Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • แอพลิเคชั่น DoctorMe
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การล้างไตทางช่องท้อง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การล้างไตทางช่องท้อง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2551 00:00

ไตวายเรื้อรัง หมายถึง ภาวะไตเสื่อมผิดปกตินานติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมักจะดำเนินไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียหรือน้ำที่เกินออกจากร่ายกายได้ ผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากภาวะมีของเสียคั่งอยู่ในโลหิต และหากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมานในเวลาประมาณ 3-4 เดือน สาเหตุสำคัญของไตวายเรื้อรังคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ และนิ่วในไต

การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis หรือ CAPD) เป็นวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการยอมรับวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสามารถทำได้ด้วยตนเอง และในช่วงเวลาที่น้ำยาอยู่ในช่องท้องสามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อพบแพทย์บ่อยครั้งเท่ากับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis-HD) ต้องเดินทางมารับ บริการฟอกเลือดที่หน่วยบริการที่มีเครื่องไตเทียมและแพทย์โรคไต สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งๆ ละ 4-5 ชั่วโมง แต่การล้างไตผ่านทางช่องท้อง ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนน้ำยาเข้าออกจากช่องท้องได้เองที่บ้าน (หลังจากได้รับการฝึกอบรมแล้ว) โดยใช้เวลาปล่อยน้ำยาเข้าออกรอบละ 30 นาที และต้องดำเนินการวันละ 4 รอบ รอบละ 4-6 ชั่วโมง ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์เพียงประมาณเดือนละครั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายการเดินทางพึ่งตนเองได้มากกว่าและคุณภาพชีวิตจะดีกว่า นอกจากนี้ต้นทุนการล้างไตผ่านทางช่องท้องจะมีแนวโน้มลดลงได้อีกมาก

สำหรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ (Kidney transplant-KT) ถือว่าเป็นวิธีรักษาผู้ป่วยไตให้มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด เพราะไม่ต้องใช้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการล้างช่องท้องอีกต่อไป แต่ผู้ป่วยต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันตลอดไปเพื่อป้องกันการต่อต้านอวัยวะ ปัจจุบันระบบการปลูกถ่ายไตในประเทศไทยมีผลงานต่ำ เนื่องจากขาดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้มีผู้บริจาคไตอย่างเพียงพอ ทั้งที่ศักยภาพในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีสูงมาก ฉะนั้นแต่ละปีสามารถปลูกถ่ายไตใหม่ได้จำนวนไม่มาก เพียงปีละประมาณ 300 รายเท่านั้น ทั้งที่มีผู้ป่วยรอผ่าตัดหลายพันราย ทำให้ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไตมีความจำเป็นต้องใช้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการล้างช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

ความคุ้มค่าของการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายกับคุณภาพชีวิต
หากสมมติให้ค่าคุณภาพชีวิตของคนปกติมีค่าเท่ากับ 1.0 จากการศึกษาข้อมูลในต่างประเทศมีรายงานว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่มีคุณภาพชีวิตเท่ากับ 0.77 ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตช่องท้องอย่างต่อเนื่องมีคุณภาพชีวิตเท่ากับ 0.72 และผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดจะมีคุณภาพชีวิตเท่ากับ 0.68 จะเห็นได้ว่า การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้ใกล้เคียงกับการได้รับปลูกถ่ายไตใหม่ ซึ่งปัจจุบันค่าน้ำยาล้างช่องท้องมีต้นทุนประมาณถุงละ 100 บาท ในหนึ่งวันผู้ป่วยต้องใช้น้ำยาวันละ 4 ถุง หรือเดือนละ 120 ถุง ทำให้มีค่าใช้จ่ายค่าน้ำยาล้างช่องท้องต่อปีประมาณ 150,000 บาท คาดการณ์ว่าภายใน 3 ปี ถ้ามีการใช้บริการล้างช่องท้องอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ต้นทุนของน้ำยาต่อถุงจะถูกลงได้กว่าร้อยละ 20 คือ เหลือประมาณไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี

สำหรับ ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายและเป็นผู้ถือบัตรทอง หรือผู้มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถติดต่อเพื่อเข้ารับบริการทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องด้วยน้ำยา (Peritoneal dialysis) ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากข้อจำกัดของระบบบริการบำบัดทดแทนไตในระยะเริ่มแรก สิทธิการเข้ารับบริการทดแทนไตเป็นไปตามลำดับก่อน-หลัง และเนื่องจากผู้ป่วยไตแต่ละรายอาจมีลักษณะจำเพาะที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถบริการครอบคลุมได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีคณะกรรมการบำบัดและทดแทนไตระดับเขตพื้นที่เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้บริการบำบัดทดแทนไตเป็นรายๆ ไป ผู้สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางโทรศัพท์สายด่วน บัตรทอง โทร. 1330

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ไตวาย
  • ดูแลสุขภาพ
  • ชีพจร UC
  • ไตวายเรื้อรัง
  • สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อ่าน 17,476 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

278-007
วารสารคลินิก 278
กุมภาพันธ์ 2551
ชีพจร UC
สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa