รายที่ 1
หญิง อายุ 46 ปี สังเกตพบผื่นบริเวณเท้าขวาหลังจากตะปูตำ (ภาพที่ 1) ลักษณะอาการนี้เรื้อรังมา 3 ปี เคยมีหนองออกจากผื่น ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว. ผลการตรวจร่างกายพบพยาธิสภาพขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. บนฝ่าเท้าขวามีลักษณะเป็นผื่นนูนสีแดงคลุมด้วยสะเก็ดอยู่ชิดกันหลายตุ่ม และมีแผลเป็นบุ๋มเล็กน้อยร่วมด้วย. การตัดชิ้นเนื้อส่งเพาะเชื้อและตรวจจุลพยาธิหลายครั้งแต่ไม่ได้ผลที่ชัดเจน ครั้งสุดท้ายผลการอ่าน คือ ติดเชื้อเรื้อรัง.
คำถาม
1. จงให้การวินิจฉัยโรค.
2. จงให้การรักษา.
รายที่ 2
ชายอายุ 55 ปี ตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี และมีปริมาณ CD4 35 เซลล์/มคล. มาด้วยอาการไข้ ไอ และเหนื่อยหอบมา 2 สัปดาห์. การตรวจร่างกายพบฝ้าขาวในปากและที่ลิ้น หายใจ 30 ครั้ง/นาทีฟังปอดไม่พบเสียงผิดปกติ วัด oxygen saturation จากปลายนิ้วที่ room air ได้ 84% ภาพถ่ายรังสีปอดพบว่ามี ground glass appearance และ interstitial infiltration ที่ปอดทั้ง 2 ข้าง. ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย cotrimoxazole นาน 2 สัปดาห์ แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยยังหอบเหนื่อยอยู่ จึงได้รับการทำ bronchoscope ได้น้ำล้างปอด (brochoalveolar larvage fluid) ส่งตรวจ cytology พบลักษณะดังภาพที่ 1 และ 2.
คำถาม
1. บรรยายสิ่งตรวจพบและให้การวินิจฉัย.
รายที่ 3
ชายไทยโสด อายุ 25 ปี ชอบกินผักสดและอาหารดิบๆ มีประวัติชักหมดสติ แขนขาซ้ายอ่อนแรงชั่วคราวก่อนมาโรงพยาบาล. ผลการส่งตรวจทางรังสีดังปรากฏภาพที่ 4.
คำถาม
1. การตรวจภาพถ่ายทางรังสีดังกล่าวใช้วิธีอะไร.
2. จงบอกความผิดปกติที่พบ.
3. จงให้การวินิจฉัยโรค.
เฉลยปริศนาคลินิก
รายที่ 1
1. ผู้ป่วยเป็น actinomycetoma โดยทั่วไปอาการทางคลินิกที่บ่งชี้การวินิจฉัย eumycetoma (เกิดจากเชื้อรา) หรือ actinomycetoma (เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย) คือ พยาธิสภาพที่ประกอบด้วย sinus tract, grain, tumefaction (fungating mass) ส่วนที่เรียกว่า grain นั้นเป็นกลุ่มเชื้อที่ร่างกายขับออกมาทางรูเปิดของผิวหนัง (sinus tract) ซึ่งจะมีสีต่างๆ กันตามแต่ชนิดของเชื้อ. ในทางคลินิก แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้นแยกระหว่าง mycetoma ทั้ง 2 กลุ่มได้จากการย้อม grain ด้วย KOH เชื้อราจะให้ grain สีดำ. การเพาะเชื้อจะจำแนกชนิดเชื้อได้ละเอียดขึ้น จุลพยาธิชิ้นเนื้อจะพบปฏิกิริยาระหว่างภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับ เชื้อโรคทำให้เห็นลักษณะ Splendore-Hoeppli (asteroid bodies) ซึ่งจะมีสารสีชมพูเข้มรูปร่างเป็น radiate, star-like, asteroid หรือ club-shaped configurations อยู่ล้อมรอบเชื้อ ผลเพาะเชื้อในผู้ป่วย รายนี้ขึ้น Nocardia asteroids.
2. โดยที่พยาธิสภาพในผู้ป่วยรายนี้ มี sinus tract แต่ไม่มี tumefaction ไม่มี grain บ่งชี้ว่าผู้ป่วยน่าจะเคยได้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อมาก่อนทำให้เพาะเชื้อไม่ขึ้น แต่ระยะเวลาที่ได้ยาคงสั้นเกินไปทำให้โรคไม่หายขาด ประกอบกับลักษณะทางจุลพยาธิ ชิ้นเนื้อเมื่อย้อมด้วยสีย้อมพิเศษต่างๆ ไม่พบเชื้อ และไม่พบลักษณะ Splendore-Hoeppli ทำให้ต้องติดตามอยู่นานจนมั่นใจการวินิจฉัย actinomy cetoma. ผู้ป่วยรายนี้จึงได้ clotrimoxazole + trimethoprim ซึ่งทำให้ผื่นยุบดี ทั้งนี้ ในการรักษาผู้ป่วย actinomycetoma ต้องให้ยานานหลายเดือนจนถึงปี.
เอกสารอ้างอิง
1. Samaila MO, et al. Human mycetoma. Surg Infect (Larchmt) 2007; 8:519-22.
2. Hussein MR. Mucocutaneous Splendore- Hoeppli phenomenon. J Cutan Pathol 2008; 35:979-88.
3. Bonifaz A, et al. Treatment of actinomyce- toma due to Nocardia spp. with amoxicillin-clavulanate. Br J Dermatol 2007; 156:308-11.
รายที่ 2
1. ผู้ป่วยรายนี้มีอาการแสดงของโรคติดเชื้อ เอชไอวี และอยู่ในระยะเอดส์ เนื่องจากมีปริมาณ CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/มคล.และมีโรคปอดอักเสบจากเชื้อ Pneumocystis (PCP) ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ก่อน ซึ่งวินิจฉัยจากอาการเหนื่อยหอบ ภาวะออกซิเจน ในเลือดต่ำ และภาพเอกซเรย์ปอดที่เข้าได้กับ PCP. อย่างไรก็ตาม โรค PCP มักจะตอบสนองต่อการรักษาด้วย co-trimoxazole ภายใน 1-2 สัปดาห์แต่ผู้ป่วยรายนี้มีอาการไม่ดีขึ้น ในผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีปริมาณ CD4 ต่ำกว่า 50 เซลล์/มคล.มีโอกาสที่มีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในปอดได้หลายชนิด เช่น วัณโรค, Mycobacterium avium complex, Cryptococcus, Histoplasma, Rhodococcus และ Cytomegalovirus (CMV) เป็นต้น. ดังนั้นจึง จำเป็นที่จะต้องให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน การทำ การส่องกล้องเข้าหลอดลมในผู้ป่วยรายนี้จึงมีความสำคัญในการให้ได้ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทั้ง 2 ภาพ เป็นที่น้ำล้างปอดที่ย้อมสี Papanicolaou stain ใน การตรวจทาง cytology ภาพที่ 1 แสดงลักษณะความผิดปกติที่เรียกว่า foamy appearance ที่เกิดจากกลุ่มของ cyst ของเชื้อ Pneumocystis jiroveci ที่รวมกลุ่มกันแต่ย้อมไม่ติดสี จึงเห็นรูปร่างคล้ายโฟมจากกล้องจุลทรรศน์. โดยปกติ แม้เชื้อ P. jiroveci จะตายจากการให้ยารักษาแล้ว ยังสามารถพบ cyst จากการย้อมได้อีกเป็นเวลานาน การพบในภาพที่ 1 นี้จึงยังไม่ใช่การวินิจฉัยของปัญหาที่ผู้ป่วยยังเหนื่อยหอบอยู่ในขณะนี้ ภาพที่ 2 แสดงลักษณะของ alveolar lining cell ที่มีการติดเชื้อ CMV โดยทำให้เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงให้มีรูปร่างที่ใหญ่ขึ้น และมีลักษณะจำเพาะคือมี intranuclear inclusion body ที่ล้อมรอบด้วย halo มีลักษณะคล้าย bull's eye หรือ owl's eye จึงสรุปได้ว่าผู้ป่วยรายนี้มีการติดเชื้อในปอดจากเชื้อ 2 ชนิดร่วมกันคือ P. jiroveci และ CMV ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยระยะเอดส์ที่มีปริมาณ CD4 ต่ำมากๆ. แพทย์ผู้รักษาจึงจำเป็นต้องคิดถึงภาวะการติดเชื้อมากกว่าหนึ่งชนิดด้วยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในผู้ป่วยรายนี้ได้รับการตรวจหาปริมาณไวรัส CMV ในเลือดและในน้ำล้างปอด พบว่ามีปริมาณมากกว่า 100,000 copies/มล. ซึ่งช่วยการยืนยันการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจาก CMV ด้วย.
รายที่ 3
1. Axial MRI scan ของสมอง T1W และ T2W.
2. ปรากฏเงาพยาธิสภาพรูปร่างวงแหวนในสมองส่วน cortex บริเวณกลาง frontal lobe ข้างซ้าย ร่วมกับเงาบ่งชี้การบวมของ white matter รอบพยาธิสภาพโดย surrounding lite matter ขอบชัดใน T2W ขอบไม่ชัดใน T1W.
3. Cysticercosis บริเวณ cortex ของ frontal lobe ข้างซ้ายหรือพยาธิสภาพของการอักเสบด้วยเหตุอื่น เช่น ฝีสมอง โดยเนื้อสมองรอบพยาธิสภาพเกิดการบวมอันเป็นที่มาของอาการชัก surrounding edema.
วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์ พ.บ.
กลุ่มงานไบโอเอ็นจิเนียริ่ง สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์
วิทยา หวังสมบูรณ์ศิริ พ.บ.
หน่วยโรคติดเชื้อ, ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สมนึก สังฆานุภาพ พ.บ.
รองศาสตราจารย์, หน่วยโรคติดเชื้อ, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เจริญพิน เจนจิตรานันท์ พ.บ.
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรังสีวิทยา
- อ่าน 7,272 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้