน) ดังต่อไปนี้3

- Glyburide เกิดความล้มเหลวในการรักษาร้อยละ 34.
- Metformin เกิดความล้มเหลวในการรักษาร้อยละ 21.
- Rosiglitazone เกิดความล้มเหลวในการรักษาร้อยละ 15 (ดังแสดงในภาพที่ 2).

                  
  ภาพที่ 2. แสดงอุบัติการณ์สะสมของการเกิดความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยยา
                  รักษาโรคเบาหวาน.3

สาเหตุสำคัญของความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของยารักษาเบาหวาน คือ บีต้าเซลล์ทำงานลดลง (declining of b-cell function). การศึกษาของ Kahn SE และคณะ ในปี พ.ศ. 2549 พบว่ายารักษาโรคเบาหวานแต่ละชนิดจะมีผลต่อการทำงานของบีต้าเซลล์ต่างกัน จึงมีอัตราล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่างกันดังนี้ (ดังแสดงในภาพที่ 3).

                       
                                    ภาพที่ 3. แสดงผฃของยาต่อการทำงานของบีต้าเซลล์.3

1. ยากลุ่ม sulphonyluria

ยาที่ใช้ในการศึกษาคือ Glyburide® (glibenclamide) ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน จึงพบว่าระดับน้ำตาลในลดลงอย่างมากโดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก จากนั้นการ ทำงานของบีต้าเซลล์ลดลงอย่างรวดเร็วจากการเกิด down regulation ของบีต้าเซลล์.

2. Metformin
เป็นยากลุ่ม biguanide มีกลไกหลักในการออกฤทธิ์ผ่านการกระตุ้น adenosine monophosphate kinase (AMP-kinase) จึงลด gluconeogenesis และเพิ่ม insulin sensitivity ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล ในเลือดไม่มากเหมือนยากลุ่ม sulphonyluria คือ ลดได้ประมาณ 55 มก./ดล. ต่อขนาดยา metformin 2 กรัม/วัน และคงประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นานกว่ายากลุ่ม sulphonyluria แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของความล้มเหลวในการควบคุมระดับในเลือด.3

3. ยากลุ่ม thiazolidinedione
ซึ่งได้แก่ rosiglitazone ออกฤทธิ์โดยการจับกับ peroxisome-proliferator-activated receptor gamma (PPAR-gamma) แล้วไปมีผลกระตุ้นหรือลดการสร้างโปรตีนต่างๆ ผลสุดท้ายคือการลดระดับน้ำตาลในเลือดและการเพิ่ม insulin sensitivity ดังนั้นผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงคล้ายกับ metformin และยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของความล้มเหลวในการควบคุมระดับในเลือด.3

ดังนั้น การควบคุมน้ำตาลในเลือด ในระยาวจึงต้องเพิ่มยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันและการปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต เพื่อเสริมกันในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย.

เอกสารอ้างอิง
1. Stratton IM, Adler AI, Neil HAW, Matthews DR, Manley SE, Cull CA, et al. Association of glycaemia with macrovascular and microvascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35) : prospective observational study. BMJ 2000; 321:405-12.
2. Turner RC, Cull CA, Frighi V, Holman RR. Glycemic control with diet, sulfonylurea, metformin, or insulin in patients with type 2 diabetes mellitus : progressive requirement for multiple therapies (UKPDS 49). JAMA 1999; 281:2005-12.
3. Kahn SE, Haffner SM, Heise MA, Herman WH, Holman RR, Jones NP, et al. Glycemic Durability of Rosiglitazone, Metformin, or Glyburide Monotherapy. N Engl J Med 2006; 355:2427-43.

นศภ.นัทพล มะลิซ้อน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คทา บัณฑิตานุกูล ภ.บ., B.Sc. in Pharm, M.Pharm. (Community pharmacy) Board Certified of Pharmacotherapy ประธานมูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน

 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • เบาหวาน
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบเรื่องยา
  • นศภ.นัทพล มะลิซ้อน
  • ภก.คทา บัณฑิตานุกูล
  • อ่าน 6,981 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa