Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » คำถามเกี่ยวกับยาบรรเทาปวด
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

คำถามเกี่ยวกับยาบรรเทาปวด

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2551 00:00

ถาม
หญิงโสดอายุ 20 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง nasopharynx ระยะที่ 4 มีอาการปวดระดับรุนแรงที่สะโพกเนื่องจากมีการกระจายของโรคมะเร็งไปที่กระดูก (pain score 10/10 จาก visual analog scale). ผู้ป่วยได้กินยาแก้ปวด tramadol (50 มก.) 1x4 pc ภายหลังจากที่ได้รับยา อาการปวดทุเลาลง(pain score ลดลงเหลือ 7/10) มีคำถามจากทีมรักษาว่าสามารถเพิ่มยา morphine เพื่อช่วยในการควบคุมอาการปวดในผู้ป่วยรายนี้ได้หรือไม่ หากอาการปวดยังอยู่ในระดับรุนแรง?

 

ตอบ
ตามหลักทางเภสัชวิทยาไม่แนะนำให้ใช้ยาทั้ง 2 ขนานร่วมกัน เนื่องจากทั้ง morphine และ tramadol จัดอยู่ในกลุ่ม  ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งโดย อาศัยการกระตุ้นตัวรับ m-opioid ชนิดเดียวกัน. เนื่องจาก morphine มีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการปวดสูงกว่า tramadol ซึ่งจัดเป็นยากลุ่ม weak-opioid. การที่ให้ยา 2 ขนานที่มีกลไกการออกฤทธิ์เดียวกันร่วมกัน มีผลทำให้เกิดการแย่งกันจับกับตัวรับ m-opioid ทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมอาการปวดของยาแต่ละขนานโดยเฉพาะ morphine ซึ่งเป็น strong-opioid เป็นไปอย่าง ไม่เต็มที่. นอกจากนั้น การให้ยาดังกล่าวร่วมกันจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงเนื่องจากยาไปกระตุ้นตัวรับอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น อาการท้องผูก การกดการหายใจ ดังนั้นจึงส่งผลเสียให้เกิดกับผู้ป่วยมากกว่าการใช้ยาเดี่ยว. ในกรณีผู้ป่วยข้างต้น องค์การ อนามัยโลกไม่แนะนำให้ใช้ยา tramadol ในการรักษาอาการปวดระดับรุนแรง (pain score 7-10) ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนไปใช้ morphine แทนเพียง ชนิดเดียว ซึ่งสามารถให้ร่วมกับยาแก้ปวดอื่นที่ไม่ใช่   opioid (adjuvant analgesics) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปวด เช่น ยาในกลุ่ม NSIADs (ibuprofen, naproxen) หรือพาราเซตามอล เนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ไม่ทับซ้อนกัน

.

เอกสารอ้างอิง
 1. Baumann TJ. Pain management. In : DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, eds. Pharmacotherapy : a pathophysiologic approach. 6th ed. New York : McGraw-Hill, 2005:1089-104.

 2. Gutstein HB, Akil H. Opioid Analgesics. In : Brunton LL, Lazo LS, Parker KL. Goodman & Gilman 's The Pharmacological Basis of Therapeutics. 11th ed. New York : McGraw-Hill, 2006.

 3. Stockler M, Vardy J, Pillai A, Warr D. Acetaminophen (paracetamol) improves           pain and well-being in people with advanced cancer already receiving a strong opioid regimen : a randomized, double-blind, placebo-controlled cross-over trial. J Clin Oncol 2004 Aug 15; 22(16):3389-94. 

 4. World Health Organization. Cancer pain relief. With a guide to opioid availability. 2nd ed. Geneva : WHO, 1998. [available online at : http://whqlibdoc.who.int/publications/9241544821.pdf]
 

พีรวัฒน์ จินาทองไทย ภ.บ., ประกาศนียบัตรบัณฑิต (เภสัชบำบัด), เภสัชกรประจำบ้าน กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,

สุณี เลิศสินอุดม ภ.บ., อ.ภ., ประกาศนียบัตรบัณฑิต (เภสัชบำบัด), อาจารย์, สาขาวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น,

สุภัสร์ สุบงกช ภ.บ., M.Sc (Clinical Research), Pharm.D. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • ยาและวิธีใช้
  • คุยสุขภาพ
  • ดูแลสุขภาพ
  • ถาม-ตอบเรื่องยา
  • ผศ.ภก.สุภัสร์ สุบงกช
  • ภก.พีรวัฒน์ จินาทองไทย
  • ภก.สุณี เลิศสินอุดม
  • อ่าน 8,238 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa