Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ยาทา NSAIDs รักษาข้ออักเสบได้ดีหรือไม่
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ยาทา NSAIDs รักษาข้ออักเสบได้ดีหรือไม่

โพสโดย somsak เมื่อ 1 สิงหาคม 2547 00:00

(Lin J, et al. Efficacy of topical non-steroidal anti-inflammatory drugs in the treatment of osteoarthritis : meta-analysis of randomised controlled trials. BMJ Published July 2004.)

ข้ออักเสบ (osteoarthritis) เป็นภาวะที่พบบ่อยในคนสูงอายุ และเป็นความทุกข์ทำให้การเดินเคลื่อนไหวลำบาก. การกินยาแก้ปวดพวก non-steroidal anti- inflammatory drugs (NSAIDs) ได้ผลแต่ก็ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงและพิษของยา ดังนั้นจึงมีการพัฒนาใช้เป็นยาทามานานหลาย 10 ปีแล้ว. การศึกษาที่ผ่านมาพบว่ายาทา NSAIDs ได้ผลในระยะสั้น ( 2 สัปดาห์) แต่ผลระยะยาวกว่านั้นเป็นอย่างไรยังไม่ทราบแน่.


Lin J และคณะ จึงประมวลงานวิจัยผลการรักษาข้อมือ ข้อสะโพก และข้อเข่าอักเสบโดยวิธี randomised trial เปรียบเทียบผลระหว่างยาทา NSAIDs กับยาหลอก หรือกับยากิน NSAIDs จำนวน 13 รายงาน.


ผลการศึกษาพบว่า ยาทา NSAIDs ดีกว่ายาหลอกในการลดอาการปวดในระยะ 2 สัปดาห์แรก แต่หลังจากนั้นในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง NSAIDs และยาหลอก. นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้ผลในการทำให้ข้อทำงานดีขึ้น หรือป้องกันข้อติด (stiffness) แต่อย่างใด. ยา NSAIDs แบบทาเฉพาะที่นั้นสู้แบบกินไม่ได้ และยาทายังมีผลทำให้เกิดอาการแพ้เฉพาะที่ เช่น ผื่น คัน ไหม้  เป็น 5 เท่า (rate ratio 5.29, 95 % CI 1.14-24.51) ของคนไม่ใช้ยาทา.
สรุป ยาทา NSAIDs ได้ผลดีในระยะ  2 สัปดาห์แรกเท่านั้น หลังจากนั้นไม่ได้ผลดีกว่ายาหลอกแต่อย่างใด.


แม้ว่าปัจจุบันมียาแก้ปวดข้อ กล้ามเนื้อใหม่ เช่น COX-2 ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็มีราคาแพง ดังนั้นยากิน NSAIDs จึงยังเป็นที่นิยมอยู่ ดังนั้นการใช้ยาทา NSAIDs ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง.การศึกษาทบทวนนี้มีข้ออ่อนคือ รายงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังมีน้อย งานวิจัยอยู่ในการทบทวนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาระยะสั้น และมีความแตกต่างระหว่างการศึกษาค่อนข้างมาก และชนิดยา NSAIDs ที่ใช้ก็มีความแตกต่างกัน (เช่น salicylic acid, eltenac, diclofenac, piroxicam และ ibuprofen). แม้ว่าการทบทวนนี้จะพบว่ายาทาได้ผลในระยะสั้น แต่การศึกษายืนยันเพิ่มเติมยังมีความจำเป็น นอกจากนี้ประเด็นย่อย เช่น การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างชนิดของยาทาก็ยังมีความน่าสนใจอยู่.
 


วิชัย เอกพลากร พ.บ.,  Ph.D., รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

ป้ายคำ:
  • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ยาและวิธีใช้
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 6,729 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

237-015
วารสารคลินิก 237
สิงหาคม 2547
เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa