Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มิถุนายน 2551 00:00

ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพเป็นนวัตกรรมที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
สนับสนุน ให้มีการจัดตั้งขึ้นในหน่วยบริการที่ร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้มีสถานที่ให้บริการ customer service center รับเรื่องร้องเรียน เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการ โดยผสมผสานกับการพัฒนาคุณภาพบริการ (HA) และพัฒนาการไกล่เกลี่ย สร้างความสมานฉันท์ในกรณีเกิดปัญหาจากการรับบริการ ด้วยการช่วยเหลือคลี่คลายปัญหาต่างๆ ให้แก่ประชาชนในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยลดความรุนแรงของปัญหาและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน โดยเริ่มนำร่องพัฒนาศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ 6 แห่งในปี พ.ศ. 2549 และขยายไปยังโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ครอบคลุมทั่วประเทศรวม 92 แห่งในปี พ.ศ. 2550 และปัจจุบันขยาย ให้มีการดำเนินการในโรงพยาบาลชุมชนต่อไป

มาตรฐานของศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ประกอบด้วย
มาตรฐานด้านกายภาพ หมายถึง มีสถานที่เป็นสัดส่วน ไม่มีเสียงรบกวน มีป้ายประชาสัมพันธ์หน่วยงาน และป้ายบอกทาง มีการจัดโต๊ะเก้าอี้ ให้ความรู้สึกสบายเป็นกันเอง มีอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ และ internet เชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพร้อมให้บริการ รวมทั้งมีเอกสารระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการทำงาน

มาตรฐานด้านบุคลากร หมายถึง มีการมอบหมายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน และเจ้าหน้าที่ต้องผ่านการอบรมความรู้ด้านหลักประกันสุขภาพและงานบริการเพื่อให้มีความรู้ ทักษะในการให้บริการ
มาตรฐานด้านการดำเนินงานแก้ไขปัญหา หมายถึง มีการดำเนินงานรับเรื่องและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย การรับเรื่องและบันทึกเรื่อง พร้อมแจ้งการรับเรื่องตอบกลับไปยังผู้ร้องเรียน การตรวจสอบข้อมูล การพิจารณาแก้ปัญหาโดยมีการจัดตั้งคณะทำงานหรืออนุกรรมการร่วมพิจารณา ประสานงานไกล่เกลี่ย การแจ้งผลการพิจารณาตอบกลับให้ผู้ร้องเรียนได้รับทราบ รวมทั้งต้องมีการประเมินความพึงพอใจ

มาตรฐานด้านระบบข้อมูลเรื่องร้องเรียน
หมายถึง มีการบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์มการจัดเก็บ การวิเคราะห์ จัดทำรายงานเสนอเพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการและการเผยแพร่แก่ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การให้บริการของศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาล มีดังนี้
ให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องการใช้สิทธิ
-รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์จากประชาชนผู้รับบริการ
-ให้ความช่วยเหลือ ประสานงานแก้ไขปัญหา
-อำนวยความสะดวกในการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (ม.41) ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการรักษาพยาบาล
-สนับสนุนให้มีการประสานงานเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
 
ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ นอกจากจะทำให้ประชาชนผู้รับบริการมีที่พึ่งพิงเมื่อเกิดปัญหาจากการรับบริการ เกิดความอบอุ่นใจจากการรับบริการแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ให้บริการในการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน และสามารถนำข้อมูลจากการแก้ไขปัญหามาวางแผนพัฒนาบริการ พร้อมกับการได้ภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยบริการ
 

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • ดูแลสุขภาพ
  • ชีพจร UC
  • สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อ่าน 3,117 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

282-007
วารสารคลินิก 282
มิถุนายน 2551
ชีพจร UC
สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa