Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ไวรัสนิปาห์ (Nipah virus)
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ไวรัสนิปาห์ (Nipah virus)

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2550 00:00

โรคที่ระบาดจากสัตว์สู่คนนอกจากไข้หวัดนกแล้วยังมีอีกหลายโรคที่น่าสนใจ วันนี้ผมขอเล่าให้ฟังสัก 2 ตัวอย่างนะครับ.

                                                

ตัวอย่างแรกคือเมื่อค.ศ. 1994 เกิดโรคระบาดในม้าที่เมืองเฮนดรา (Hendra) ชนบทของบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย โดยม้าที่ป่วยจะมีอาการซึม, เดินเซและเสียชีวิต. นอกจากจะก่อโรคในม้าแล้วมันยังก่อโรคในคนอีกด้วย จากการศึกษาพบว่ามันเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใหม่ซึ่งได้รับการตั้งชื่อว่าไวรัสเฮนดรา (Hendra virus) การระบาดในครั้งนั้นส่งผลให้ม้าเสียชีวิต 14 ตัวและมีคนเสียชีวิต 2 ราย.
ตัวอย่างที่ 2 ขอเล่ายาวหน่อยนะครับเพราะอยู่ใกล้ๆ บ้านเรานี่เอง เมื่อปลายปีค.ศ. 1997 เกิดโรคระบาดที่ฟาร์มเลี้ยงหมูในเมืองอุลู ปิอาห์ (Ulu Piah) รัฐเปรัก (Perak) ประเทศมาเลเซีย โดยหมูจะมีอาการทางระบบประสาทและระบบทางเดินหายใจ เกษตรกรได้ฆ่าหมูเหล่านั้นแต่ไม่ได้รายงานโรคต่อเจ้าหน้าที่. การระบาดของโรคในหมูเริ่มต้นที่เมืองอุลู ปิอาห์และเมืองคินตา (Kinta) ในรัฐเปรัก จาก นั้นก็แพร่ไปสู่เมืองสิคามัต (Sikamat) และเมืองบูกิต เปลันดอค (Bukit Pelanduk) ในรัฐเนเกริ เซมบิลัน (Negiri Sembilan).

ต่อมาวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1998 พบผู้ป่วยไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) ที่เมืองคินตาเป็นรายแรกและจากนั้นก็พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ที่หมู่บ้านสุไหง นิปาห์ (Sungai Nipah) เมืองบูกิต เปลันดอค เนื่องจากเป็นแหล่งเลี้ยงหมูขนาดใหญ่ (ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้) จากการที่ผู้เจ็บป่วยทยอยล้มตายลงไปเรื่อยๆ คนงานในฟาร์มจึงพากันอพยพออกจากพื้นที่จนแทบจะกลายเป็นเมืองร้าง.

รัฐบาลมาเลเซียมอบหมายเรื่องนี้ให้นายแพทย์ลาม ไซ กิต (Lam Sai Kit) นักไวรัสวิทยา อดีตหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายาเป็นผู้ควบคุมดูแล ตอนแรกผลการตรวจพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้สมองอักเสบชนิด JE (Japanese encephalitis) ซึ่งโรคนี้มีมานานแล้วและมีวัคซีนป้องกัน ทางการมาเลเซียจึงฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนและหมู รวมทั้งพ่นยากำจัดยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค.

แต่มาตรการดังกล่าวไม่เป็นผลเพราะยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาพบว่าผู้ป่วยหลายรายผลการตรวจหาเชื้อทั้ง JE และเชื้อไวรัสอื่นๆ อีกหลายชนิดเป็นลบ แสดงว่าอาจจะเป็นเชื้อโรคชนิดใหม่. 5 มีนาคม ค.ศ. 1999 นายแพทย์ฉั่ว เก๊าะ บิง (Chua Kaw Bing) อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายาสามารถแยกเชื้อไวรัสที่ก่อโรคได้เป็นคนแรก โดยแยกได้จากผู้ป่วยในหมู่บ้านสุไหงนิปาห์ เชื้อที่แยกได้นี้มีพันธุกรรมคล้ายคลึงกับไวรัสเฮนดรา (Hendra-like virus) แต่ไม่ตรงกับไวรัสสายพันธุ์ใดๆ เลย.

เนื่องจากห้องปฏิบัติการในมาเลเซียไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นไวรัสชนิดใหม่หรือไม่ เขาตัดสินใจจะส่งเชื้อนี้ไปตรวจที่สหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีสายการบินใดยอมขนส่งไปให้ เขาจึงนำมันไปเอง ในที่สุดศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็ประกาศว่ามันเป็นไวรัสชนิดใหม่เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1999 และไวรัสนี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1999 ว่าไวรัสนิปาห์ (Nipah virus).

ก่อนหน้านั้นไม่กี่วันคือในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1999 มีรายงานผู้ป่วยรายแรกในประเทศสิงคโปร์ โดย เป็นคนงานในโรงฆ่าสัตว์ จากนั้นก็พบผู้ป่วยรายอื่นๆ ตามมา ทางการสิงคโปร์จึงสั่งปิดโรงงานดังกล่าวและห้ามนำเข้าหมูจากมาเลเซีย นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ก็ห้ามนำเข้าหมูจากมาเลเซียเช่นกัน.

จากข้อมูลทางระบาดวิทยาทำให้เชื่อได้ว่าหมูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ ทางการมาเลเซียจึงตัดสินใจฆ่าหมูไปกว่า 1 ล้านตัว ทำให้การระบาดในคนลดลงจนพบผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 ที่หมู่บ้านสุไหง บุโลห์ในรัฐเซลังงอร์. การตัดสินใจดังกล่าวเป็นจุดสำคัญที่ทำให้โรคนี้ไม่ระบาด ไปทั่วภูมิภาคโดยพบผู้ป่วยเพียง 2 ประเทศคือ มาเลเซีย 265 ราย (เสียชีวิต 105 ราย) และสิงคโปร์ 11 ราย (เสียชีวิต 1 ราย) นายแพทย์ลาม ไซ กิตจึงได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลสาขาสาธารณสุขประจำปี ค.ศ. 2001.

ด้วยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ข่าวสารต่างๆ จึงกระจายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การควบคุมโรคกระทำได้อย่างพร้อมเพรียงกันและมีประสิทธิภาพ นับเป็นข้อดีสูงสุดอย่างหนึ่งของโลกยุค โลกาภิวัตน์.

ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์ พ.บ.
โรงพยาบาลบ้านแหลม, จังหวัดเพชรบุรี
E-mail : [email protected]<
เล่าสู่กันฟัง (ประวั ติศาสตร์ทางการแพทย์)

 

ป้ายคำ:
  • โรคตามระบบ
  • โรคติดเชื้อ
  • เล่าสู่กันฟัง (ประวัติศาสตร์ทางการแพทย์)
  • Nipah virus
  • ไวรัสนิปาห์
  • นพ.ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์
  • อ่าน 3,890 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

272-002
วารสารคลินิก 272
สิงหาคม 2550
เล่าสู่กันฟัง (ประวัติศาสตร์ทางการแพทย์)
นพ.ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <