Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2549 00:00

Q    :   อยากทราบเรื่องการตรวจหามะเร็งลำไส้  ใหญ่ด้วยการทำ CT colonography ว่าดีหรือไม่อย่างไร.

                                                                                                                                              สมาชิก

A   :  ปัจจุบันการตรวจเพื่อสืบค้นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่นิยมใช้ในรายที่มีข้อบ่งชี้ คือ กลุ่มที่มีอาการทางลำไส้ใหญ่ หรือกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค นิยมทำการตรวจโดย

- การตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ (barium enema) ซึ่งมีข้อดี คือ ไม่เจ็บ ทำได้ทั่วไปโดยเฉพาะในโรงพยาบาลต่างจังหวัด หรือตามโรงพยาบาลที่มีแผนกรังสี แต่ข้อเสียสำคัญคือ ถ้าผลเป็น negative  ยังอาจมี false-negative คือตรวจไม่พบพยาธิสภาพทั้งๆ ที่มีอยู่จริงได้เช่นกัน. ดังนั้น ถ้าผลของการตรวจไม่พบมะเร็ง ห้ามบอกผู้ป่วยว่าลำไส้ใหญ่ปกติ แต่ควรแจ้งว่าตรวจเบื้องต้นแล้วไม่พบมะเร็ง จากภาพถ่ายรังสี ถ้ายังมีความสงสัย อาจต้องพิจารณาตรวจ เพิ่มเติมด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป.

- การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colo-noscopy) เป็นการตรวจโดยใช้กล้องที่เป็น fiberoptic scope ส่องเข้าไปดูในลำไส้ใหญ่ ข้อดีคือ สามารถเห็นได้ชัดเจน และมีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยพยาธิสภาพมากกว่าการตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ และทำการตัดชิ้นเนื้อตรวจได้ด้วย แต่ข้อเสียสำคัญคือ ต้องใช้ยาสลบ หรือยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยไม่เจ็บในขณะทำการตรวจ. 

- การตรวจด้วยเครื่องมือ CT colono-graphy ซึ่งเป็นการใช้ CT scan มาทำ reconstruction ให้เห็นภาพในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการตรวจสืบค้นพยาธิสภาพทางลำไส้ใหญ่ในประเทศไทย โดยผู้ป่วยต้องเตรียมลำไส้ใหญ่ก่อนการตรวจ เหมือนกับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เช่นกัน. ข้อดีคือไม่เจ็บ แต่ข้อเสียสำคัญคือ ยังพบมี false-positive ค่อนข้างมาก เช่น การตรวจพบอุจจาระ แต่อ่านผลว่าเป็นติ่งเนื้อ (polyp) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องมาทำการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่อยู่ดี. ที่ใช้ในปัจจุบันสำหรับการตรวจวิธีนี้ ในความเห็นของผู้เขียน อาจพิจารณาส่งตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับการตรวจส่องกล้อง ลำไส้ใหญ่ได้ เช่น รายที่มีมะเร็งลำไส้ใหญ่และมีการอุดตันมากจนไม่สามารถผ่านกล้องขึ้นไปตรวจหาพยาธิสภาพในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นได้ อาจใช้ CT colonography ในการตรวจหา synchronous lesion ในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น หรือในกรณีรายที่ทำการตรวจลำไส้ใหญ่ได้ยาก ด้วยเหตุผลทางกายวิภาค (difficult colonoscopy) อาจใช้วิธีนี้แทน.

ในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าการตรวจที่มีความไวและความจำเพาะสูงสุด คือการส่องกล้องลำไส้ ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ ยังคงเป็น alternative option ที่ยอมรับได้ และยังเหมาะสมกับประเทศไทย เนื่องจากราคาถูก และทำได้ในโรงพยาบาลรัฐบาลแทบทุกระดับ.

 

วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ.,ศัลยแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี,มหาวิทยาลัยมหิดลศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ., น.บ.,สาขาวิชาจักษุวิทยา, คณะแพทยศาสตร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 4,469 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <