" When a disease is named after some author, it is likely that we do not know much about it."
" When a disease is named after some author, it is likely that we do not know much about it."
August Bier (1861-1949)
โรคพาร์กินสัน (Parkinson' s disease), โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer' s disease), กลุ่มอาการดาวน์ (Down' s syndrome) โรคเหล่านี้มีลักษณะอย่างหนึ่งร่วมกัน ทราบไหมครับว่าคืออะไร? คำตอบคือการตั้งชื่อโรคครับ. ในอดีตมีการตั้งชื่อโรคตามชื่อของผู้คนหรือสถานที่ต่างๆ อยู่ไม่น้อย ทั้งที่ตั้งเองหรือบุคคลอื่นตั้งให้เพื่อเป็นเกียรติ รู้สึกไหมครับว่ามันไม่สื่อถึงลักษณะของโรคเอาเสียเลย. ตัวอย่างเช่นถ้าเอ่ยชื่อ Tietze
' s syndrome แพทย์บางคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า costochondritis แพทย์ทุกคนจะเข้าใจทันทีว่าเป็นโรคอะไร เพราะชื่อโรคก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ.
โชคดีที่ระยะหลังๆ การตั้งชื่อโรคมีแนวโน้มเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบที่สื่อถึงลักษณะของโรคมากขึ้น อาทิโรคไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue Hemorrhagic Fever : DHF) ฟังแล้วก็พอเห็นภาพว่าเกิดจากการติดเชื้อ
เดงกี่ ทำให้เป็นไข้และมีเลือดออก ส่วนโรคใหม่ๆ เช่น เอดส์(Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS), ซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS) ก็เป็นการตั้งชื่อในลักษณะเดียวกันนี้.
ผู้เขียนขอเล่าประสบการณ์ในเรื่องนี้ให้ฟังนะครับ วันหนึ่งมีคุณตามาตรวจที่โรงพยาบาลด้วยอาการสั่นและตัวแข็งเดินลำบากพอผมตรวจร่างกายเสร็จก็บอกคุณตาว่า "จากที่หมอตรวจ คุณตาเป็นโรคพาร์กินสันนะครับ" คุณตาซึ่งหูไม่ค่อยดีนักก็ตอบว่า" อ๋อ ตาเป็นโรคสั่น เหรอ มิน่าล่ะถึงได้สั่นทั้งวันเลย" ผมพยายามบอกว่าชื่อโรคไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่คุยไปคุยมาสุดท้ายก็กลายเป็นโรคสั่นไปจริงๆ เพราะคุณตาบอกว่าจำง่ายกว่ากันเยอะ.
ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์ พ.บ.,โรงพยาบาลท่าแซะ, จังหวัดชุมพร
E-mail : [email protected]<
- อ่าน 2,216 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้