Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 พฤษภาคม 2551 00:00

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ : การลงทุนทางสาธารณสุขเสริมความมั่นคงชาติ

ไวรัสไข้หวัดใหญ่
เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน พบได้บ่อยในคนทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความรุนแรงของโรคสูงจากการมีภาวะแทรกซ้อน ลักษณะของการเกิดโรคและลักษณะของกลุ่มเสี่ยงในแต่ละประเทศจะคล้ายคลึงกันทั่วโลก โดยทั่วไปจะพบการเกิดโรคประมาณร้อยละ 10-20 ของประชากร จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและผลการศึกษาวิจัยในประเทศไทยคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งประเทศได้ 700,000-900,000 รายต่อปี และมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ต้องรับไว้ โรงพยาบาลประมาณ 12,575-75,801 รายต่อปี อัตราป่วยตายของโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อนสูงถึงร้อยละ 2.5 ก่อให้เกิดความสูญเสียในด้านเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล คิดเป็นมูลค่า 913-2,453 ล้านบาทต่อปี โดยครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปในการรักษาพยาบาล

มาตรการในการป้องกันโรคที่ได้ผลดีที่สุดในขณะนี้ คือ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ ร้อยละ 70-90 และมีความปลอดภัยสูง อาจพบอาการบวมแดงเฉพาะที่เล็กน้อยหลังฉีด โดยวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคได้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังฉีด และต้องฉีดทุกปีเนื่องจากเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตลอดเวลา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรค เรื้อรัง

สำหรับประเทศไทยมีการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่เกิดการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยภาครัฐมีการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เฉพาะบุคลากรสาธารณสุขและผู้ทำหน้าที่กำจัดสัตว์ปีกเพื่อการควบคุมโรคไข้หวัดนกระบาด ปีละประมาณ 3-4 แสนโด๊ส งบประมาณค่าวัคซีน 77-102 ล้านบาท เหตุผลของการให้วัคซีนในกลุ่มนี้ คือ ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เพื่อรักษากำลังบุคลากรสาธารณสุขผู้ให้บริการแก่ผู้ป่วย ในขณะเดียวกันก็ป้องกันการแพร่เชื้อต่อไปยังผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิด พร้อมทั้งป้องกันการข้ามสายพันธุ์ (re-assortment) ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก ที่อาจเกิดขึ้นในบุคลากรในขณะดูแลผู้ป่วยไข้หวัดนกหรือกำจัดสัตว์ปีกติดเชื้อ และจากการศึกษาทดลองสนับสนุนการใช้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สามารถอุบัติการณ์การเกิดโรคได้ประมาณครึ่งหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ และลดได้มากกว่า 4 เท่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สืบเนื่องจากภาวะความเสี่ยงของโลกในปัจจุบัน ซึ่งเชื้อไข้หวัดนกที่กำลังแพร่อยู่ในหลายทวีป อาจกลายพันธุ์เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ที่เป็นเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ไปทั่วโลก นานาประเทศจึงเร่งเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ สำหรับประเทศไทยได้มีการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไขปัญหาไข้หวัดนก และเตรียมพร้อมรับปัญหาไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ และเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม ของกระทรวงสาธารณสุขและกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี เพื่อจะเร่งพัฒนาความสามารถพึ่งตนเองที่จะผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

กรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนานโยบายระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผลสรุปว่า การให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยนอกจากจะเป็นการลงทุนทางสาธารณสุขที่คุ้มค่า เนื่องจากจะสามารถลดอัตราป่วย อัตราตาย การนอนโรงพยาบาล และการสูญเสียทางเศรษฐกิจในประเทศไทยได้อย่างมาก ในแต่ละปีแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสริมความมั่นคงของชาติ โดยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในขั้นตอนการสร้างความสามารถ พึ่งตนเองที่จะผลิตวัคซีนป้องกันประชาชนไทยในกรณีเกิดการระบาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นการป้องกันและลดการสูญเสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการระบาดใหญ่ในอนาคต ทั้งด้านจำนวนผู้ป่วย/ตาย ด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงของประเทศ

ดังนั้น เพื่อการลดการป่วย และการตายเนื่องจากผลแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) และลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลโรคไข้หวัดใหญ่จากโรคแทรกซ้อน รวมทั้งการเตรียมพร้อมรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีมติขยายสิทธิประโยชน์การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 64 ปี ที่มีโรคเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวาย โรคหัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาเคมีบำบัด ฯลฯ โดยในระยะแรก (ปี พ.ศ. 2551) ใช้งบประมาณที่เหลืออันเนื่องจากการใช้สิทธิบัตรเหนือสิทธิบัตรยา (CL) ของกองทุนเอดส์ จำนวน 103.32 ล้านบาท พร้อมกับการศึกษาติดตามประเมินผล และคาดว่าในปี 2551จะขยายการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอายุเท่ากับหรือน้อยกว่า 65 ปี และในปี 2553 จะครอบคลุมผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ที่ไม่มีโรคเรื้อรังด้วย

นอกจากนี้ เพื่อการประกันการมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใช้ตามความต้องการ (Secure demand) และเป็นการสนับสนุนการผลิตวัคซีนใช้เองภายในประเทศเพื่อการพึ่งตนเอง และเตรียมความพร้อมป้องกันประชาชนไทยในกรณีเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคในเด็ก และความคุ้มค่ากรณีการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็กต่อไป
 

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • การรักษาเบื้องต้น
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • ดูแลสุขภาพ
  • ชีพจร UC
  • ไข้หวัดใหญ่
  • สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อ่าน 3,641 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

281-015
วารสารคลินิก 281
พฤษภาคม 2551
ชีพจร UC
สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa