Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » คุณภาพหน่วยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

คุณภาพหน่วยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กรกฎาคม 2551 00:00


                                

การจัดบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพได้มาตรฐานให้กับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือสิทธิบัตรทอง เป็นภารกิจสำคัญที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ครอบคลุมทุกมิติทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

หน่วยบริการร่วมให้บริการ หมายถึง สถานบริการที่สามารถให้บริการด้านสาธารณสุขเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น หน่วยบริการทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล ฯลฯ เป็นสถานบริการที่อยู่ในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำ และรับค่าใช้จ่ายด้านการบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำ

ถัดมาคือ หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายถึง สถานบริการระดับแรกที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมีศักยภาพในการให้ บริการด้านเวชกรรมหรือทันตกรรมขั้นพื้นฐานตรงตามเกณฑ์ปฐมภูมิ ได้แก่ สถานีอนามัย ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน โดยรับค่าใช้จ่ายด้านการบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำ

หน่วยบริการที่สาม คือ หน่วยบริการประจำ หมายถึง สถานบริการที่ได้รับค่าใช้จ่ายในการบริการสาธารณสุขให้แก่ผู้มีสิทธิบัตรทอง ในลักษณะเหมาจ่ายรายหัวจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยต้องสามารถจัดบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นองค์รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และต้องให้บริการด้านเวชกรรมด้วยตนเอง และมีเครือข่ายหน่วยบริการเพื่อการส่งต่อในกรณีที่เกินขีดความสามารถของตนเอง ลักษณะของสถานบริการที่เป็นหน่วยบริการประจำ ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน คลินิกชุมชนอบอุ่น หรือหน่วยบริการอื่นๆ ที่ผ่านการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำ

และสุดท้าย คือ หน่วยบริการส่งต่อ เป็นสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีขีดความสามารถในการจัดการบริการตั้งแต่ระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ หรือโรคเฉพาะทาง เช่น บริการศัลยกรรม บริการฉุกเฉิน ฯลฯ สามารถให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ส่งต่อมาจากหน่วยบริการประจำ หรือหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการในระดับนี้ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง หรือโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น

นอกจากการจัดให้มีหน่วยบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศควบคู่กับการตรวจติดตามคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว การสนับสนุนกระบวนการคุณภาพของหน่วยบริการให้ผ่านการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน Hospital Accreditation : HA เป็นสิ่งที่ สปสช. ดำเนินการร่วมกับสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในปี 2550 ที่ผ่านมา มีหน่วยบริการในระบบที่อยู่ในกระบวนการพัฒนาของ HA รวมทั้งสิ้น 923 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.15 โดยมีหน่วยบริการที่ผ่านการรับรองคุณภาพรับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA ทั้งระบบแล้ว จำนวน 173 แห่ง

ที่สำคัญ คือ การพัฒนาหน่วยบริการตติยภูมิให้มีคุณภาพทั้งบุคลากรและแนวทางเวชปฏิบัติ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาลระดับสูงของประชาชน ทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย
- หน่วยบริการตติยภูมิด้านหัวใจ 46 แห่ง
- หน่วยบริการตติยภูมิเฉพาะด้านมะเร็ง 30 แห่ง
- หน่วยบริการตติยภูมิเฉพาะด้านอุบัติเหตุ 28 แห่ง


เพื่อการเข้าถึงบริการด้วยความมั่นใจในคุณภาพที่จะได้รับจากการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนไทย
 
     
 

ป้ายคำ:
  • คุยสุขภาพ
  • ชีพจร UC
  • สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อ่าน 15,007 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

283-018
วารสารคลินิก 283
กรกฎาคม 2551
ชีพจร UC
สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa