Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Sleep apnea
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Sleep apnea

โพสโดย somsak เมื่อ 1 เมษายน 2552 00:00

Q   :    อยากทราบวิธีการเลือกเครื่องช่วยฟัง ว่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

                                                                                                                         กิตติศักดิ์ วงศ์อมร

A   :   ปัจจุบัน เครื่องช่วยฟัง (hearing aid) มี5 แบบ ได้แก่
1. Body aid เครื่องช่วยฟังชนิด body aid เป็นแบบเก่า จะติดตัวเครื่องบริเวณรอบเอว หรือด้านหน้าทรวงอกและมีสายของ earmold มาใส่ที่หูของ  ผู้สวมใส่เนื่องจาก earmold (รวมถึงตัวรับหรือลำโพง) แยกจากกันกับตัวเครื่อง (microphone) มีข้อดีคือ เสียงสะท้อน (acoustic feedback) จะลดลง มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำให้มีกำลังขยายได้มาก เหมาะใช้กับผู้ที่มีหูตึงมาก หรือหูตึงรุนแรงมาก.


2. Behind-the-ear aid (BTE) สวมใส่บริเวณหลังใบหู มีสายต่อ earmold ใส่เข้าในรูหูใช้ได้กับผู้มีหูตึงน้อย ถึงหูตึงรุนแรง มีขนาดใหญ่รองลงมาจากชนิด body aid ทำให้สามารถใส่วงจรต่างๆ ได้มาก ผู้ป่วยที่มีหูตึงร่วมกับมีน้ำไหลจากหูแบบเรื้อรัง สามารถ ใช้เครื่องช่วยฟังชนิดนี้ได้ และเหมาะกับผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากขนาดของหูเด็กยังมีการเปลี่ยนแปลงโตขึ้นตามอายุ สามารถเปลี่ยน earmold ได้ และ earmold ทำความสะอาดได้ง่าย.

3. In-the-ear aid (ITE) ขนาดเล็กลงกว่าชนิด BTE สวมใส่บริเวณ concha ของใบหู ข้อดีคือ ปัจจุบัน เทคโนโลยีทำให้เครื่องมีสมรรถนะสูง โดยที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก ใส่แล้วดูสวยงามขึ้น ใช้ได้กับผู้ป่วยหูตึงน้อยถึงมาก ข้อด้อยคือ มีขี้หูมาติดตัวเครื่องได้ง่าย.

4. In-the -canal aid (ITC) สวมใส่ในรูหู  มีขนาดเล็กที่สุด ทำให้มีกำลังขยายไม่มาก เหมาะกับผู้ป่วยหูตึงน้อย ถึงปานกลางข้อด้อยคือ มีขี้หูมาติดตัวเครื่องได้ง่าย และผู้ป่วยต้องมีรูหูขนาดใหญ่พอที่จะใส่เครื่องได้.

5. Eyeglass aid เป็นเครื่องช่วยฟังที่ประกอบเข้ากับกรอบของแว่นตา มีสายยื่นจากขาของแว่นตา เพื่อใส่ earmold ที่หู เหมาะกับผู้ที่ต้องการใส่แว่นตา ร่วมกับใส่เครื่องช่วยฟัง.


พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ พ.บ. โสต ศอ นาสิกแพทย์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ., น.บ.
สาขาวิชาจักษุวิทยา, คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบผ่าน website
  • เครื่องช่วยฟัง
  • นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 1 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa