Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ปริศนาคลินิก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปริศนาคลินิก

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 ตุลาคม 2550 00:00

"ภาพหนึ่งภาพอาจมีความหมายมากกว่าอักษรนับร้อยนับพันคำ การเรียนรู้จากภาพจริงเกี่ยวกับผู้ป่วย คือที่มาของ " ปริศนาคลินิก" ซึ่งบรรจุเนื้อหาอันเป็นปริศนาที่เลือกสรรอย่างบรรจงจากวิทยากรเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน"

สมนึก สังฆานุภาพ พ.บ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์, หน่วยโรคติดเชื้อ, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


                                                 
                                    ภาพที่ 1.
การย้อมสี Wright ไขกระดูกของผู้ป่วยรายที่ 1.

รายที่ 1
หญิงอายุ 29 ปี มาด้วยอาการน้ำหนักลด อ่อนเพลีย และมีไข้เรื้อรังมา 3 สัปดาห์. การตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยผอม ซีด มีฝ้าขาวในปาก และปรากฏรอยแผลเป็นงูสวัดที่ท้องด้านขวา. การตรวจ CBC พบฮีโมโกลบิน 8.2 กรัม/ดล., ฮีมาโตคริต ร้อยละ 27, และเม็ดเลือดขาว 2,340 เซลล์/มม.3 เจาะไขกระดูกย้อมสี Wright พบลักษณะดังภาพที่ 1.

คำถาม
1. บรรยายสิ่งตรวจพบและให้การวินิจฉัย.
2. ให้การรักษา.

                                                    

                                 ภาพที่ 2. ผื่นบริเวณใบหน้า หน้าอก คอ ของผู้ป่วยรายที่ 2.


                                             
                                  ภาพที่ 3.
ผื่นบริเวณข้อพับแขนทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยรายที่ 2.


                                    
                                                  ภาพที่ 4.
ภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วยรายที่ 3.

จิโรจ สินธวานนท์ พ.บ.
ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง, กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข


รายที่ 2
เด็กชายไทย อายุ 10 ปี มีภูมิลำเนาที่จังหวัดนนทบุรี มีประวัติเป็นผื่นลอกคันที่บริเวณใบหน้า หน้าอก คอ ข้อพับแขนขา ก้น หลัง มานาน 7 ปี. อาการเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยรู้สึกคันมาก เวลาเหงื่อออกจะแสบและคันบริเวณผื่น สังเกตว่าเวลาเป็นไข้ เป็นหวัดอาการจะเป็นมากขึ้น เวลากินกุ้ง ปลาหมึกผื่นจะเป็นมากขึ้น เวลาเล่นกับสุนัขที่บ้านจะมีอาการ ไอ จาม คันจมูก คันนัยน์ตา ปกติจะเป็นคนผิวแห้ง ในบ้านมีคุณแม่เป็นโรคหืด. ไปพบแพทย์ที่คลินิกว่าเป็นโรคแพ้เหงื่อ ให้ยาทาดีขึ้นแต่เป็นใหม่เรื่อยๆ เคยเป็นมากและมีการอักเสบต้องหยุดเรียน.

การตรวจร่างกายพบผื่นสีชมพู แดง แห้งลอก ขอบเขตไม่ชัดเจนที่บริเวณแก้ม 2 ข้าง เปลือกตา รอบปาก คอ (ภาพที่ 2) และหน้าอก หลังส่วนกลาง ข้อพับแขน (ภาพที่ 3) และขา มีรอยเกาและแผลแกะเกาทั่วไป.

คำถาม
1. จงให้การวินิจฉัยโรค.
2. จงให้การวินิจฉัยแยกโรค.
3. ควรตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมอะไรบ้าง.
4. จงให้การรักษา.

เจริญพิน เจนจิตรานันท์ พ.บ.
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรังสีวิทยา


รายที่ 3
หญิงไทยโสด อายุ 50 ปี มีอาการปัสสาวะบ่อยครั้ง นาน 1 เดือน. การตรวจภายในคลำได้ก้อนใน อุ้งเชิงกราน. ภาพถ่ายทางรังสีปรากฏลักษณะดังภาพที่ 4.

คำถาม
1. ภาพที่เห็นเป็นการตรวจอะไร.
2. จงบอกความผิดปกติที่เห็น.
3. จงให้การวินิจฉัยโรค.

เฉลยปริศนาคลินิก

รายที่ 1
1. จากการย้อมไขกระดูกด้วยสี Wright พบ เชื้อจุลชีพค่อนข้างกลมขนาดเล็ก ไม่มีแคปซูล อยู่ภายในและภายนอกเม็ดเลือดขาว มีลักษณะ binary fission ชัดเจน เข้าได้กับ Penicillium marneffei. การวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยรายนี้จึงเป็น penicilliosis. การตรวจพบฝ้าขาวในปากและรอยแผลเป็นงูสวัด บ่งชี้การติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งพบว่าผลการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวีเป็นบวก. ผลการเพาะเชื้อเลือดและไขกระดูกพบเชื้อ P. marneffei จึงจัดกลุ่มเป็นโรคเอดส์.

