Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ไวรัสเดงกี่ Dengue virus
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ไวรัสเดงกี่ Dengue virus

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2550 00:00

วันนี้มาฟังเรื่องของเด็กๆ ดูบ้าง เมื่อพูดถึงเด็กโรคแรกที่ผมนึกถึงก็คือโรคไข้เดงกี่ ประชาชนทั่วไปฟังแล้วคงจะงงว่ามันคือโรคอะไร? แต่พอฟังผมเล่าไปสักพักก็จะร้องอ๋อเอง.

โรคนี้มีบันทึกครั้งแรกในปีค.ศ. 1779-1780 โดยระบาดในเขตร้อนของสามทวีปคือเอเชีย, แอฟริกา และอเมริกาเหนือ แต่ตอนนั้นไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร.

ค.ศ. 1789 เกิดการระบาดใน Philadelphia ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีไข้สูงและบ่นว่ารู้สึกปวดเหมือนกระดูกจะแตก Benjamin Rush จึงเรียกโรคนี้ว่า Breakbone Fever. 30 ปีต่อมามีการระบาดใน West Indies ผู้ป่วยบางคนไข้สูงจนชัก ชาว Swahili ได้บรรยายไว้ว่า "ki denga pepo" แปลว่า "โรคชักเกร็งจากอำนาจปีศาจ" Rush จึงเปลี่ยนชื่อ โรคนี้เป็นไข้เดงกี่ (Dengue Fever:DF).

ช่วงแรกหนทางควบคุมการระบาดยังมืดมนอยู่ จนกระทั่งค.ศ. 1905 เกิดการระบาดในออสเตรเลีย T. L. Bancroft พิสูจน์ได้ว่ายุงลายพันธุ์ Aedes aegypti เป็นพาหะของโรคนี้ จึงเริ่มมีแนวทางในการควบคุม.

ค.ศ. 1943 Albert Bruce Sabin (1906-1993) แพทย์ชาวอเมริกันและ Walter Schlesinger แยกเชื้อก่อโรคได้จากการระบาดใน Honolulu ขณะเดียวกัน Susumu Hotta และ Ren Kimura ก็แยกเชื้อได้เช่นกันที่ Nagasaki แต่เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้อมูลจึงไม่ชัดเจนว่าใครเป็นคนค้นพบก่อนกัน เชื้อที่ค้นพบนี้คือ ไวรัสเดงกี่ชนิดที่ 1 (DEN 1) อีกหนึ่งปีต่อมา ก็พบเชื้อ DEN 2 ที่ New Guinea.

"ถ้าคุณอยากเข้าใจสิ่งต่างๆ ในวันนี้ คุณต้องค้นหาอดีตของมัน"
Pearl Buck กล่าวไว้ว่า "ถ้าคุณอยากเข้าใจสิ่งต่างๆ ในวันนี้ คุณต้องค้นหาอดีตของมัน" ประวัติศาสตร์มีเพียงหนึ่งเดียว แต่บันทึกทางประวัติศาสตร์นั้นมีเยอะ บางอย่างก็ไม่ตรงกัน ความพยายามรวบรวมจากหลายแหล่ง เพื่อหาข้อสรุปช่วยให้เราเข้าใกล้ "หนึ่งเดียว" นั้นมากขึ้น

ต่อมาค.ศ. 1956 เกิดไข้เลือดออกระบาดที่ Philippines เรียกว่า Philippines Hemorrhagic Fever (PHF) ซึ่ง W. McD. Hammon พบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ 2 ชนิดเขาตั้งชื่อว่า DEN 3 และ DEN 4 อีกสองปีต่อมาก็พบไข้เลือดออกในประเทศไทยเรียกว่า Thai Hemorrhagic Fever (THF) ซึ่ง Hammon ก็พบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่เช่นกันแต่เขาเข้าใจว่าเป็น DEN 5 และ DEN 6 แต่สุดท้ายพบ ว่าไวรัสนี้มีแค่ 4 สายพันธุ์เท่านั้น. ค.ศ. 1964 Scott B. Halstead เสนอให้ใช้คำว่า ไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue Hemorrhagic Fever : DHF) แทน และใช้มาจนถึงปัจจุบัน (แต่คนไทยนิยมเรียกสั้นๆ ว่า โรคไข้เลือดออก).

เป็นที่สงสัยกันว่าไวรัสเดงกี่พบอยู่ทั่วโลกก่อให้เกิด DF แต่ทำไมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็น DHF ซึ่งรุนแรงกว่า? จากการศึกษาของ Halstead พบว่าผู้ป่วย DHF มักจะเคยติดเชื้อนี้มาก่อน ค.ศ. 1973 เขาจึงเสนอว่าแถบนี้มีเชื้อชุกชุมทำให้ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ต่อมาเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำจะเกิดความรุนแรงขึ้นผ่านทางกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย เรียกสมมติฐานนี้ว่า Immune Enhancement Hypothesis.

ผู้ป่วย DHF มีโอกาสช็อกและเสียชีวิตได้ ตอนแรกเข้าใจว่าเกิดจากภาวะเลือดออก แต่จากการศึกษาของศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ข้อสรุปว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากสารน้ำรั่วออกนอกหลอดเลือด ไม่ใช่จากภาวะเลือดออกอย่างที่เข้าใจกัน นำไปสู่หลักการรักษาว่าให้สารน้ำทดแทนเท่าที่รั่วออกไปก็พอ โดยผู้ที่วางแนวทางการรักษาโรคนี้อย่างเป็นขั้นตอนคือแพทย์หญิงสุจิตรา นิมมานนิตย์ โรงพยาบาลเด็ก เป็นผลให้อัตราการตายจากโรคนี้ลดลง องค์การอนามัยโลกจึงถือให้ใช้แนวทางนี้เป็นมาตรฐานในการรักษาทั่วโลก (ทำให้บุคคลทั้งสองได้รับรางวัล Prince Mahidol Award สาขาการแพทย์ประจำปี ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นปีแรกและปีเดียวที่คนไทยได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้).

แม้การรักษาจะเดินมาถูกทางแล้วแต่ก็ยังมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคนี้อยู่ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นแนวทางที่ดีกว่า ค.ศ. 1980 มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเริ่มพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสเดงกี่ทั้ง 4 สายพันธุ์ หลังประสบความสำเร็จในการทดลอง phase I ค.ศ. 1994 มหาวิทยาลัยก็ร่วมมือกับบริษัท Aventis Pasteur ของฝรั่งเศสทดลอง phase II และผ่านไปได้ด้วยดี. ปัจจุบันกำลังทดลอง phase III อยู่ แต่ที่ก้าวหน้ากว่าเราคือสถาบัน WRAIR (The Walter Reed Army Institute of Research) สังกัดกองทัพบกสหรัฐอเมริกาได้ทดลองผ่าน phase III ไปแล้วและได้ทำสัญญากับบริษัท Glaxo SmithKline ของเบลเยี่ยมเพื่อผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรมโดยกำหนดแผนที่จะทดลอง phase IV ในเด็กไทย.

สองร้อยกว่าปีแล้วที่มนุษย์รู้จักกับไวรัสนี้ แต่พึ่งค้นพบโครงสร้างของมันเมื่อไม่นานมานี้เองโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งตีพิมพ์ผลงานในวารสาร Cell ฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 2002 เชื่อว่าคงเป็น การเปิดประตูไปสู่การพัฒนายาต้านไวรัสที่จะนำมาใช้รักษาโรคนี้ได้ในอนาคต แต่ที่ผมหวังมากกว่า คืออยากเห็นวัคซีนของไทยประสบความสำเร็จในเร็ววัน.

ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์ พ.บ.
โรงพยาบาลบ้านแหลม, จังหวัดเพชรบุรี
E-mail : [email protected]

 

 

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • โรคติดเชื้อ
  • เล่าสู่กันฟัง (ประวัติศาสตร์ทางการแพทย์)
  • Dengue virus
  • โรคไข้เลือดออก
  • ไวรัสเดงกี่
  • นพ.ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์
  • อ่าน 3,777 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

266-005
วารสารคลินิก 266
กุมภาพันธ์ 2550
เล่าสู่กันฟัง (ประวัติศาสตร์ทางการแพทย์)
นพ.ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <