Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ประสิทธิผลการให้การดูแลผู้ป่วย "เบาหวาน"
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ประสิทธิผลการให้การดูแลผู้ป่วย "เบาหวาน"

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2551 00:00

ผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และที่สำคัญพบผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุน้อย เพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดให้มีการรณรงค์เพื่อการป้องกันและควบคุมเบาหวานทั่วประเทศเชˆนโครงการเด็กไทยไม่กินหวาน โครงการขยับกายสบายชีวี โครงการพิชิตอ้วน พิชิตพุง เป็นต้น เนื่องจาก เบาหวานเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังอันตราย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ตาบอด ไตวายเรื้อรัง การดูแล ผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันภาวะเสื่อมสภาพของร่างกาย ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่ความพิการและอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยทั่วไปการดูแลรักษาโรคเบาหวานมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1. รักษาอาการที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
2. ป้องกันและรักษาการเกิดโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
3. ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง
4. ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติ
5. สำหรับเด็กและวัยรุ่นให้มีการเจริญเติบโตเป็นปกติ

การตรวจติดตามรักษาผู้ป่วยเบาหวานขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และวิธีการรักษา เพื่อหาความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และประเมินผู้ป่วยทุกรายว่ามีภาวะหรือโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานหรือไม่ ซึ่งในระยะแรกอาจจะต้องนัดผู้ป่วยทุก 1-4 สัปดาห์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ปรับขนาดของยาจนกว่าจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย ในระยะต่อไปติดตามทุก 2-3 เดือน เพื่อประเมินการควบคุมว่ายังคงได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติตลอดเวลาทำได้ยาก ดังนั้น ในการรักษาโรคเบาหวานควรจะตั้งเป้าหมายการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานให้ผู้ป่วยทราบเป้าหมายในการควบคุมและมีทักษะการดูแลตนเอง ประสานความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และทีมบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายการรักษาให้ได้

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานจึงกำหนดให้ระดับประสิทธิผลการให้การดูแลผู้ป่วย "เบาหวาน" ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของเกณฑ์คุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการรับการส่งต่อ ซึ่งพิจารณาจากอัตราผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Plasma Glucose controlled) มีค่าระหว่าง 70-110 มก./ดล. ทุกครั้งที่มีการตรวจ และมีการตรวจอย่างน้อย 4 ครั้งใน รอบ 1 ปี โดยใช้วิธีการสุ่มตรวจสอบเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานในระบบ UC ทีมีอายุมากกว่า 15 ปี และได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และรับการรักษามากกว่า 1 ปีและกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้คะแนนดังนี้


นอกจากนี้ เพื่อการติดตามคุณภาพบริการผู้ป่วยเบาหวาน สปสช. กำหนดตัวชี้วัดทางคลินิกซึ่งสามารถคำนวณได้โดยตรงจากฐานข้อมูลการให้บริการที่หน่วยบริการจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์

เกณฑ์ชี้วัดของหน่วยบริการปฐมภูมิ คือ อัตราการรับเข้าโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของโรคเบาหวาน โดยมีวิธีคำนวณ ดังนี้



เกณฑ์ชี้วัดของหน่วยบริการรับการส่งต่อ คือ อัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานหรือภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ภายใน 28 วัน โดยมีวิธีคำนวณ ดังนี้



การตรวจติดตามคุณภาพบริการของหน่วยบริการในการดูแลผู้มีสิทธิบัตรทองที่ป่วยเป็น "เบาหวาน" เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างครบวงจร เพื่อลดความพิการ อัตราการเสียชีวิตและช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างปกติสุขเช่นเดียวกับคนทั่วไป
 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • เบาหวาน
  • ดูแลสุขภาพ
  • ชีพจร UC
  • เบาหวาน
  • สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อ่าน 12,515 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

284-020
วารสารคลินิก 284
สิงหาคม 2551
ชีพจร UC
สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa