Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ปริศนาคลินิค
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปริศนาคลินิค

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2551 00:00

 รายที่ 1
ผู้ป่วยอายุ 48 ปี สังเกตพบผื่นตามร่างกาย  เกิดซ้ำรอยเดิมหลายครั้งและในครั้งหลังๆ พบว่ามี ผื่นใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วย. ก่อนมีอาการจะรู้สึกคันบริเวณที่จะเป็นผื่น ต่อมามีรอยแดงและเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมแดงและลงท้ายด้วยสีเทาดำ รอยดำนี้เป็นอยู่นานนับปี บางครั้งรอยเดิมยังไม่หายก็มีรอยใหม่ขึ้นซ้ำที่เดิม. ผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าผื่นสัมพันธ์กับอะไร.
การตรวจร่างกายพบปื้น (patches) และผื่นราบ (macules) สีแดงคล้ำปนเทาหลายผื่นร่วมกับอาการคันบริเวณท้อง และแขนขา โดยเฉพาะบริเวณข้อศอก ข้อเข่า (ภาพที่ 1, 2)
 

คำถาม
1. จงให้การวินิจฉันโรค
2. ประวัติการได้รับยา


รายที่ 2
หญิงไทยคู่ อายุ 52 ปี ญาติให้ประวัติว่าสูบบุหรี่ จัด ไขมันในหลอดเลือดสูง ป่วยเป็นเบาหวานที่ควบคุม ไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วยตื่นตอนกลางคืนประมาณเที่ยงคืนลุกเข้าห้องน้ำแล้วพบว่า แขนขาขวาอ่อนแรงทันที เมื่อผู้ป่วยกลับมานอนต่อปรากฏว่าอาการรุนแรงมากขึ้น ตอนเช้าเวลา 6.00 น. ผู้ป่วยลุกจากเตียงลำบาก ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล. การตรวจภาพถ่ายทางรังสีดังภาพที่ 3.
 

  

คำถาม
1. การตรวจภาพถ่ายรังสีดังกล่าวคืออะไร.
2. จงบอกความผิดปกติที่พบ.
3. จงให้การวินิจฉัยโรค.
       

รายที่ 3

หญิงไทยอายุ 53 ปี มีโรคประจำตัวคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) ได้รับยาเคมีบำบัดมา 5 ครั้ง. ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดศีรษะตื้อๆ นาน 3 สัปดาห์ร่วมกับอาการแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรงมาก ขึ้นเรื่อยๆ ตามองเห็นภาพซ้อน ไม่มีไข้ ไม่ไอ. การตรวจร่างกายพบเส้นประสาทตาบวม (papilledema) ตาขวามองไปด้านขวาได้ไม่สุด (right lateral rectus palsy) และแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรงยกไม่ขึ้น (left hemiplegia). การตรวจคอมพิวเตอร์สแกนสมอง พบลักษณะดังภาพที่ 4 ผู้ป่วยจึงได้รับการผ่าตัดสมองพบหนอง 15 มล. และได้ระบายหนองออก. การตรวจหนองด้วยวิธีป้ายหนองสดลงบนกระจก (fresh smear) และย้อมสีแกรม (Gram stain) พบลักษณะดังภาพที่ 5 และ 6 ตามลำดับ.


คำถาม
1. จงให้การวินิจฉัยเบื้องต้น.
2. ส่งการตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย. 
3. จงให้การรักษา.

 

เฉลยปริศนาคลินิก
รายที่ 1
1. การวินิจฉัยคือ ผื่น fixed drug eruption อาศัยประวัติที่เป็นซ้ำที่เดิม เป็นข้อมูลสำคัญร่วมกับลักษณะอาการทางคลินิกที่ค่อนข้างจำเพาะกับโรคนี้ ทำให้สามารถแยกออกจากโรคทางผิวหนังอื่นๆ ได้ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยไม่ให้ประวัติการกินยามาก่อนเกิดผื่นก็ตาม ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยโดยการตัดชิ้นเนื้อตรวจ มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่ต้องอาศัยการตัดชิ้นเนื้อช่วย.

2. สำหรับประวัติการได้ยากินหรือยาฉีด แพทย์ อาจต้องถามคำถามนำ เช่น ผู้ป่วยไม่สบายก่อนผื่นขึ้นหรือไม่ ผู้ป่วยซื้อยากินเอง หรือได้ยาต้มยาหม้อ เพื่อรักษาโรคใดโรคหนึ่งหรือไม่ เป็นต้น ควรได้ประวัติยาที่เป็นสาเหตุผื่นในระยะเวลาก่อนเกิดผื่น และอย่าลืมว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นยาแผนปัจจุบันเท่านั้นที่ทำให้เกิดผื่นนี้ มีสารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ทำให้เกิดผื่น fixed drug eruption ได้และยาหรือสารนั้นๆ อาจแฝงมาในรูปแบบต่างๆ เช่น ตกค้างในเนื้อสัตว์เลี้ยง เป็นต้น.