2. ควรรักษาผู้ป่วยรายนี้ด้วยยา amphotericin B ในขนาด 0.7-1 มก./กก./วัน หรือ itraconazole ในขนาด 400-600 มก./วัน เป็นเวลา 8-10 สัปดาห์ และต่อด้วย itraconazole ในขนาด 200-400 มก./วัน ตลอดไป. หลังจากที่โรคติดเชื้อฉวยโอกาสเริ่มสงบและแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีปัญหาจากยาต้านเชื้อราที่ใช้ ควรพิจารณาให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยรายนี้ โดยต้องเลือกใช้สูตรยาต้านไวรัสที่ไม่มีปฏิกิริยาระหว่างยาต่อยา itraconazole เมื่อผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสจนมีปริมาณ CD4 มากกว่า 100 เซลล์/มม.3 นาน 3-6 เดือนขึ้นไปและสามารถกินยาต้านไวรัสต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ จะสามารถหยุดยา itraconazole ได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น และยืดชีวิตผู้ป่วยได้.

รายที่ 2
1. การวินิจฉัยคือ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis, AD) โรคนี้เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้อง ที่พบบ่อยในวัยเด็ก. มีลักษณะที่สำคัญทางคลินิกคือ มีอาการคันมาก ผิวหนังแห้ง อักเสบและมีการกำเริบเป็นระยะๆ. ผู้ป่วยอาจมีระดับ IgE ในเลืดสูง ส่วนใหญ่มีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ เช่นโรคหืด (asthma) โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) การวินิจฉัยอาศัยจากประวัติของผื่นเรื้อรัง. ประวัติ การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร เหงื่อ ความร้อน สัตว์เลี้ยง ประวัติครอบครัว. โรคนี้อาจพบการอักเสบติดเชื้อร่วมดัวยจากการเกา อาการแสดงอาจแบ่งเป็น 3 ช่วงง่ายๆ คือในวัยเด็กเล็กอาจพบผื่นบริเวณแก้ม ลำตัว ในวัยเด็กโตมักพบผื่นบริเวณใบหน้าและข้อพับแขนขา ในผู้ใหญ่มักพบบริเวณลำตัว คอ แขน ขา ทั้งด้านนอกและด้านใน. ผู้ป่วยอาจมีอาการฝ่ามือฝ่าเท้าหนา หยาบแห้งลอกเรื้อรังได้.

2. การวินิจฉัยแยกโรค ต้องแยกจากโรคผิวหนังอักเสบทั่วไปต่างๆ เช่น 1) Seborrheic dermatitis 2) Air- borne contact dermatitis 3) Contact dermatitis 4) Drug reaction.

3. ไม่จำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัย ในกรณีที่ให้การรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอาจมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น Skin prick test, Patch test, การทดสอบการแพ้อาหารโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอาการรุนแรง, การเจาะเลือดตรวจ specific IgE ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ.

4. เป้าหมายการรักษาคือ พยายามควบคุมอาการต่างๆ ของโรค ป้องกันไม่ให้โรคกำเริบและอยู่ในช่วงสงบนานที่สุดจนกว่าโรคจะหายไป

4.1 แพทย์ควรให้ความรู้กับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและปัจจัยกระตุ้น เช่นหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการก่อภูมิแพ้ เช่น นม ไข่ อาหารทะเล.
4.2 เลี่ยงความร้อน ความเย็น ความเครียด.
4.3 หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่หยาบหรือคับ ควรใช้ผ้าฝ้าย.
4.4 ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป น้ำไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป หลังอาบน้ำให้ทาครีมให้ความชุ่มชื้นทุกครั้ง เลี่ยงการให้ครีมหรือน้ำยาทำความสะอาดที่ผสมสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคือง.
4.5 การรักษาให้ยาในกลุ่ม corticosteroid ที่มี potency ต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของสตีรอยดŒ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้หยุดยาเป็นช่วงๆ ได้ โดย ให้ทา moisturizer อย่างต่อเนื่อง การใช้ systemic steroid อาจเกิดผลข้างเคียงได้จึงไม่แนะนำให้ใช้นอกจากกรณีจำเป็นเท่านั้น โดยขนาดที่ใช้เช่น prednisolone 0.5-1 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 สัปดาห์. การให้ antihistamine ช่วยลดอาการคัน ได้ดีและหยุดได้เป็นระยะๆ ปัจจุบันมียากลุ่มใหม่ คือ กลุ่ม topical immunomodulators (TIMs) ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ซึ่งสามารถใช้ในการรักษาและควบคุมโรคดีแต่ยังมีราคาแพง ด้านการใช้ยาปฏิชีวนะจะใช้เมื่อมีการอักเสบติดเชื้อเท่านั้นและไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในกรณีผื่นเป็นมาก ควบคุมได้ยากอาจพิจารณาใช้การฉายรังสีอัลตรา- ไวโอเลตได้. ในการดูแลผู้ป่วย atopic dermatitis จำเป็นที่ผู้ให้การรักษาต้องคำนึงถึงและให้ความช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วย.

รายที่ 3
1. Ultrasonogram ของช่องท้องตอนล่าง.
2. ปรากฏเงาคล้ายมดลูก 2 อันในอุ้งเชิงกรานทั้ง 2 ข้าง ตรงกลางส่วนล่างของเงามดลูกทั้งสองติดเชื่อมกัน.
3. Bicornuated uterine fundus เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ต้องระวังแยกโรคจากก้อนเนื้องอกของมดลูกและรังไข่.
 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • โรคติดเชื้อ
  • โรคผิวหนัง
  • คุยสุขภาพ
  • ปริศนาคลินิก
  • นพ.จิโรจ สินธวานนท์
  • ผศ.นพ.สมนึก สังฆานุภาพ
  • พญ.เจริญพิน เจนจิตรานันท์
  • อ่าน 5,236 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa