" A physician is obligated to consider more than a diseased organ, more even the whole man-he must view the man in his world."
" A physician is obligated to consider more than a diseased organ, more even the whole man-he must view the man in his world."
Harvey Cushing (1869-1939)
Cushing เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ท่านได้กล่าวเตือนแพทย์รุ่นใหม่ๆว่า " อย่าสนใจเฉพาะอวัยวะที่เป็นโรค แต่ให้ดูผู้ป่วยทั้งคนรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเขาด้วย".
ปัจจุบันความรู้ทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมากทำให้เกิดแพทย์เฉพาะทางขึ้นมา เมื่อแพทย์เรียนจบ 6 ปีจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต เรียกว่าแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปทำหน้าที่รักษาโรคทั่วไป หากจะเป็นแพทย์เฉพาะทางก็ต้องศึกษาต่ออีก 3-5 ปีแล้วแต่สาขาวิชา. นับวันความรู้ยิ่งลงลึกเข้าไปเรื่อยๆ จนอาจารย์อาวุโสบางท่านถึงกับพูดเสียดสีว่า อนาคตอาจจะมีแพทย์เฉพาะทางด้านนิ้วหัวแม่มือขวาก็เป็นได้. จากการแยกส่วนนี้เองทำให้เกิดความกังวลว่า แพทย์อาจจะไปเพ่งเล็งเฉพาะอวัยวะที่เป็นโรคโดยลืมที่จะดูแลผู้ป่วยทั้งคน.
อันที่จริงผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นโรคทั่วๆ ไป ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชน ที่ผมประจำอยู่ 100 คนจะต้องส่งต่อไปพบแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลจังหวัดไม่ถึง 10 คน ดังนั้นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปจึงมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย แต่คงเพราะแพทย์เป็นผู้ที่มีความเป็นนักศึกษาสูงจึงมักจะไปเรียนต่อเฉพาะทางกัน แพทย์เฉพาะทางจึงต้องมาช่วยตรวจผู้ป่วยทั่วไปเพราะแพทย์เวชปฏิบัติมีไม่เพียงพอ.
สุดท้ายนี้ผมจึงอยากฝากถึงนักเรียนแพทย์ที่กำลังจะจบการศึกษาว่า การเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด บางคนอาจจะมองว่าเป็นแพทย์ชั้นสองตามความเห็นของผมผมว่าไม่ใช่ทั้งแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางต่างก็เป็นแพทย์เช่นกัน เพียงแต่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกันเท่านั้นเอง.
ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์ พ.บ.,โรงพยาบาลท่าแซะ, จังหวัดชุมพร
E-mail : [email protected]<
- อ่าน 1 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้