เอกสารอ้างอิง
 1. Bolognia. 2nd edition. 2008.


รายที่ 2
1. MRI scan ของสมอง โดยใช้วิธี Diffuse weight (DWI) ซึ่งเป็นการตรวจ MRI สมอง โดยอาศัยคุณสมบัติของการซึมผ่านของน้ำในเนื้อสมอง  ที่มีการบวมแบบ cytotoxic เช่น infarction เฉียบพลัน หรือเนื้องอกบางชนิด พยาธสภาพเช่นนี้จะปรากฏเป็นเงามีขาวต่างจากเงาของเนื้อสมองโดยรอบ.

2. ปรากฏเงาเนื้อสมองบริเวณ lateral frontal lobe cortex ซีกซ้ายเป็นสีขาวกว่าบริเวณอื่น เข้าได้กับ infarction เฉียบพลัน เงาผิดปกติเช่นนี้ จะปรากฏเมื่อเนื้อสมองขาดเลือดตั้งแต่ 1-4 ชั่วโมงขึ้นไป.

3. ภาวะขาดเลือดเฉียบพลันบริเวณ frontal lobe ซ้าย และบริเวณ subinsular โดยที่ยังไม่มีการกดเบียดเนื้อสมอง, cistern หรือ ventricle เลย นั่นคือเป็นผลจาก cytotoxic ของเนื้อสมองซึ่งยังไม่มีการบวมจากหลอดเลือดผิดปกติเลย.


รายที่ 3
1. ผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการที่บ่งชี้รอยโรคที่สมอง การตรวจคอมพิวเตอร์สแกนสมองพบรอยโรคในเนื้อสมองซีกขวาบริเวณ parieto-occipital ลักษณะทึบรังสีที่ขอบคล้ายวงแหวน ซึ่งเข้าได้กับฝีที่สมอง เชื้อก่อโรคที่พบส่วนใหญ่มักเป็นแบคทีเรียทรงกลมและ/หรือชนิด anaerobes แต่เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงต้องคิดถึงเชื้อก่อโรคอื่นๆ เช่น Nocardia, Aspergillus, แบคทีเรียทรงแท่งแกรมลบ เป็นต้น. จากการตรวจหนองสดด้วยกล้องจุลทรรศน์ในรายนี้จะเห็นเชื้อจุลชีพที่มีลักษณะแตกแขนงเป็นกิ่ง ซึ่งการย้อมสีแกรมช่วยให้เห็นชัดขึ้นและพบว่าเป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่มีลักษณะคล้ายสายลูกปัด (beaded-like) บ่งชี้ Nocardia และ Actinomycetes ที่ก่อโรค actinomycosis. แต่จากลักษณะทางคลินิกและรอยโรคที่พบในผู้ป่วยรายนี้สนับสนุน Nocardia มากกว่า Actinomycetes. ดังนั้น การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นในผู้ป่วยรายนี้คือ Nocardiosis.

2. ควรย้อมหนองด้วยวิธี modified acid fast stain ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้การย้อมดังกล่าวพบเงาลักษณะดังภาพที่ 7. นอกจากนี้ ควรส่งหนองเพาะเชื้อและแจ้งห้องปฏิบัติการเพาะเชื้อด้วยว่าสงสัยเชื้อ Nocardia เพราะต้องเก็บตัวอย่างหนองเพาะเชื้อเป็นเวลานานขึ้น.

                       

3. ให้ยา trimethoprim/sulfamethoxazole (co-trimoxazole) เป็นเวลานานอย่างน้อย 12 เดือน หรือจนกว่ารอยโรคในสมองจะหายหมด ยาอื่นๆ ที่อาจใช้ได้ในกรณีนี้คือ ceftriaxone, cefotaxime,  imipenem และ amoxicillin/clavulanic acid.

 

วลัยอร  ปรัชญพฤทธิ์ พ.บ.
กลุ่มงานไบโอเอ็นจิเนียริ่ง  สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

เจริญพิน   เจนจิตรานันท์ พ.บ.
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรังสีวิทยา

วิทยา หวังสมบูรณ์ศิริ พ.บ.
หน่วยโรคติดเชื้อ, ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตรŒโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สมนึก สังฆานุภาพ พ.บ.
รองศาสตราจารย์, หน่วยโรคติดเชื้อ, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • กรณีศึกษา
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ปริศนาคลินิก
  • พญ.วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์
  • นพ.วิทยา หวังสมบูรณ์ศิริ
  • ผศ.นพ.สมนึก สังฆานุภาพ
  • พญ.เจริญพิน เจนจิตรานันท์
  • อ่าน 4,516 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa