ปัจฉิมพากย์ (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)
-
วารสารคลินิก
297
กันยายน 2552
ในโลกนี้มีแนวคิดสองค่ายเกี่ยวกับชนิดแพทย์ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ค่ายแองโกล-อเมริกัน เชื่อว่า แพทย์เฉพาะทางด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (บ้านเราเรียกว่า แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน) เป็นวิชาชีพที่จำเป็น จึงมีการผลิตต่อยอดจากระดับปริญญาเหมือนแพทย์เฉพาะทางด้านอื่น. ประเทศไทยเพิ่งนำแนวคิดนี้มาใช้และผลิตแพทย์สาขานี้แล้วเกือบ 200 รายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ...
-
วารสารคลินิก
294
มิถุนายน 2552
24 เมษายน 2552 นับเป็นวันดีเดย์ของข่าว "หวัดหมู" ด้วยเวลาเพียงไม่ถึงสองสัปดาห์ ข่าวนี้ไม่เพียงเรียกความสนใจ หากยังสร้างความปั่นป่วนต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของสังคมทั่วโลก. แรงกระเพื่อมของคลื่นข่าวดังกล่าว แสดงให้เห็นศักดิ์ศรี และความน่าเชื่อถือขององค์การอนามัยโลก ต่อรัฐบาลและสื่อมวลชนทั่วโลก ในด้านหนึ่ง นี่คือ เรื่องดีที่ประชาคมโลก มีที่พึ่งทางความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอย่างหายห่วง ...
-
วารสารคลินิก
293
พฤษภาคม 2552
ภาวะสมองไหลอาจเป็นที่มาของการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งชัดเจนว่า ช่วยคลี่คลายปัญหานี้และมีผลสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน.วันนี้จำนวนแพทย์เฉพาะทางมากกว่าแพทย์ทั่วไปเกือบ 4 เท่า แนวโน้มนี้อาจเปลี่ยนแปลง เมื่อเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ว่า แพทย์ใช้ทุนสละที่นั่งในการเข้าฝึกอบรมอายุรศาสตร์ หันไปทำงานต่อในโรงพยาบาลชุมชน เมื่อค่าตอบแทนแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้นทันตาเห็นและก้าวกระโดด ...
-
วารสารคลินิก
292
เมษายน 2552
ยกเว้นโรงพยาบาลและคลินิกเอกชน โรงพยาบาลของรัฐและสถานีอนามัยทั้งหลายที่ประชาชนได้อาศัยพึ่งพาในวันนี้ ล้วนเป็นผลงานการพัฒนาจากบนลงล่างนั่นคือ กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นในส่วนกลางคิดกำหนดและลงมือให้เกิดทั้งสิ้น.เช่นเดียวกัน การจัดสรรเงิน จัดสรรเครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนบริการ และการจัดสรรคน ได้แก่ แพทย์ พยาบาลและสายงานอื่นๆ ตลอดจนถึงผสส./อสม. ...
-
วารสารคลินิก
290
กุมภาพันธ์ 2552
ยากับการแพทย์เป็นของคู่กันมานาน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เคยมีรายงานใน JAMA ว่าผู้ป่วยเสียชีวิตในปีหนึ่ง 106,000 ราย เพราะการจ่ายยาผิดประเภทหรือเกิดพิษจากยา ความผิดพลาดที่รุนแรงนี้ แท้จริงเป็นเรื่องป้องกันได้.ความแออัดของโรงพยาบาลโดยเฉพาะผู้ป่วยนอก เป็นภาพที่เห็นได้ในโรงพยาบาลทั่วไปทุกภาคของประเทศ สร้างความลำบากทั้งกับผู้ป่วย ญาติและบุคลากร เป็นเงื่อนไขบั่นทอนคุณภาพบริการอย่าง น่าเสียดาย ...
-
วารสารคลินิก
286
ตุลาคม 2551
พิการ คือ ความอัปยศ ความพ่ายแพ้ ความอ่อนแอ ความสิ้นหวัง ฯลฯ.....นั่นคือ เจตคติที่สังคมส่วนใหญ่ในโลกอาจมองผู้พิการ ผลที่ตามมาคือ ในสังคมเช่นนั้น ผู้พิการจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดยลำพัง อยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี และจมปลักอยู่กับความทุกข์กายใจจนลมหายใจสุดท้าย.ในทางตรงกันข้าม ยังมีคนอีกมากมายในโลกที่ปฏิเสธทัศนะเช่นนั้น ...
-
วารสารคลินิก
285
กันยายน 2551
รายงาน 2008 State of the Future ฉายภาพพลเมืองของโลก 6.677 พันล้านคนมีชะตากรรมแตกต่างกันดังนี้ในด้านลบ....-2.7 พันล้าน เสี่ยงต่อภัยปากกระบอกปืนและอาวุธต่างๆ.-1.2 พันล้าน อาศัยในดินแดนที่การเมืองไร้เสถียรภาพ.-37 ประเทศ กำลังถูกคุกคามด้วยวิกฤตอาหาร เนื่องจากน้ำมันแพง ปุ๋ยแพง การเก็งกำไร การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ผลผลิตการเกษตรตกต่ำในรอบ 25 ปี.-3 พันล้าน ...
-
วารสารคลินิก
283
กรกฎาคม 2551
10 ปีก่อน การทดลองควบคุมเบาหวานอย่างเข้มงวดตามรายงานของ UKPDS (1998)1 บอกว่า เป็นประโยชน์แน่ชัดในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือด ขนาดจิ๋วอันทำให้ตาบอดและไตวาย (microvascular complications : nephropathy, retinopathy) แต่ไม่แน่ชัดว่าช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดขนาดใหญ่อันทำให้หัวใจ/สมองขาดเลือด (macrovascular complications : cardiovascular events).มาวันนี้ ...
-
วารสารคลินิก
282
มิถุนายน 2551
เมษายน-พฤษภาคมของทุกปี ผลไม้นานาชนิดจะดารดาษให้คนไทยได้เลือกกินสนุกสนาน อิ่มหนำสำราญ ชาวสวนก็กำลังกระวีกระวาดเก็บผลไม้ที่รอคอยมาทั้งปีเพื่อขายสร้างรายได้ สะสางหนี้สิน และ จับจ่ายใช้สอย.นี่คือวงจรชีวิตอย่างหนึ่งของสังคมไทยที่คนทั่วไปสัมผัสได้.คู่ขนานกับวงจรชีวิตนี้ คือวงจรชีวิตของคน 2 ประเภทที่โคจรมาพบกันในฤดูผลไม้ คน 2 ประเภทนี้ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ (เช่นแพทย์ พยาบาล) ...
-
วารสารคลินิก
281
พฤษภาคม 2551
ความผันผวนของธาตุทั้งสี่... ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ กระทบต่อสิ่งมีชีวิตมาช้านาน และเราเรียกว่า ภัยธรรมชาติ.มาวันนี้ เราเริ่มยอมรับและตระหนักว่า ยุคแห่งความผันผวนของธาตุทั้งสี่โดยน้ำมือมนุษย์ได้เปิดฉากขึ้นแล้ว.มีการคาดประมาณว่า ในทศวรรษ1990 ภัยธรรมชาติอันเกี่ยวโยงกับภูมิอากาศได้คร่าชีวิตคนไป 600,000 ราย โดยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 95) เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา.คลื่นความร้อนเมื่อฤดูร้อนปี พ.ศ. 2546 ...