Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » แสงหิ่งห้อยในแดนสนธยา
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

แสงหิ่งห้อยในแดนสนธยา

โพสโดย somsak เมื่อ 1 กันยายน 2552 00:00

ในโลกนี้มีแนวคิดสองค่ายเกี่ยวกับชนิดแพทย์ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ค่ายแองโกล-อเมริกัน เชื่อว่า แพทย์เฉพาะทางด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (บ้านเราเรียกว่า แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน) เป็นวิชาชีพที่จำเป็น จึงมีการผลิตต่อยอดจากระดับปริญญาเหมือนแพทย์เฉพาะทางด้านอื่น. ประเทศไทยเพิ่งนำแนวคิดนี้มาใช้และผลิตแพทย์สาขานี้แล้วเกือบ 200 รายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยเนื้อหาหลักสูตรมุ่งผลิตแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินให้สามารถให้บริการรักษาพยาบาลทั้งในและนอกโรงพยาบาล อีกทั้งยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง1 อันเป็นบทบาทที่สอดคล้องอย่างยิ่งกับ  ความต้องการบูรณาการบริการสาขาต่างๆ ของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งที่ผ่านมา ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลตกอยู่ในสภาพที่ไม่ได้รับความสำคัญจากบุคลากรสาขาต่างๆ จนได้ชื่อว่า" no man's land " ยิ่งเมื่อคำนึงถึงบริการกพฉ.ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสาธารณภัยซึ่งต้องอาศัยความ  ร่วมมือหลายสาขา (multisectoral) การประสานงานจึงเป็นหัวใจสำคัญ.


ในความเป็นจริง อย่างน้อยผู้แทนโรงพยาบาล 9 แห่งจากสี่ภาคของประเทศ2  อันประกอบด้วยทั้งแพทย์และพยาบาลล้วนมีเสียงเป็นเอกฉันท์ว่า แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินช่วยให้งานห้องฉุกเฉินได้รับความสนใจและความสำคัญ (ในรูปของการจัดสรรคนและครุภัณฑ์)เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดโดยผ่านบทบาทประสานงานนั่นเอง ในขณะเดียวกันปรากฏการณ์  " ตกเขียว " แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินโดยโรงพยาบาลเอกชนก็สะท้อนความต้องการในสายตาของภาคเอกชนที่ผู้สันทัดกรณีหลายท่าน ให้ข้อสังเกตว่า น่าจะมุ่งหวังเพื่อป้องกันการฟ้องร้อง โดยเชื่อว่าแพทย์พันธุ์ใหม่มีขีดความสามารถมากพอที่จะลดความผิดพลาดในการให้บริการที่ห้องฉุกเฉิน.
 


 

อีกค่ายหนึ่งคือ ฟรังโก-เยอรมัน เชื่อว่า การต่อยอดความรู้แก่แพทย์ทุกสาขาที่มีอยู่โดยเฉพาะด้านศัลยกรรม อายุรกรรม วิสัญญี ซึ่งทำงานด้านนี้มากกว่าใคร ก็เพียงพอที่จะรับมือกับความต้องการบริการ  กพฉ.3 ตามแนวคิดนี้ปฏิบัติการนอกโรงพยาบาลเป็นไปอย่างเข้มข้นโดยแพทย์ที่รับผิดชอบ (มักเป็นวิสัญญีแพทย์) ตรงกันข้ามกับแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินของสหรัฐฯ. ซึ่งเน้นตั้งรับในโรงพยาบาลและคอยกำกับการให้บริการของพนักงานกู้ชีพระหว่างนำส่งและ ณ จุดเกิดเหตุ.4


ในอดีต แม้ไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินในประเทศไทย แพทย์ไทยที่ทำงานด้านกพฉ.ก็เน้นการตั้งรับในโรงพยาบาลเหมือนแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินในสหรัฐฯ แต่ไม่มีการกำกับดูแลการปฏิบัติของบุคลากร ที่ปฏิบัติงานนอกโรงพยาบาลแน่นอนชัดเจนเหมือนของสหรัฐฯ


รายงานผลการประเมิน ณ พ.ศ. 2551 พบว่า หลังจากเริ่มลงทุนพัฒนาศูนย์อุบัติเหตุในปี พ.ศ. 2547 อัตราป่วยตายด้วยการบาดเจ็บจากภัยจราจรคงที่ ในขณะที่อัตราป่วยตายด้วยการบาดเจ็บชนิดอื่นมีแนวโน้มลดลง5  ถ้าปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการบาดเจ็บ ก็อนุมานได้ว่า แนวโน้มที่ลดลงเช่นนี้ไม่น่าจะเกิดจากผลงานของแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินซึ่งยังมีสัดส่วนน้อยมากเนื่องจากเพิ่งเริ่มผลิต อย่างไรก็ตามมีหลักฐานสนับสนุนว่า แพทย์ไทยที่มีผลงานด้านกพฉ.จนเป็นที่ยอมรับขององค์การอนามัยโลกและไจก้า คือ นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัยและคณะ สามารถชี้นำการพัฒนากพฉ.จนเกิดผลงานที่มีมาตรฐานสูงขึ้นเรื่อยๆ ในระดับพนักงานกู้ชีพ และอัตราป่วยตายของ ผู้บาดเจ็บทางสมองก็ลดลง.6


ถ้าเชื่อว่า คน คือทรัพยากรที่ล้ำค่ามากที่สุดใน   ทุกองค์กร การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์ฉุกเฉิน  ที่ผ่านมา ล้วนเป็นผลงานในยุคก่อนมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 มรดกที่สพฉ.รับมาจะถูกสานต่ออย่างไรจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ.


เป็นที่น่ายินดีว่า 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาบริการกพฉ.โดยสพฉ.เตรียมเสนอข้ออนุมัติจาก คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน7 ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีคุณภาพในจำนวนที่เพียงพอ และมีเป้าหมายรองรับแน่ชัด 2 ใน 3 ประการ ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2555 โดยระบุไว้ชัดเจนว่า ก) " มีแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน.อย่างน้อย จังหวัดละ 2 คน " และ ข) "ร้อยละของบุคลากรประเภทต่างๆ ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพและจำนวนเพียงพอตามมาตรฐาน (แพทย์ พยาบาล และนักปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินฯ"

.
ที่น่าเป็นห่วงเห็นจะได้แก่ จำนวนงบประมาณที่ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องนับแต่สพฉ. รับภารกิจนี้มาจากสปสช. และลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณที่มีจำกัดในปีแรกยังคงอยู่ที่การซื้อบริการนำส่งโรงพยาบาลเป็นหลัก จนแทบจะไม่มีเงินจัดสรรให้กับภารกิจด้านการพัฒนาคุณภาพ บริการ ระบบสนับสนุนบริการ และกำลังคน.

 

1หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ปีพ.ศ.2551 http://www.slideshare.net/taem/2551?type=document< accessed June 17, 2009

2การประชุมชี้แจงการวิจัยด้านการบาดเจ็บและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดบริการด้านการบาดเจ็บที่สำนักงานวิจัยหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก.) 12 มิถุนายน 2552

3M Sakr, J Wardrope Casualty, accident and emergency, or emergency medicine, the evolution. J Accid Emerg Med 2000;17:314-319

4Tamara L. Thomas. Developing and Implementing Emergency Medicine Programs Globally  Emerg Med Clin N Am 23 (2005) 177-197

5สัมฤทธิ์ และคณะ รายงานประเมินผลการลงทุนบริการตติยภูมิ โดยสปสช. 2551

6วิทยา ชาติบัญชาชัย Trauma quality improvement program. Khon Kaen Regional Hospital. นำเสนอต่อที่ประชุม สำนักงานวิจัยหลักประกันสุขภาพไทย 16 เมษายน 2552

7นายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล "ร่าง" แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน 4 ปี

 

 

ป้ายคำ:
  • อื่น ๆ
  • ปัจฉิมพากย์
  • ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล
  • อ่าน 2,937 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

297-017
วารสารคลินิก 297
กันยายน 2552
ปัจฉิมพากย์
ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <