Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ฝีคัณฑสูตร
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ฝีคัณฑสูตร

โพสโดย somsak เมื่อ 1 มีนาคม 2549 00:00

ถาม   :   อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาฝีคัณฑสูตรครับ ไม่ทราบว่าผ่าแล้วจะหายขาดหรือไม่และจะกลั้นอุจจาระได้หรือไม่.

 

                                                                                                                                      กจีรา วรวงศ์

ตอบ   :   โรคฝีคัณฑสูตร (fistula in ano) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของ anal gland และเกิดทางเชื่อมระหว่างภายในทวารหนักกับผิวหนังภายนอก. สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดทางเชื่อมดังกล่าวแต่พบได้น้อยกว่า เช่น วัณโรค หรือมะเร็งทวารหนัก.

การวินิจฉัยโรคมักไม่เป็นปัญหาจากอาการและอาการแสดงที่พบได้ คือ การพบน้ำเหลือง หรือเลือดปนหนอง ร่วมกับมีตุ่มซึ่งอาจกดเจ็บได้. ในระยะที่เป็น fistula phase แต่ในระยะแรกหรือระยะเฉียบพลันอาจพบการอักเสบเป็นโพรงหนอง (abscess). การตรวจที่สำคัญที่ต้องระบุไว้เสมอคือความตึงตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (sphinctertone).

การรักษาโรคนี้เพื่อให้หายขาดมีวิธีเดียวคือการผ่าตัด ซึ่งโดยตัวของโรคเองเป็นข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดอยู่แล้ว โดยศัลยแพทย์จะทำการหารูเปิดภายใน (internal opening) ซึ่งจะอยู่ที่ระดับของ dentate line และมองหาช่องทางเชื่อมด้านข้าง (side tract) ที่มีโดยการใช้แท่งเหล็กเล็กๆ (probe) หรือใช้สี (methylene blue) หรือใช้ H2O2 ฉีดเข้าจากรูเปิดภายนอก (external opening). เมื่อได้ช่องทางติดต่อทั้งหมดแล้วจึงทำการผ่าตัดต่อไปด้วยการผ่าตัดเปิดช่องทางที่เป็น fistula tract (fistulotomy) หรือทำการผ่าตัดปิดช่องทางดังกล่าวหลังจากการตัด tract ออก (fistula tract excision หรือ fistulectomy). อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดรักษาโรคนี้ต้องคำนึงถึงสภาพของกล้ามเนื้อหูรูดและปริมาณกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักที่อาจจะต้องถูกตัดไปในขณะผ่าตัดด้วย ซึ่งบางครั้งอาจต้องทำการผ่าตัดเป็นขั้นตอน (staged operation)โดยการใช้ไหมดำ (silk) ผูกกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักในส่วนที่อยู่เหนือต่อ fistula tract ก่อนที่จะมาทำการผ่าตัดแยกกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักในส่วนดังกล่าวภายหลังเมื่อเกิด fibrosis แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ (fecal incontinence).


โดยทั่วไปการผ่าตัดมักใช้ยาชาเฉพาะส่วน (regional anesthesia) หรืออาจใช้ยาชาเฉพาะที่ได้ในรายที่ทิศทางของฝีคัณฑสูตรเป็นแบบตื้นๆ.ในรายที่เป็นฝีคัณฑสูตรแบบลึกอาจต้องนอนพักในโรงพยาบาล ประมาณ 1-2 วัน.

การผ่าตัดถ้าสามารถหารูเปิดภายในได้ (internal opening) ในทางทฤษฎีควรจะหายขาดร้อยละ 100 แต่ในทางปฏิบัติจะหายขาดได้ประมาณร้อยละ 80-90 ยกเว้นในรายที่ไม่สามารถหารูเปิดภายในได้ ก็จะพบอัตราการกลับเป็นซ้ำสูง.

ถ้าไม่ทำการรักษา โรคนี้จะมีการเกิดการอักเสบเป็นๆ หายๆ และทำให้เกิดโพรงฝีหรือช่องทางติดต่อ (fistula tract) มากขึ้นได้ บางครั้งโรคนี้อาจไม่มีอาการได้นานหลายปีกว่าจะเกิดการอักเสบเฉียบพลันถ้าเป็นนานๆเกิน 10 ปีมีรายงานว่าสามารถพบการเกิดมะเร็งได้ (squamous cell carcinoma of fistula tract).

 

วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ.,ศัลยแพทย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล
ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ., น.บ.,สาขาวิชาจักษุวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ป้ายคำ:
  • ระบบทางเดินอาหาร
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • ริดสีดวง
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 18,472 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa