Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การฝึกผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ ก่อนดมยา
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การฝึกผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ ก่อนดมยา

โพสโดย somsak เมื่อ 1 ตุลาคม 2547 00:00

เมื่อปี พ.ศ. 2544 ได้มีโอกาสไปเรียนฝังเข็มที่จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงนั้นชีวิตน่าเบื่อมากจะหาเรื่องเรียนค่อนข้างเยอะ ทั้งเรียนทำอาหาร กีฬาว่ายน้ำ วิ่ง เรียนการทำสมาธิ. โชคดีไปเจอเพื่อนเก่าแนะนำว่าควรเรียนโยคะน่าจะดี เพราะหุ่นผอมๆ กล้ามเนื้อไม่เยอะออกกำลังแบบยืดหยุ่นเส้นเอ็นทั้งหลายจะดี แต่ถ้าเป็นพวกธาตุดินหุ่นล่ำ ควรจะออกกำลังแบบวิ่งจึงจะดี. 

เมื่อไปเรียน อาจารย์ที่สอนเป็นชาวเยอรมัน ถามตั้งแต่วันแรกว่า " จิตแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ส่งมาเรียนหรือเปล่า" ก็ตอบไปว่า " เปล่า สนใจที่จะเรียนเอง ".

การเรียนใช้เวลาเรียนทั้งหมด 10 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ วันหลังๆ ชักขี้เกียจเรียน แต่ว่าเสียสตางค์แล้วตั้ง 3,500 บาท รู้สึกเสียดาย และมารู้ตอนหลังว่าครูที่สอนจะดูหมอไพ่ยิปซีและนวดฝ่าเท้าให้เพื่อคลายเครียดในครั้งสุดท้ายจึงเป็นกำลังใจให้ไปเรียนจนจบ. สมัยเมื่อ 3-4 ปีก่อน ทั้งโยคะและนวดฝ่าเท้านี้ยังใหม่มากสำหรับแพทย์ที่จะยอมรับโดยไม่ขัดแย้ง แต่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับในต่างประเทศ.


ครูที่สอนให้กำลังใจดีมากๆ บอกว่าทำเก่งทุกครั้งที่เรียนและแนะให้กลับไปสอนต่อที่โรงพยาบาลนะ. ตอนนั้นยังแย้งในใจว่า ไม่หรอกจะทำเพื่อตัวเองก่อน. พอกลับมาทำได้ระยะหนึ่งก็ชักเบื่อ ก็คิดเองว่า คงต้องหาคนมาร่วมเรียนก็แล้วกัน เผื่อจะได้มีความรู้อยู่กับตัวนานๆ และจะได้หายเบื่อด้วย. แล้วจะหาใครร่วมสนใจดีนะ จะเปิดสอนที่บ้านก็ไม่ได้ เป็นหมอคงต้องสอนที่โรงพยาบาลสอนผู้ป่วยคงจะดี. การสอนโยคะช่วยฝึกเรื่องการสอนหน้าชั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นธรรมชาติไม่เครียด ฝึกด้วยลมหายใจตัวเองอย่างสม่ำเสมอให้ต่อเนื่อง จนตอนหลังวิถีโยคะก็เข้ามาอยู่ในชีวิต เวลาทำงานก็ตามลมหายใจด้วยตัวเองจนคล่อง. 


ต่อมาก็สังเกตว่า เวลาจะวางยาสลบผู้ป่วย ตัวเองนิ่งขึ้น ทำงานสบาย แต่ผู้ป่วยมักจะบ่นว่าเวลาเข้าห้องผ่าตัดตื่นเต้นมาก พยาบาลที่ตึกก็บอกมาแล้วว่าไม่ต้องกลัว แต่ยิ่งบอกก็ยิ่งกลัวใหญ่. ความดันเลือดที่วัดได้ขณะนั้นส่วนมากมักจะสูงกว่าขณะอยู่ที่ตึกไม่มากก็น้อย จึงทดลองให้ผู้ป่วยขี้กังวลทั้งหลายลองหายใจเข้าออกลึกๆ หลายๆ ครั้ง ก่อนจะให้ยาหลับสัก 3-5 นาที แล้วค่อยให้ยาหลับ.


ขณะนั้นวัดความดันเลือดก็พบว่า ผู้ป่วยส่วนหนึ่งความดันเลือดลดลงเอง โดยไม่ต้องให้ยาลดความดันเลือดเลย. แล้วค่อยให้ยาสลบ ผู้ป่วยเข้าสู่การผ่าตัดอย่างปลอดภัย และการทำแบบนี้จะดีในแง่ที่ช่วยให้หมอดมยาไม่เครียดเรื่องความดันเลือดที่สูงไปด้วย แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ยังต้องอาศัยยาลดความดันเลือดช่วยอยู่. 


ถ้าก่อนให้ยาสลบ ผู้ป่วยมีความดันเลือดสูงมากจะทำให้ในขณะผ่าตัดความดันเลือดเพิ่มสูงกว่าเดิมอีก ซึ่งเป็นผลจากความเจ็บปวด อาจทำให้เกิดอันตรายได้. เมื่อตามไปถามความรู้สึกหลังผ่าตัด  ผู้ป่วยบอกว่าหลับสบาย ถึงแม้จะมีปวดแผลหลังผ่าตัดบ้าง ความกังวลลดลง และขอขอบคุณที่บอกวิธีให้ไม่กังวลขณะผ่าตัดด้วยโดยที่ไม่เคยมีใครบอกมาก่อนเลย.


ตอนนี้กำลังคิดอยู่ว่า ถ้าจะทำเป็นงานวิจัยจะทำได้อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้สอนในโรงเรียนแพทย์มาก่อน. เวลาจะวางยาสลบแต่ละครั้ง ถ้าผู้ป่วยกังวล เราก็มักถูกสอนให้สั่งผู้ป่วยว่าอย่ากังวลเป็นแบบอัตโนมัติ ถ้ายังกังวลอยู่อีก ก็มักให้ยาทั้งหลายเพื่อลดความกังวล  ถ้าความดันเลือดสูงขึ้นก็ให้ยาลดความดันเลือดด้วยเลย. ระหว่างนั้นหมอดมยาก็มักจะกังวลตามผู้ป่วยไปด้วยว่าจะใช้ยาอะไรดีถ้าความดันเลือดไม่ลด งดผ่าตัดไปก่อนดีไหม ซึ่งจะมีปัญหาที่ต้องตอบหมอผ่าตัดด้วยว่าจะพูดอย่างไรให้ทั้งผู้ป่วยและญาติเข้าใจ.


ความเครียด ความดันเลือดสูง ความกังวลที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถช่วยหมอจัดการตัวเองให้สงบลง ความดันเลือดลดลงได้ด้วยตัวเองก่อนการให้ยาสลบ ผู้ป่วยจะสามารถทำอะไรเล็กน้อยเพื่อตัวเองบ้างก่อนจะผ่าตัด.


ในหนังสือหัวใจใหม่ ชีวิตใหม่ ที่นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ได้เขียนถึงในบทเรื่องลมหายใจไว้ว่า ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เรื่องลมหายใจแบบโยคะ หรือไทจี้-ชี่กง ที่ใช้หายใจด้วยกะบังลมนั้น ดร.ดีน ออร์นิส (Dean Ornish M.D.) เขียนไว้ว่า มีการทดลองที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นการหายใจที่ช่วยลดความดันในช่องปอดลง ซึ่งช่วยให้ความกดดันต่อหัวใจและหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจลดลง.อีกทั้งการทำงานของกะบังลมที่ขึ้นๆ ลงๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ยังทำให้เกิดความต่างของความกดดันในช่องท้องเป็นช่วงๆ ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวปั๊มอีกตัวหนึ่งที่ช่วยหัวใจปั๊มเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่าง. กะบังลมทำหน้าที่นี้เหมือนเป็นหัวใจอีกดวง จึงเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่ต้องทำงานหนักเกินกว่าที่ควร เป็นการถนอมหัวใจซึ่งทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น.


นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอีกหลายเรื่องที่สนับสนุนการหายใจด้วยท้องว่ามีผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้น และในบทเดียวกันยังอ้างถึงงานของ MuKunda เขียนในหนังสือ Structural Yoga Therapy ของเขาว่า การหายใจแบบโยคะ ทำให้ฮอร์โมนประเภท endorphins ที่ถือว่าเป็นฮอร์โมนด้านบวกที่จะส่งผลดีต่อร่างกายหลั่งออกมาได้.


โดยสรุปก็คือว่า ความสำคัญของการหายใจเพื่อลดความตื่นเต้นในระหว่างผ่าตัดมีความสำคัญ ผู้ป่วยสามารถควบคุมความสงบ และลดโอกาสที่ความดันเลือดจะสูงขึ้นได้ด้วยตัวเองอีกด้วย.

 

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ พ.บ., น.บ., สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี,
กรมการแพทย์ (บรรณาธิการ)

สิรีธร โชลิตกุล พ.บ., วิสัญญีแพทย์, โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์, จังหวัดเชียงราย

 

 

ป้ายคำ:
  • อื่น ๆ
  • อื่น ๆ
  • นพ.สิรีธร โชลิตกุล
  • นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
  • อ่าน 3,255 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

238-010
วารสารคลินิก 238
ตุลาคม 2547
อื่น ๆ
นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
นพ.สิรีธร โชลิตกุล
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa